พระบัวเข็มปรกมังกร
พระบัวเข็มปรกมังกร
วัสดุ : รักสมุก ปิดทอง
แบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะพม่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ประวัติ : ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
รูปลักษณะแบบเดียวกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบบนขนดนาค พระพักตร์ใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเล็ก พระโอษฐ์แย้ม พระกรรณยาวจรดพระอังสา ครองจีวรห่มเฉียงจีบเป็นริ้ว เหนือศีรษะทำเป็นมังกรหรือนาคโผล่หัวง้ำหน้าออกมา หางนาคยาวอ้อมด้านหลังพันรอบฐาน ฝังตะกรุดหรือเข็มมนตร์ ๔ จุด หัวไหล่ ๒ และหัวเข่า ๒ ใต้ฐานมีรูปกอบัว หอย และรูปปลา เพราะเชื่อว่าท่านมาจากกลางมหาสมุทร หรือทะเลสาป
พระบัวเข็มในตำนานเรียกว่า “พระทักษิณสาขา” (พระที่ทำจากกิ่งไม้โพธิ์แห้งร่วงจากทิศใต้) บางคนมักสับสนกับพระอุปคุต ถูกเคารพบูชาในฐานะ “พระโพธิสัตว์” หรือพระพุทธรูปรูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากเทพพื้นเมืองในฝ่ายอินเดียและลังกา คือ แปลงจากท้าวกุเวรและคณะ ชาวมอญได้นำมาผสมกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุปคุตและพระบัวเข็ม มีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมมอญ (สะเทิม) และปยู่ (ศรีเกษตร) พม่า มีรากฐานจากคติพุทธเถรวาท นิกายสรวาสติวาทิน ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีใบบัวปรกผม ฝังตะกรุด เข็มมนตร์ หรือพระธาตุ ๕ - ๙ จุด ดังนี้ หน้าผาก ๑, หัวไหล่ ๒, ข้อศอก ๒, หัวเข่า ๒ และหลังมือ ๒ (ฝ่าเท้า,ด้านหลัง) บริเวณใต้ฐานประดับต้นดอกบัว กุ้งหอยปูปลา
คนล้านนานิยมบูชาพระบัวเข็ม จากความเชื่อจะให้คุณในด้านปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุขด้วยปัญญาบารมี อภินิหารในทางชนะหมู่มาร ลาภสักการะ ความร่ำรวย นอกจากนี้พระบัวเข็มยังเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ การบูชาจะตั้งองค์พระบนแท่นที่หล่อน้ำในพานหรือขันล้อมองค์พระไว้เสมอ เป็นสัญลักษณ์ของความชุ่มฉ่ำเย็น เพราะเชื่อว่าท่านมาจากกลางมหาสมุทร หรือทะเลสาป
เอกสารอ้างอิง
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา ที่มา ความหมาย ๑๔ ทิพยเทพแห่งโชคลาภ-อุดมสมบูรณ์ของไทยและเอเชีย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส. ๒๕๖๐.
วัสดุ : รักสมุก ปิดทอง
แบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะพม่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)
ประวัติ : ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
รูปลักษณะแบบเดียวกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบบนขนดนาค พระพักตร์ใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเล็ก พระโอษฐ์แย้ม พระกรรณยาวจรดพระอังสา ครองจีวรห่มเฉียงจีบเป็นริ้ว เหนือศีรษะทำเป็นมังกรหรือนาคโผล่หัวง้ำหน้าออกมา หางนาคยาวอ้อมด้านหลังพันรอบฐาน ฝังตะกรุดหรือเข็มมนตร์ ๔ จุด หัวไหล่ ๒ และหัวเข่า ๒ ใต้ฐานมีรูปกอบัว หอย และรูปปลา เพราะเชื่อว่าท่านมาจากกลางมหาสมุทร หรือทะเลสาป
พระบัวเข็มในตำนานเรียกว่า “พระทักษิณสาขา” (พระที่ทำจากกิ่งไม้โพธิ์แห้งร่วงจากทิศใต้) บางคนมักสับสนกับพระอุปคุต ถูกเคารพบูชาในฐานะ “พระโพธิสัตว์” หรือพระพุทธรูปรูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากเทพพื้นเมืองในฝ่ายอินเดียและลังกา คือ แปลงจากท้าวกุเวรและคณะ ชาวมอญได้นำมาผสมกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุปคุตและพระบัวเข็ม มีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมมอญ (สะเทิม) และปยู่ (ศรีเกษตร) พม่า มีรากฐานจากคติพุทธเถรวาท นิกายสรวาสติวาทิน ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีใบบัวปรกผม ฝังตะกรุด เข็มมนตร์ หรือพระธาตุ ๕ - ๙ จุด ดังนี้ หน้าผาก ๑, หัวไหล่ ๒, ข้อศอก ๒, หัวเข่า ๒ และหลังมือ ๒ (ฝ่าเท้า,ด้านหลัง) บริเวณใต้ฐานประดับต้นดอกบัว กุ้งหอยปูปลา
คนล้านนานิยมบูชาพระบัวเข็ม จากความเชื่อจะให้คุณในด้านปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุขด้วยปัญญาบารมี อภินิหารในทางชนะหมู่มาร ลาภสักการะ ความร่ำรวย นอกจากนี้พระบัวเข็มยังเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ การบูชาจะตั้งองค์พระบนแท่นที่หล่อน้ำในพานหรือขันล้อมองค์พระไว้เสมอ เป็นสัญลักษณ์ของความชุ่มฉ่ำเย็น เพราะเชื่อว่าท่านมาจากกลางมหาสมุทร หรือทะเลสาป
เอกสารอ้างอิง
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา ที่มา ความหมาย ๑๔ ทิพยเทพแห่งโชคลาภ-อุดมสมบูรณ์ของไทยและเอเชีย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส. ๒๕๖๐.
(จำนวนผู้เข้าชม 2063 ครั้ง)