ผ้าตุ้ม / ผ้าทุ้ม / ผ้าห่ม / ผ้าห่มตาโก้ง / ผ้าห่มตาแสง / ผ้าห่มลายดี
ผ้าตุ้ม / ผ้าทุ้ม / ผ้าห่ม / ผ้าห่มตาโก้ง / ผ้าห่มตาแสง / ผ้าห่มลายดี
ความหนาวมาเยือนอีกครั้งส่งท้ายปี ได้เวลาหยิบผ้าตุ้ม หรือผ้าตาโก้ง มาคลุมคลายความหนาว
.
ผ้าทุ้ม หมายถึงผ้าที่ใช้คลุมไหล่ของชาวบ้าน ทำด้วยผ้าหน้ากว้างประมาณ ๑๕-๒๕ นิ้ว ยาวประมาณ ๒ เมตรอย่างเดียวกับผ้าทวบ เพียงแต่เป็นผ้าชั้นเดียว ตรงส่วนชายอาจมีการทอหรือตกแต่งลวดลายประดับ ชาวบ้านจะใช้ผ้าทุ้มนี้ ห่มคลุมไหล่ในหน้าหนาว ในระยะหลังชาวบ้านนิยมใช้ผ้าขนหนูแบบผ้าเช็ดตัวแทนผ้าทุ้มแบบโบราณ โดยกล่าวว่าผ้าทุ้มแบบใหม่นี้ให้ความอบอุ่นได้มากกว่า
.
“ผ้าห่มตาแสง” หรือ “ผ้าห่มตาโก้ง” เป็นผ้าฝ้าย ทอเทคนิคยกดอกเป็นตาเล็กๆ ในเนื้อผ้า ๓-๔ เขา (ตะกอ) ทอให้เป็นลายตาราง หรือขัดสาน มีลักษณะเป็นลาย “ต๋า” หรือลายทอขวางขัดกัน (ตาราง) ส่วนคำว่า “โก้ง” คือ ลายสลับขาวดำ มีลักษณะคล้ายกับผ้าขาวม้า เย็บเพลาะกันตรงกลางเพื่อเพิ่มความกว้างของหน้าผ้า นิยมใช้เป็นผ้าห่มหรือผ้าคลุมไหล่ ซึ่งเรียกว่า “ผ้าตุ้ม” แปลว่า “ผ้าห่ม” ซึ่งนิยมใช้แพร่หลายทั่วไปในล้านนา
.
สีที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่อดีต คือ สีขาว สีแดง และสีดำ โดยสีขาว หรือน้ำตาล ซึ่งเป็นสีธรรมชาติของฝ้าย สีแดง ซึ่งได้จากการนำฝ้ายไปย้อมกับรากยอป่า หรือ ครั่งตัดกับแก่นฝาง สีดำ ได้จากการนำฝ้ายไปย้อมกับมะเกลือ
.
มีคำพูดของหนุ่มที่ไปเยือนสาวคนรักว่า
"พี่เมารักน้องผ้าต่องพอหาย เปนดีเสียดาย ผ้าลายตาโก้ง" คือบอกว่าเขาหลงรักหญิงคนนั้นจนลืมไปว่าทิ้งผ้าขาวม้าไว้ที่ไหน ผ้าขาวม้านั้นเป็นผ้าลายตาโถงเสียด้วย
.
ภาพ “กาดเช้า” หรือตลาดเช้า หน้าวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน แสดงถึงฤดูหนาว สังเกตได้จากผ้าคลุมไหล่ ลักษณะตลาดค้าขายตอนเช้า แม่ค้าและผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีหาบข้าวของวางขายตั้งเรียงรายกันไป
ใน “นิราศเมืองหลวงพระบาง” ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการเดินทัพจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองหลวงพระบาง และพรรณนาเหตุการณ์ปราบฮ่อ ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เดินทางผ่านเมืองน่าน โดยได้กล่าวถึงตลาดกลางเมืองน่าน ว่า
ครั้นรุ่งเช้าเข้าในเวียงเสียงออกแซ่
เที่ยวดูแม่ค้าลาวนางสาวศรี
เรียกว่ากาดตลาดใหญ่ในบุรี
เสียงอึงมี่หมู่ลาวชาวพารา
พวกเจ้าชู้ดูเชิงเที่ยวเบิ่งสาว
เห็นขําขาวเคียงคลอเข้ารอหน้า
เดินแทรกแซงแสร้งเสพูดเฮฮา
เว้าภาษาลาวล้อในข้อคํา
ทั้งหญิงชายซื้อขายกันอนันต์เนก
ไม่แกล้งเสกสรรใส่พิไรร้า
ลาวผู้ชายรายราสักขาดํา
ล้วนแต่น้ำหมึกมัวจนทั่วพุง
ช่างเจาะหูรูโตดูโร่ร่า
เอามวนยายัดใส่เหมือนได้ถุง
นุ่งตาโถงโจงกระสันพันออกนั่ง
ห่มเพลาะกรุ้งกริ่งกรอเดินรอรี
หญิงผมยาวเกล้ามวยสวยสะอาด
ลักษณ์วิลาสแลประไพวิไลศรี
ลานทองคําทำตุ้มหูดูก็ดี
นุ่งซิ่นสีแดงประดับสลับแล
เป็นริ้วรายลายขวางที่นางนุ่ง
เฝ้ามองมุ่งพินิจนางไม่ห่างแห
ห่มผ้าจ้องคล้องคอเดินคลอแคล
เว้นเสียแต่เค้าไม่ปิดให้มิดเลย
.
จากรายงานการเดินทางจากสยามไปเมืองน่าน หัวเมืองลาว ประเทศราชของสยาม (Report by Mr. C.E.W. Stringer of a journey to the Laos state of Nān, Siam Published 1888 by Printed for H.M.S.O. by Harrison and Sons in London) กล่าวว่า “ตลาดเปิดทุกเช้าใกล้กับหอคำ ส่วนใหญ่ขายสินค้าพื้นเมือง แม่ค้าปูใบตองวางสินค้าริมถนนเป็นแถวยาว ส่วนในเมืองเก่าก็มีตลาดเช่นเดียวกัน แต่เล็กกว่า”
เอกสารอ้างอิง
"ผ้าทุ้ม (ผ้าคลุมไหล่)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4039-4040.
นิราศเมืองหลวงพระบาง และ รายงานปราบเงี้ยว เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/ /นิราศเมืองหลวงพระบาง-และ-รายงานปราบเงี้ยว
ความหนาวมาเยือนอีกครั้งส่งท้ายปี ได้เวลาหยิบผ้าตุ้ม หรือผ้าตาโก้ง มาคลุมคลายความหนาว
.
ผ้าทุ้ม หมายถึงผ้าที่ใช้คลุมไหล่ของชาวบ้าน ทำด้วยผ้าหน้ากว้างประมาณ ๑๕-๒๕ นิ้ว ยาวประมาณ ๒ เมตรอย่างเดียวกับผ้าทวบ เพียงแต่เป็นผ้าชั้นเดียว ตรงส่วนชายอาจมีการทอหรือตกแต่งลวดลายประดับ ชาวบ้านจะใช้ผ้าทุ้มนี้ ห่มคลุมไหล่ในหน้าหนาว ในระยะหลังชาวบ้านนิยมใช้ผ้าขนหนูแบบผ้าเช็ดตัวแทนผ้าทุ้มแบบโบราณ โดยกล่าวว่าผ้าทุ้มแบบใหม่นี้ให้ความอบอุ่นได้มากกว่า
.
“ผ้าห่มตาแสง” หรือ “ผ้าห่มตาโก้ง” เป็นผ้าฝ้าย ทอเทคนิคยกดอกเป็นตาเล็กๆ ในเนื้อผ้า ๓-๔ เขา (ตะกอ) ทอให้เป็นลายตาราง หรือขัดสาน มีลักษณะเป็นลาย “ต๋า” หรือลายทอขวางขัดกัน (ตาราง) ส่วนคำว่า “โก้ง” คือ ลายสลับขาวดำ มีลักษณะคล้ายกับผ้าขาวม้า เย็บเพลาะกันตรงกลางเพื่อเพิ่มความกว้างของหน้าผ้า นิยมใช้เป็นผ้าห่มหรือผ้าคลุมไหล่ ซึ่งเรียกว่า “ผ้าตุ้ม” แปลว่า “ผ้าห่ม” ซึ่งนิยมใช้แพร่หลายทั่วไปในล้านนา
.
สีที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่อดีต คือ สีขาว สีแดง และสีดำ โดยสีขาว หรือน้ำตาล ซึ่งเป็นสีธรรมชาติของฝ้าย สีแดง ซึ่งได้จากการนำฝ้ายไปย้อมกับรากยอป่า หรือ ครั่งตัดกับแก่นฝาง สีดำ ได้จากการนำฝ้ายไปย้อมกับมะเกลือ
.
มีคำพูดของหนุ่มที่ไปเยือนสาวคนรักว่า
"พี่เมารักน้องผ้าต่องพอหาย เปนดีเสียดาย ผ้าลายตาโก้ง" คือบอกว่าเขาหลงรักหญิงคนนั้นจนลืมไปว่าทิ้งผ้าขาวม้าไว้ที่ไหน ผ้าขาวม้านั้นเป็นผ้าลายตาโถงเสียด้วย
.
ภาพ “กาดเช้า” หรือตลาดเช้า หน้าวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน แสดงถึงฤดูหนาว สังเกตได้จากผ้าคลุมไหล่ ลักษณะตลาดค้าขายตอนเช้า แม่ค้าและผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีหาบข้าวของวางขายตั้งเรียงรายกันไป
ใน “นิราศเมืองหลวงพระบาง” ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการเดินทัพจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองหลวงพระบาง และพรรณนาเหตุการณ์ปราบฮ่อ ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เดินทางผ่านเมืองน่าน โดยได้กล่าวถึงตลาดกลางเมืองน่าน ว่า
ครั้นรุ่งเช้าเข้าในเวียงเสียงออกแซ่
เที่ยวดูแม่ค้าลาวนางสาวศรี
เรียกว่ากาดตลาดใหญ่ในบุรี
เสียงอึงมี่หมู่ลาวชาวพารา
พวกเจ้าชู้ดูเชิงเที่ยวเบิ่งสาว
เห็นขําขาวเคียงคลอเข้ารอหน้า
เดินแทรกแซงแสร้งเสพูดเฮฮา
เว้าภาษาลาวล้อในข้อคํา
ทั้งหญิงชายซื้อขายกันอนันต์เนก
ไม่แกล้งเสกสรรใส่พิไรร้า
ลาวผู้ชายรายราสักขาดํา
ล้วนแต่น้ำหมึกมัวจนทั่วพุง
ช่างเจาะหูรูโตดูโร่ร่า
เอามวนยายัดใส่เหมือนได้ถุง
นุ่งตาโถงโจงกระสันพันออกนั่ง
ห่มเพลาะกรุ้งกริ่งกรอเดินรอรี
หญิงผมยาวเกล้ามวยสวยสะอาด
ลักษณ์วิลาสแลประไพวิไลศรี
ลานทองคําทำตุ้มหูดูก็ดี
นุ่งซิ่นสีแดงประดับสลับแล
เป็นริ้วรายลายขวางที่นางนุ่ง
เฝ้ามองมุ่งพินิจนางไม่ห่างแห
ห่มผ้าจ้องคล้องคอเดินคลอแคล
เว้นเสียแต่เค้าไม่ปิดให้มิดเลย
.
จากรายงานการเดินทางจากสยามไปเมืองน่าน หัวเมืองลาว ประเทศราชของสยาม (Report by Mr. C.E.W. Stringer of a journey to the Laos state of Nān, Siam Published 1888 by Printed for H.M.S.O. by Harrison and Sons in London) กล่าวว่า “ตลาดเปิดทุกเช้าใกล้กับหอคำ ส่วนใหญ่ขายสินค้าพื้นเมือง แม่ค้าปูใบตองวางสินค้าริมถนนเป็นแถวยาว ส่วนในเมืองเก่าก็มีตลาดเช่นเดียวกัน แต่เล็กกว่า”
เอกสารอ้างอิง
"ผ้าทุ้ม (ผ้าคลุมไหล่)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 4039-4040.
นิราศเมืองหลวงพระบาง และ รายงานปราบเงี้ยว เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/ /นิราศเมืองหลวงพระบาง-และ-รายงานปราบเงี้ยว
(จำนวนผู้เข้าชม 523 ครั้ง)