ข่วงหลวง
องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา
ตอน "ข่วงหลวง"
--- คำว่า "ข่วง" หมายถึง บริเวณลานหรือที่โล่ง และคำว่า "ข่วงหลวง" หมายถึง สนามหลวง หรือที่โล่งเมืองต่างๆในดินแดนล้านนา ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมหรือกิจกรรมประจำเมือง บางแห่งเรียก "ข่วงเมือง"
ข่วงเมืองที่มีหลักฐานปรากฎเป็นแบบแผนชัดเจนในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองเชียงใหม่และเมืองน่าน ส่วนเมืองอื่นๆในดินแดนล้านนา เช่น เมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) เมืองแพร่ เมืองพะเยา มีร่องรอยที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นข่วงเมืองปรากฎอยู่เช่นกัน
--- ข่วงเมืองของเมืองน่านตั้งอยู่บริเวณกลางเวียง หรือพื้นที่ใจกลางเมืองน่าน ซึ่งในอดีตเป็นสนามโล่งกว้างที่มีพื้นที่อยู่ระหว่างด้านหน้าหอคำกับวัดหลวงกลางเวียงหรือวัดพระธาตุช้างค้ำฯ ทางด้านทิศเหนือมีวัดหัวข่วงตั้งอยู่ ส่วนทางด้านทิศใต้จรดกับวัดภูมินทร์ ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ยังคงเป็นพื้นที่โล่งกว้างอยู่ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน รวมทั้งพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณวัดภูมินทร์ ที่ปัจจุบันมีการจัดถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ อีกด้วย
--- ข่วงเมืองหรือข่วงหลวงกลางเวียงน่าน สันนิษฐานว่าคงมีมาตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองน่านในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยปรากฎคำว่า "ข่วงหลวง" อยู่ในเอกสารราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๓๕๑ สมัยเจ้าอัตถวรปัญโญเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๒๙ - ๒๓๕๓) ได้ปรากฎชื่อในเอกสารอีกครั้ง เรียกว่า "ท้องข่วงสนาม" โดยใช้เป็นสถานที่จัดงานมหรสพ และในพุทธศักราช ๒๓๕๙ สมัยเจ้าสุมนเทวราช (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๕๓ - ๒๓๖๘) เรียกว่า "ข่วงสนามหลวง" และนับตั้งแต่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) เป็นต้นมา จนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) ปรากฎชื่อเรียกในพงศาวดารเมืองน่าน ต่างๆกันว่า "ท้องข่วงสนาม" "ท้องข่วงสนามหลวง" และ "ข่วงสนามหลวง" เป็นต้น บริเวณข่วงเมืองหรือข่วงสนามหลวงนี้ ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี และงานประเพณีต่างๆของเมือง การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง การจัดขบวนเสด็จออกนอกเมือง การตั้งศพเจ้านายก่อนนำไปปลงหรือไปเผานอกเมือง การทำพิธีพุทธาภิเษก ธรรมทาน และฟังเทศน์ การแห่ครัวทาน และจัดแสดงมหรสพ พิธีสมโภชช้างเผือก พิธีสวนสนาม ฝึกซ้อมทหาร และจัดกระบวนทัพ ตลอดจนเป็นตลาดนัดและที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง โดยมีตัวอย่างปรากฎข้อความในพงศาวดารเมืองน่านที่กล่าวถึงท้องข่วงสนามหลวง ความว่า "เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๒๒ ตัว (พุทธศักราช ๒๔๐๓) ปีกดสัน เดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ ท่านก็ได้ปกเตินแก่มหาขัติยวงษาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย สร้างแปงยังมหามณฑปหลวงที่ข่วงสนามหลวง แปงเป็นจตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตฉัตรวัตถาผ้าขาว และห้างสรรพเยื่่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมแล้ว ท่านก็ได้กระทำเบิกบายฉลองทาน ทำตั้งแต่เดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ไปจนเถิงเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จึงเป็นที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้นแล รวมทั้งท่านได้ตั้งขันบูชาธรรมแลหื้อทาน มี ๔๒๓ กันแล"
-- ปัจจุบัน ข่วงหลวงด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และข่วงเมืองบริเวณวัดภูมินทร์ ก็ยังคงเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวัฒนธรรมประเพณี และการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน ในวาระโอกาสต่างๆตลอดมา
เอกสารอ้างอิง:
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน. ๒๕๕๒.
- รองศาสตราจารย์สุรพล ดำริห์กุล. รายงานการวิจัย เรื่อง ข่วงเมืองและวัดหัวข่วง กับแบบแผนของเมืองในดินแดนล้านนา. เชียงใหม่, ๒๕๔๕.
- สุรศักดิ์ ศรีสำอางและคณะ. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร และศิลปะ. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
- ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๘๑๗.
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา #ข่วงเมืองน่าน
ตั๋วเมืองน่ารู้...ร่วมอนุรักษ์และสืบสานอักษรธรรมล้านนา
ตอน "ข่วงหลวง"
--- คำว่า "ข่วง" หมายถึง บริเวณลานหรือที่โล่ง และคำว่า "ข่วงหลวง" หมายถึง สนามหลวง หรือที่โล่งเมืองต่างๆในดินแดนล้านนา ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมหรือกิจกรรมประจำเมือง บางแห่งเรียก "ข่วงเมือง"
ข่วงเมืองที่มีหลักฐานปรากฎเป็นแบบแผนชัดเจนในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองเชียงใหม่และเมืองน่าน ส่วนเมืองอื่นๆในดินแดนล้านนา เช่น เมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) เมืองแพร่ เมืองพะเยา มีร่องรอยที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นข่วงเมืองปรากฎอยู่เช่นกัน
--- ข่วงเมืองของเมืองน่านตั้งอยู่บริเวณกลางเวียง หรือพื้นที่ใจกลางเมืองน่าน ซึ่งในอดีตเป็นสนามโล่งกว้างที่มีพื้นที่อยู่ระหว่างด้านหน้าหอคำกับวัดหลวงกลางเวียงหรือวัดพระธาตุช้างค้ำฯ ทางด้านทิศเหนือมีวัดหัวข่วงตั้งอยู่ ส่วนทางด้านทิศใต้จรดกับวัดภูมินทร์ ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ยังคงเป็นพื้นที่โล่งกว้างอยู่ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน รวมทั้งพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณวัดภูมินทร์ ที่ปัจจุบันมีการจัดถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ อีกด้วย
--- ข่วงเมืองหรือข่วงหลวงกลางเวียงน่าน สันนิษฐานว่าคงมีมาตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองน่านในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดยปรากฎคำว่า "ข่วงหลวง" อยู่ในเอกสารราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๓๕๑ สมัยเจ้าอัตถวรปัญโญเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๒๙ - ๒๓๕๓) ได้ปรากฎชื่อในเอกสารอีกครั้ง เรียกว่า "ท้องข่วงสนาม" โดยใช้เป็นสถานที่จัดงานมหรสพ และในพุทธศักราช ๒๓๕๙ สมัยเจ้าสุมนเทวราช (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๕๓ - ๒๓๖๘) เรียกว่า "ข่วงสนามหลวง" และนับตั้งแต่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๓๙๕ - ๒๔๓๔) เป็นต้นมา จนถึงสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย (ครองเมืองพุทธศักราช ๒๔๖๑ - ๒๔๗๔) ปรากฎชื่อเรียกในพงศาวดารเมืองน่าน ต่างๆกันว่า "ท้องข่วงสนาม" "ท้องข่วงสนามหลวง" และ "ข่วงสนามหลวง" เป็นต้น บริเวณข่วงเมืองหรือข่วงสนามหลวงนี้ ถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี และงานประเพณีต่างๆของเมือง การต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง การจัดขบวนเสด็จออกนอกเมือง การตั้งศพเจ้านายก่อนนำไปปลงหรือไปเผานอกเมือง การทำพิธีพุทธาภิเษก ธรรมทาน และฟังเทศน์ การแห่ครัวทาน และจัดแสดงมหรสพ พิธีสมโภชช้างเผือก พิธีสวนสนาม ฝึกซ้อมทหาร และจัดกระบวนทัพ ตลอดจนเป็นตลาดนัดและที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง โดยมีตัวอย่างปรากฎข้อความในพงศาวดารเมืองน่านที่กล่าวถึงท้องข่วงสนามหลวง ความว่า "เถิงจุลศักราชได้ ๑๒๒๒ ตัว (พุทธศักราช ๒๔๐๓) ปีกดสัน เดือนยี่ ขึ้น ๓ ค่ำ ท่านก็ได้ปกเตินแก่มหาขัติยวงษาเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลาย สร้างแปงยังมหามณฑปหลวงที่ข่วงสนามหลวง แปงเป็นจตุรมุข ๔ ด้าน มุงด้วยเสตฉัตรวัตถาผ้าขาว และห้างสรรพเยื่่องเครื่องครัวทานทั้งหลายพร้อมแล้ว ท่านก็ได้กระทำเบิกบายฉลองทาน ทำตั้งแต่เดือนยี่ขึ้น ๓ ค่ำ ไปจนเถิงเดือนยี่ลงค่ำ ๑ จึงเป็นที่เลิกแล้วบริบวรณ์หั้นแล รวมทั้งท่านได้ตั้งขันบูชาธรรมแลหื้อทาน มี ๔๒๓ กันแล"
-- ปัจจุบัน ข่วงหลวงด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และข่วงเมืองบริเวณวัดภูมินทร์ ก็ยังคงเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านวัฒนธรรมประเพณี และการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน ในวาระโอกาสต่างๆตลอดมา
เอกสารอ้างอิง:
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน. มรดกท้องถิ่นน่าน. น่าน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน. ๒๕๕๒.
- รองศาสตราจารย์สุรพล ดำริห์กุล. รายงานการวิจัย เรื่อง ข่วงเมืองและวัดหัวข่วง กับแบบแผนของเมืองในดินแดนล้านนา. เชียงใหม่, ๒๕๔๕.
- สุรศักดิ์ ศรีสำอางและคณะ. เมืองน่าน โบราณคดี ประวัติศาสตร และศิลปะ. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, ๒๕๓๗.
- ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา - ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่; โครงการสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ. ปรับปรุงครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗, หน้า ๘๑๗.
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน #อักษรธรรมล้านนา #ข่วงเมืองน่าน
(จำนวนผู้เข้าชม 523 ครั้ง)