วันพืชมงคล
๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖
วันพืชมงคล
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย
ตาแหลว (ตำแหลว)
ตาแหลว ตะแหลว หรือตตาเหลว ตรงกับเฉลวของไทยภาคกลางเป็นเครื่องจักสานทำด้วยตอกเส้นเล็กขัดกัน ให้ส่วนกลางเป็นตา ๖ เหลี่ยม ปล่อยชายตอกออกไปคล้ายกับรัศมีแสงอาทิตย์มีลักษณะเป็นแผ่นแบนขนาดกว้างประมาณ ๒ คืบ ตาแหลวนี้จะใช้เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมมีลักษณะใช้เป็นเครื่องหมาย
บอกอาณาเขตหวงห้าม เช่น ใช้เสียบไม้ปักไว้ในบริเวณปลูกข้าวแรกนา ใช้ติดหน้าบ้านของคนที่ตายอย่างผิดปกติหลังพิธีศพหรือใช้แขวนกับสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่นไว้กลางประตูเมืองหลังพิธีสืบชาตาเมืองเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร เป็นต้น
ในตำนานเชียงแสนในส่วนที่กล่าวถึงขุนทึงนั้น ก็ได้มีการระบุว่า ใช้ตาแหลวเป็นเครื่องบอกขอบเขตและกรรมสิทธิ์ในการปลูกข้าวด้วย
ตาแหลวแรกนา (อ่าน "ตำแหลวแฮกนา")
ตาแหลวแรกนา ซึ่งบางท่านเรียกว่า ตาแหลวหลวงตาแหลวเมือง หรือตาแสง มีลักษณะเป็นเฉลวพิเศษที่ใช้ในพิธีการแรกนา โดยเฉพาะตาแหลวชนิดนี้ทำขึ้นให้มีลักษณะคล้ายว่าวใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ ๗๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ติดอยู่กับไม้ไผ่ซึ่งดัดมาใช้ทั้งลำ เพียงแต่เลาะกิ่งก้านออกให้เหลือแต่ส่วนยอด และมีไม้ว้องหรือโช่ทำด้วยห่วงตอกสองสายห้อยลงมาจากส่วนไหล่ของตาแหลวแรกนาที่ปลายสาย ไม้วั้อง นั้นมีรูปปลาติดอยู่ ซึ่งปลานั้นอาจทำด้วยแผ่นไม้หรือไม้ไผ่สานก็ได้
ตาแหลวแรกนาดังกล่าวนี้ เจ้าของนาจะติดตั้งขึ้นเป็นพิเศษในพิธีการแรกนา โดยการกันเอาที่หัวมุมคันนาด้านหัวนาเป็นปริมณฑลสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วกั้นรั้วราชวัติกว้างและยาวประมาณ ๑ เมตร ล้อมรอบอยู่ ๓ ด้าน ที่มุมทั้งสี่จะมีตาแหลวขนาดปกติติดตั้งอยู่พร้อมกับมี ส้อหล้อ สำหรับใส่เครื่องบัตรพลีไว้ด้วย ที่โคนเสาซึ่งคิดตั้งตาแหลวแรกนานั้นจะมีแท่นเครื่องบัตรพลีซึ่งโดยมากมักจะใช้แท่นไม้สำหรับเป็นที่ตอกกล้ามาจัดเป็นที่วางเครื่องบัตรพลี บางท่านกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องทำรั้วราชวัติก็ได้ เพียงแต่ให้ปักส้อหล้อ บรรจุเครื่องบัตรพลี ๕ ชุด เป็นปริมณฑลรอบแท่นบัตรพลีแทน และบางท่านกล่าวว่า ในการเตรียมมณฑลพิธีแรกนานี้ให้จัดทำแท่นบูชาท้าว
ในการทำพิธีแรกนานั้น เจ้าของนาหรือผู้จะทำนาพร้อมด้วยบุตรภรรยาจะนำเครื่องบัตรพลีมาใส่ลงใน ส้อหล้อ และวางลงบนตั้งแรกนาซึ่งทำเป็นแท่น แล้วกล่าวคำบวงสรวงแม่โพสพและแม่ธรณี หากพ่อนาผู้นั้นไม่สามารถกล่าวคำดำเนินพิธีได้ ก็อาจขอให้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมมาทำพิธีให้ก็ได้
การกล่าวคำบวงสรวงนั้น จะเริ่มกล่าวคำสั่งเวยท้าวจตุโลกบาลเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะกล่าวสังเวยแม่โพสพตามลำดับ
"ตาแหลว (เฉลว)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2376-2377.
"ตาแหลวแรกนา." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2377-2378.
วันพืชมงคล
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย
ตาแหลว (ตำแหลว)
ตาแหลว ตะแหลว หรือตตาเหลว ตรงกับเฉลวของไทยภาคกลางเป็นเครื่องจักสานทำด้วยตอกเส้นเล็กขัดกัน ให้ส่วนกลางเป็นตา ๖ เหลี่ยม ปล่อยชายตอกออกไปคล้ายกับรัศมีแสงอาทิตย์มีลักษณะเป็นแผ่นแบนขนาดกว้างประมาณ ๒ คืบ ตาแหลวนี้จะใช้เป็นเครื่องหมายทางพิธีกรรมมีลักษณะใช้เป็นเครื่องหมาย
บอกอาณาเขตหวงห้าม เช่น ใช้เสียบไม้ปักไว้ในบริเวณปลูกข้าวแรกนา ใช้ติดหน้าบ้านของคนที่ตายอย่างผิดปกติหลังพิธีศพหรือใช้แขวนกับสายสิญจน์และหญ้าคาฟั่นไว้กลางประตูเมืองหลังพิธีสืบชาตาเมืองเพื่อป้องกันเสนียดจัญไร เป็นต้น
ในตำนานเชียงแสนในส่วนที่กล่าวถึงขุนทึงนั้น ก็ได้มีการระบุว่า ใช้ตาแหลวเป็นเครื่องบอกขอบเขตและกรรมสิทธิ์ในการปลูกข้าวด้วย
ตาแหลวแรกนา (อ่าน "ตำแหลวแฮกนา")
ตาแหลวแรกนา ซึ่งบางท่านเรียกว่า ตาแหลวหลวงตาแหลวเมือง หรือตาแสง มีลักษณะเป็นเฉลวพิเศษที่ใช้ในพิธีการแรกนา โดยเฉพาะตาแหลวชนิดนี้ทำขึ้นให้มีลักษณะคล้ายว่าวใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ ๗๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร ติดอยู่กับไม้ไผ่ซึ่งดัดมาใช้ทั้งลำ เพียงแต่เลาะกิ่งก้านออกให้เหลือแต่ส่วนยอด และมีไม้ว้องหรือโช่ทำด้วยห่วงตอกสองสายห้อยลงมาจากส่วนไหล่ของตาแหลวแรกนาที่ปลายสาย ไม้วั้อง นั้นมีรูปปลาติดอยู่ ซึ่งปลานั้นอาจทำด้วยแผ่นไม้หรือไม้ไผ่สานก็ได้
ตาแหลวแรกนาดังกล่าวนี้ เจ้าของนาจะติดตั้งขึ้นเป็นพิเศษในพิธีการแรกนา โดยการกันเอาที่หัวมุมคันนาด้านหัวนาเป็นปริมณฑลสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้วกั้นรั้วราชวัติกว้างและยาวประมาณ ๑ เมตร ล้อมรอบอยู่ ๓ ด้าน ที่มุมทั้งสี่จะมีตาแหลวขนาดปกติติดตั้งอยู่พร้อมกับมี ส้อหล้อ สำหรับใส่เครื่องบัตรพลีไว้ด้วย ที่โคนเสาซึ่งคิดตั้งตาแหลวแรกนานั้นจะมีแท่นเครื่องบัตรพลีซึ่งโดยมากมักจะใช้แท่นไม้สำหรับเป็นที่ตอกกล้ามาจัดเป็นที่วางเครื่องบัตรพลี บางท่านกล่าวว่าไม่จำเป็นต้องทำรั้วราชวัติก็ได้ เพียงแต่ให้ปักส้อหล้อ บรรจุเครื่องบัตรพลี ๕ ชุด เป็นปริมณฑลรอบแท่นบัตรพลีแทน และบางท่านกล่าวว่า ในการเตรียมมณฑลพิธีแรกนานี้ให้จัดทำแท่นบูชาท้าว
ในการทำพิธีแรกนานั้น เจ้าของนาหรือผู้จะทำนาพร้อมด้วยบุตรภรรยาจะนำเครื่องบัตรพลีมาใส่ลงใน ส้อหล้อ และวางลงบนตั้งแรกนาซึ่งทำเป็นแท่น แล้วกล่าวคำบวงสรวงแม่โพสพและแม่ธรณี หากพ่อนาผู้นั้นไม่สามารถกล่าวคำดำเนินพิธีได้ ก็อาจขอให้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมมาทำพิธีให้ก็ได้
การกล่าวคำบวงสรวงนั้น จะเริ่มกล่าวคำสั่งเวยท้าวจตุโลกบาลเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะกล่าวสังเวยแม่โพสพตามลำดับ
"ตาแหลว (เฉลว)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2376-2377.
"ตาแหลวแรกนา." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2377-2378.
(จำนวนผู้เข้าชม 433 ครั้ง)