วันปากปี
วันปากปี
--- วันลำดับที่ ๔ ในเทศกาลสงกรานต์คือวันปากปี ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ ในวันนี้ชาวบ้านจะพากันไปดำหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
—-ชาวบ้านนิยมทำแกงบะหนุน หรือแกงขนุน กินกันในครอบครัว หรือทำปริมาณที่เยอะเพื่อแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน ญาติมิตร หรือถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งมีความเชื่อว่า คำว่า ขนุน พ้องเสียงกับ อุดหนุน หนุนหนำ หนุดส่ง หนุนหลัง กินแกงขนุนแล้วจะเกื้อหนุนให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปตลอดทั้งปี ซึ่งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลผลิตหรือขนุนกำลังออกผลพอดี
---ในแง่ของพิธีกรรมพื้นบ้านนั้น ในวันนี้จะมีพิธีทั้งที่วัดและที่บริเวณใจบ้าน เรียกว่าเป็นการส่งเคราะห์บ้านหรือเป็นวันสระพระเคราะห์ มีการปูชาเข้าลดเคราะห์ ปูชาเข้ายกเคราะห์ ปูชาเคราะห์ปีใหม่ ปูชาสระพระเคราะห์ เป็นต้นที่วัดเชื่อว่าผู้ที่บูชาดังว่าในวันปากปี จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี
---ในตอนสายของวันนี้ชาวบ้านจะไปชุมนุมกันที่ใจบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน เพื่อจัดทำพิธีแปลงบ้านและส่งเคราะห์บ้าน เริ่มต้นด้วยการขึ้นท้าวทั้สี่คือบูชาท้าวจตุโลกบาลเสียก่อนแล้วจึงนิมนต์พระจำนวน ๕, ๗ หรือ ๙ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ โดยที่เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วก็ให้พระสงฆ์นั่งพักเสียก่อน แต่ชาวบ้านจะหามแห่เครื่องพิธีในการส่งเคราะห์ไปทางทิศตะวันออกของใจบ้านเป็นอันดับแรก ซึ่งอาจารย์ก็จะทำพิธีส่งในทิศนั้น แล้วจึงแห่แตะเครื่องบูชาในพิธีอันที่สองอันที่สาม ฯลฯ เวียนไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศใต้ตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับจนครบทั้งแปดทิศ แล้วจึงจะนำแตะเครื่องบูชาอันที่เก้าไปกล่าวคำโอกาสเวนทานในท่ามกลางบริเวณพิธีอีกเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้เมื่ออาจารย์กล่าวส่งในแต่ละทิศจบแล้วก็จะมีการจุดประทัดยิงปืนโห่ร้องเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร เมื่อเสร็จการส่งแล้วจึงให้หามเอาแตะเครื่องบูชาไปส่งตามทิศให้พ้นจากเขตของหมู่บ้านในแต่ละทิศ ในการส่งนี้อาจารย์อาจใช้คำโอกาสส่งนพเคราะห์ทั้งเก้า ก็ได้ บางแห่งอาจใช้วิธีกล่าวคำโอกาสรวมในครั้งเดียว โดยยกร่างร้านให้สูงประมาณ ๗๐-๔๐ เซนติเมตร แล้วยกแตะเครื่องบูชาทั้งเก้าแตะวางเรียงเป็นแถวแล้วกล่าวคำโอกาส เมื่อเสร็จแล้วก็จะจุดประทัดยิงปืนโห่ร้องกัน แล้วจึงหามเครื่องบูชานั้นไปส่งตามทิศให้พ้นจากเขตของหมู่บ้าน ถัดจากนั้นจึงเริ่มพิธีไหว้พระรับศีลพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้วอาจารย์โอกาสเวนทานถวายเครื่องไทยทาน พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ประชาชนแล้วจึงเป็นอันเสร็จพิธี ตกดอนค่ำก็ให้แต่ละบ้านปูชาเทียนคือการนำเทียนซึ่งมีไส้ทำด้วยกระดาษสาที่เขียนเลขยันต์มาจุดบูชาพระพุทธรูปอีกด้วย
---วันในลำดับที่ ๕ ของเทศกาลนี้คือ วันปากเดือน ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่างๆ ตามแบบที่นิยมนับถือกันมาแต่โบราณ การส่งเคราะห์ที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น ส่งชน ส่งแถน ส่งเคราะห์นรา เป็นต้นส่วนการดำหัวนั้นก็จะดำเนินต่อไปจนครบตามต้องการ
ที่มา อุดม รุ่งเรืองศรี. เรียบเรียงจาก ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย ของ มณีพยอมยงค์ และข้อมูลของ บำรุง บารมี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
--- วันลำดับที่ ๔ ในเทศกาลสงกรานต์คือวันปากปี ซึ่งถือว่าเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ ในวันนี้ชาวบ้านจะพากันไปดำหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
—-ชาวบ้านนิยมทำแกงบะหนุน หรือแกงขนุน กินกันในครอบครัว หรือทำปริมาณที่เยอะเพื่อแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน ญาติมิตร หรือถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณร ซึ่งมีความเชื่อว่า คำว่า ขนุน พ้องเสียงกับ อุดหนุน หนุนหนำ หนุดส่ง หนุนหลัง กินแกงขนุนแล้วจะเกื้อหนุนให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปตลอดทั้งปี ซึ่งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นช่วงที่ผลผลิตหรือขนุนกำลังออกผลพอดี
---ในแง่ของพิธีกรรมพื้นบ้านนั้น ในวันนี้จะมีพิธีทั้งที่วัดและที่บริเวณใจบ้าน เรียกว่าเป็นการส่งเคราะห์บ้านหรือเป็นวันสระพระเคราะห์ มีการปูชาเข้าลดเคราะห์ ปูชาเข้ายกเคราะห์ ปูชาเคราะห์ปีใหม่ ปูชาสระพระเคราะห์ เป็นต้นที่วัดเชื่อว่าผู้ที่บูชาดังว่าในวันปากปี จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี
---ในตอนสายของวันนี้ชาวบ้านจะไปชุมนุมกันที่ใจบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน เพื่อจัดทำพิธีแปลงบ้านและส่งเคราะห์บ้าน เริ่มต้นด้วยการขึ้นท้าวทั้สี่คือบูชาท้าวจตุโลกบาลเสียก่อนแล้วจึงนิมนต์พระจำนวน ๕, ๗ หรือ ๙ รูปมาเจริญพระพุทธมนต์ โดยที่เมื่อพระสงฆ์มาถึงแล้วก็ให้พระสงฆ์นั่งพักเสียก่อน แต่ชาวบ้านจะหามแห่เครื่องพิธีในการส่งเคราะห์ไปทางทิศตะวันออกของใจบ้านเป็นอันดับแรก ซึ่งอาจารย์ก็จะทำพิธีส่งในทิศนั้น แล้วจึงแห่แตะเครื่องบูชาในพิธีอันที่สองอันที่สาม ฯลฯ เวียนไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศใต้ตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับจนครบทั้งแปดทิศ แล้วจึงจะนำแตะเครื่องบูชาอันที่เก้าไปกล่าวคำโอกาสเวนทานในท่ามกลางบริเวณพิธีอีกเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้เมื่ออาจารย์กล่าวส่งในแต่ละทิศจบแล้วก็จะมีการจุดประทัดยิงปืนโห่ร้องเพื่อขับไล่เสนียดจัญไร เมื่อเสร็จการส่งแล้วจึงให้หามเอาแตะเครื่องบูชาไปส่งตามทิศให้พ้นจากเขตของหมู่บ้านในแต่ละทิศ ในการส่งนี้อาจารย์อาจใช้คำโอกาสส่งนพเคราะห์ทั้งเก้า ก็ได้ บางแห่งอาจใช้วิธีกล่าวคำโอกาสรวมในครั้งเดียว โดยยกร่างร้านให้สูงประมาณ ๗๐-๔๐ เซนติเมตร แล้วยกแตะเครื่องบูชาทั้งเก้าแตะวางเรียงเป็นแถวแล้วกล่าวคำโอกาส เมื่อเสร็จแล้วก็จะจุดประทัดยิงปืนโห่ร้องกัน แล้วจึงหามเครื่องบูชานั้นไปส่งตามทิศให้พ้นจากเขตของหมู่บ้าน ถัดจากนั้นจึงเริ่มพิธีไหว้พระรับศีลพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้วอาจารย์โอกาสเวนทานถวายเครื่องไทยทาน พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ประชาชนแล้วจึงเป็นอันเสร็จพิธี ตกดอนค่ำก็ให้แต่ละบ้านปูชาเทียนคือการนำเทียนซึ่งมีไส้ทำด้วยกระดาษสาที่เขียนเลขยันต์มาจุดบูชาพระพุทธรูปอีกด้วย
---วันในลำดับที่ ๕ ของเทศกาลนี้คือ วันปากเดือน ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่างๆ ตามแบบที่นิยมนับถือกันมาแต่โบราณ การส่งเคราะห์ที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น ส่งชน ส่งแถน ส่งเคราะห์นรา เป็นต้นส่วนการดำหัวนั้นก็จะดำเนินต่อไปจนครบตามต้องการ
ที่มา อุดม รุ่งเรืองศรี. เรียบเรียงจาก ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย ของ มณีพยอมยงค์ และข้อมูลของ บำรุง บารมี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841.
(จำนวนผู้เข้าชม 2633 ครั้ง)