ปีเหม้า (กระต่าย) ในงานศิลปกรรมน่าน
ปีเหม้า (กระต่าย) ในงานศิลปกรรมน่าน
ปีนักษัตรในปี ๒๕๖๖ คือ เถาะ หรือกระต่าย ในจีนเรียก “เหม่า” ล้านนา-ล้านช้าง เรียก “เหม้า หรือเม้า” เขมร เรียก เถาะส์
.
การนำสัตว์มาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนนักษัตร ชาวล้านนาเรียก “ตัวเปิ้ง” หรือสัตว์ปีเปิ้ง เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับคนที่เกิดในแต่ละปี โดยจะสถิตอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ๑๒ แห่ง ในรอบ ๑๒ ปี
.
“ชุธาตุ” ล้านนาออกเสียงว่า “จุ๊ธาตุ” หรือ “พระธาตุปีเกิด” เป็นคำเรียกที่แสดงถึงความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุในวัฒนธรรมล้านนา ภายใต้แนวคิดแบบลังกาคติที่มีความแตกต่างไปจากสังคมวัฒนธรรมใกล้เคียง โดยชุธาตุเป็นแนวคิดที่สะท้อนถึงการให้ความหมายและความสำคัญต่อองค์พระธาตุสำคัญอย่างเป็นระบบด้วยจำนวน ๑๒ องค์ ควบคู่กับการนับปีนักษัตรแบบล้านนา โดยมีความเชื่อของการเกิดในวัฒนธรรมล้านนาว่าบุคคลที่จะมาเกิดเป็นชีวิต ช่วงก่อนการปฏิสนธิจะก่อรูปเป็นภาวะจิตที่นิ่งสถิตอยู่ ณ องค์พระธาตุองค์สำคัญที่ประจำในแต่ละรอบปี แล้วนำดวงจิตนั้นมาอยู่ที่ต้นไม้หนึ่งที่มีสัตว์อยู่เฝ้ารักษาตามแต่ละปีเกิด เมื่อครบวาระแล้ว ดวงจิตนั้นก็จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของดาวกรายเข้าสู่ช่วงแห่งการปฏิสนธิ ก่อเกิดเป็นมนุษย์ต่อไป เมื่อสิ้นชีวิตลงตัวเปิ้งตัวเดิมก็จะมารับดวงจิตกลับมาพักที่พระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดของตนก่อนที่จะไปสู่ภพภูมิที่บุญกรรมแต่ละคนได้ทำไว้ การกำหนดระบบพระธาตุปีเกิดของสังคมล้านนาทำให้คนในแต่ละเมืองได้มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กัน ต้องการให้เป็นแหล่งจาริกแสวงบุญโดยตรง
.
ปีเม้า (ปีเถาะ) นักษัตร กระต่าย บูชาพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน กำหนดงานบุญสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (หกเป็ง) ในตำนานพระธาตุแช่แห้ง กล่าวถึง พระพุทธเจ้าประทานเกศาธาตุให้พระยามลราช จากนั้นได้บรรจุไว้ในภูเพียงแช่แห้ง และเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพานได้บรรจุพระธาตุข้อมือซ้ายตามพุทธทำนาย ส่วนในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึง พระยาการเมือง (ครานเมือง) ได้ไปช่วยสุโขทัยสร้างวัดหลวงอภัยและได้รับ “พระธาตุ ๗ องค์ พระพิมพ์ทอง ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์” โดยวรรณะพระธาตุ ๒ องค์เท่าพันธุ์ผักกาด (บางเล่มเป็น หอมป้อม) วรรณะดังแก้ว ๓ องค์ วรรณะดังมุก ๒ องค์ มีวรรณะดังทองคำเท่าเม็ดงาดำ จากนั้นก็บรรจุไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้ง
.
ในแต่ละปีพุทธศาสนิกชนจะหาโอกาสไปนมัสการพระธาตุต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้ไปทักษิณาพระธาตุประจำปีนักษัตรของตน
.
ปีนักษัตร หรือระบบสัตว์ประจำปีเกิด หรือสัตว์ปีเปิ้งในล้านนา ได้ปรากฎในงานศิลปกรรมอาคารทางศาสนาของเมืองน่าน หรือเป็นองค์ประกอบการประดับตกแต่งงานศิลปกรรมอื่นๆ เช่น ธรรมาสน์ ฐานพระพุทธรูป เป็นต้น โดยมีการประดับเรียงลำดับปีนักษัตรทั้ง ๑๒ นักษัตร โดยไม่ระบุเฉพาะเจาะจง และการใช้นักษัตร หรือสัตว์ประจำปีเกิดเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลในการสร้างบุญกิริยาถวายแด่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ใช้รูปกระต่ายเนื่องจากผู้สร้าง ผู้อุปถัมภ์ เจ้าศรัทธา สล่า หรือผู้นำในการก่อสร้างอาคารหรือเสนาสนะถาวรวัตถุแด่พระพุทธศาสนาเกิดในปีเหม้าหรือปีกระต่าย หรือศาสนสถานนั้นอาจจะสร้างหรือฉลองในปีนักษัตรนั้นๆ ก็ได้ โดยหมายให้นักษัตรเดินทางพาเข้าสู่ภาวะโพธิญาณ หรือพระนิพพาน และยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องนักษัตรที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา
.
นอกจากนี้รูปกระต่ายยังพบในงานศิลปกรรมอื่นๆ โดยถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระจันทร์ที่ควบคู่ไปกับนกยูงที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์ ในเรื่อง “เฉลิมไตรภพ” กล่าวว่า “...ที่สี่กระต่ายมุ่งฉาย เทียมจันทร์เดือนหงาย ให้นามปีเถาะเจาะจง...” คนจีนใช้แผนภูมิฟ้าดินมานับเวลาใช้ตี้จือ หรือราศีล่าง มาแทน ๑๒ ช่วง โดยเวลาตี ๕ ถึง ๗ โมง พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ดวงจันทร์อยู่บนฟ้า มีกระต่ายที่อยู่ในดวงจันทร์เล้านิทานจีนเรียกว่า เม่า
.
“...สังฆราชปาลเลกัวซ์เล่าว่าคนไทยเห็นจุดในดวงจันทร์เป็นกระต่ายนั้น ก็เหมือนกับจีนโบราณเขากล่าวว่าในดวงจันทร์มีกระต่ายผู้ และในโลกมีแต่กระต่ายตัวเมีย พวกกระต่ายตัวเมียชอบแหงนมองกระต่ายในดวงจันทร์จึงมีท้อง แล้วก็ตกลูกออกมาทางปาก ส่วนคนไทใหญ่เขาว่า ดวงจันทร์นั้นคือกระต่ายที่คลุมด้วยเงิน จึงมีแสงนวลเย็นตา กระต่ายนี้อยู่ในเรือนแก้ว ซึ่งมีหน้าต่าง ๑๕ บาน มันจะเปิดหน้าต่างแรกในคืนที่เราเรียกกันว่าขึ้นค่ำ แ และเปิดบานที่สองในคืนขึ้นสองค่ำ และบานที่สามขึ้นสามค่ำ อย่างนี้เรื่อย ๆ ไปจนหมดทั้ง ๑๕ บาน เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง หลังจากนั้นกระต่ายก็จะปิดหน้าต่างคืนละบาน ทำให้มืดลง ๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าข้างแรม...”
.
ในอรรถกถาเรื่อง “สสปัณฑิตชาดก” ได้กล่าวถึงสาเหตุที่มีรูปกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์ โดยมีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย ได้ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล และกระทำอุโบสถกรรม พระอินทร์ได้แปลงเป็นพราหมณ์มาทดสอบโดยมาขออาหาร ซึ่งกระต่ายโพธิ์สัตว์ให้ทานด้วยการกระโดดเข้ากองไฟเพื่อย่างตนตนให้เป็นอาหารแก่พราหมณ์ แต่ไฟมิอาจทำอันตรายใดแก่ร่างกายพระโพธิสัตว์ได้ พราหมณ์จึงบอกความจริงและกล่าวสรรเสริญพระโพธิ์สัตว์ พร้อมทั้งเขียนรูปกระต่ายไว้ในดวงจันทร์เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณงามความดีที่พระองค์เป็นผู้สละชีวิตตัวเองเป็นอาหารเพื่อช่วยชีวิตแก่สรรพสัตว์ เวลาที่มนุษย์แหงนหน้ามองพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเห็นรูปกระต่ายอยู่บนดวงจันทรืแล้วให้ระลึกถุงคุณความดีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นกระต่าย
.
ในตำนานจีน และเกาหลีมีเรื่องเล่าว่าในพระจันทร์มีคนและสัตว์ทำงานอยู่ในดวงจันทร์ และทำยาทิพย์เพื่อให้มีชีวิตนิรันดร์ โดยกระต่ายหยกมีหน้าที่ตำยาทิพย์ ในญี่ปุ่นที่เชื่อว่ามีกระต่ายขาวถือสากยักษ์ตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์ ในญี่ปุ่นมีตำนานเรื่อง กระต่ายที่ไปยังดวงจันทร์ โดยกระต่ายอยากไปเกิดเป็นมนุษย์แต่ไม่มีของกินไปให้มนุษย์จึงกระโดเข้ากองไฟจากนั้นพระเจ้าได้ลงมาจากฟ้าอุ้มกระต่ายไปถวายเทพจันทราเพราะได้ทำสิ่งที่ประเสริฐยอมถวายชีวิตตัวเองเป้นอาหารแด่มนุษย์ จากนั้นกระต่ายก็ใช้ชีวิตอยู่ที่ดวงจันทร์อย่างมีความสุข
.
ปกรณัมของฮินดูที่ระบุว่า ‘พระจันทร์’ เป็นเทพผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ โดยกระต่ายในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ศศะ” จึงเป็นที่มาของคำเรียกดวงจันทร์ว่า “ศศินฺ” แปลว่า ซึ่งมีกระต่าย
.
เอกสารอ้างอิง
ธิดา โมสิกรัตน์. การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความเชื่อเกี่ยวกับนักษัตรไทยและจีน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๕๗.
เธียรชาย อักษรดิษฐ์. ชุธาตุ : บทบาทและความหมายในอนุภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๕.
เหมันต สุนทร. สิบสองนักษัตรความเชื่อที่แสดงออกในงานศิลปกรรมล้านนา : กรณีศึกษาวัดในเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๒.
อรรถกถาสสบัณฑิตชาดก ว่าด้วย ผู้สละชีวิตเป็นทาน https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270562
ปีนักษัตรในปี ๒๕๖๖ คือ เถาะ หรือกระต่าย ในจีนเรียก “เหม่า” ล้านนา-ล้านช้าง เรียก “เหม้า หรือเม้า” เขมร เรียก เถาะส์
.
การนำสัตว์มาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนนักษัตร ชาวล้านนาเรียก “ตัวเปิ้ง” หรือสัตว์ปีเปิ้ง เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับคนที่เกิดในแต่ละปี โดยจะสถิตอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ๑๒ แห่ง ในรอบ ๑๒ ปี
.
“ชุธาตุ” ล้านนาออกเสียงว่า “จุ๊ธาตุ” หรือ “พระธาตุปีเกิด” เป็นคำเรียกที่แสดงถึงความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุในวัฒนธรรมล้านนา ภายใต้แนวคิดแบบลังกาคติที่มีความแตกต่างไปจากสังคมวัฒนธรรมใกล้เคียง โดยชุธาตุเป็นแนวคิดที่สะท้อนถึงการให้ความหมายและความสำคัญต่อองค์พระธาตุสำคัญอย่างเป็นระบบด้วยจำนวน ๑๒ องค์ ควบคู่กับการนับปีนักษัตรแบบล้านนา โดยมีความเชื่อของการเกิดในวัฒนธรรมล้านนาว่าบุคคลที่จะมาเกิดเป็นชีวิต ช่วงก่อนการปฏิสนธิจะก่อรูปเป็นภาวะจิตที่นิ่งสถิตอยู่ ณ องค์พระธาตุองค์สำคัญที่ประจำในแต่ละรอบปี แล้วนำดวงจิตนั้นมาอยู่ที่ต้นไม้หนึ่งที่มีสัตว์อยู่เฝ้ารักษาตามแต่ละปีเกิด เมื่อครบวาระแล้ว ดวงจิตนั้นก็จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของดาวกรายเข้าสู่ช่วงแห่งการปฏิสนธิ ก่อเกิดเป็นมนุษย์ต่อไป เมื่อสิ้นชีวิตลงตัวเปิ้งตัวเดิมก็จะมารับดวงจิตกลับมาพักที่พระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดของตนก่อนที่จะไปสู่ภพภูมิที่บุญกรรมแต่ละคนได้ทำไว้ การกำหนดระบบพระธาตุปีเกิดของสังคมล้านนาทำให้คนในแต่ละเมืองได้มีความสัมพันธ์ไปมาหาสู่กัน ต้องการให้เป็นแหล่งจาริกแสวงบุญโดยตรง
.
ปีเม้า (ปีเถาะ) นักษัตร กระต่าย บูชาพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน กำหนดงานบุญสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (หกเป็ง) ในตำนานพระธาตุแช่แห้ง กล่าวถึง พระพุทธเจ้าประทานเกศาธาตุให้พระยามลราช จากนั้นได้บรรจุไว้ในภูเพียงแช่แห้ง และเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพานได้บรรจุพระธาตุข้อมือซ้ายตามพุทธทำนาย ส่วนในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึง พระยาการเมือง (ครานเมือง) ได้ไปช่วยสุโขทัยสร้างวัดหลวงอภัยและได้รับ “พระธาตุ ๗ องค์ พระพิมพ์ทอง ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์” โดยวรรณะพระธาตุ ๒ องค์เท่าพันธุ์ผักกาด (บางเล่มเป็น หอมป้อม) วรรณะดังแก้ว ๓ องค์ วรรณะดังมุก ๒ องค์ มีวรรณะดังทองคำเท่าเม็ดงาดำ จากนั้นก็บรรจุไว้ ณ ดอยภูเพียงแช่แห้ง
.
ในแต่ละปีพุทธศาสนิกชนจะหาโอกาสไปนมัสการพระธาตุต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้ไปทักษิณาพระธาตุประจำปีนักษัตรของตน
.
ปีนักษัตร หรือระบบสัตว์ประจำปีเกิด หรือสัตว์ปีเปิ้งในล้านนา ได้ปรากฎในงานศิลปกรรมอาคารทางศาสนาของเมืองน่าน หรือเป็นองค์ประกอบการประดับตกแต่งงานศิลปกรรมอื่นๆ เช่น ธรรมาสน์ ฐานพระพุทธรูป เป็นต้น โดยมีการประดับเรียงลำดับปีนักษัตรทั้ง ๑๒ นักษัตร โดยไม่ระบุเฉพาะเจาะจง และการใช้นักษัตร หรือสัตว์ประจำปีเกิดเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลในการสร้างบุญกิริยาถวายแด่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ ใช้รูปกระต่ายเนื่องจากผู้สร้าง ผู้อุปถัมภ์ เจ้าศรัทธา สล่า หรือผู้นำในการก่อสร้างอาคารหรือเสนาสนะถาวรวัตถุแด่พระพุทธศาสนาเกิดในปีเหม้าหรือปีกระต่าย หรือศาสนสถานนั้นอาจจะสร้างหรือฉลองในปีนักษัตรนั้นๆ ก็ได้ โดยหมายให้นักษัตรเดินทางพาเข้าสู่ภาวะโพธิญาณ หรือพระนิพพาน และยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องนักษัตรที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา
.
นอกจากนี้รูปกระต่ายยังพบในงานศิลปกรรมอื่นๆ โดยถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระจันทร์ที่ควบคู่ไปกับนกยูงที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์ ในเรื่อง “เฉลิมไตรภพ” กล่าวว่า “...ที่สี่กระต่ายมุ่งฉาย เทียมจันทร์เดือนหงาย ให้นามปีเถาะเจาะจง...” คนจีนใช้แผนภูมิฟ้าดินมานับเวลาใช้ตี้จือ หรือราศีล่าง มาแทน ๑๒ ช่วง โดยเวลาตี ๕ ถึง ๗ โมง พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ดวงจันทร์อยู่บนฟ้า มีกระต่ายที่อยู่ในดวงจันทร์เล้านิทานจีนเรียกว่า เม่า
.
“...สังฆราชปาลเลกัวซ์เล่าว่าคนไทยเห็นจุดในดวงจันทร์เป็นกระต่ายนั้น ก็เหมือนกับจีนโบราณเขากล่าวว่าในดวงจันทร์มีกระต่ายผู้ และในโลกมีแต่กระต่ายตัวเมีย พวกกระต่ายตัวเมียชอบแหงนมองกระต่ายในดวงจันทร์จึงมีท้อง แล้วก็ตกลูกออกมาทางปาก ส่วนคนไทใหญ่เขาว่า ดวงจันทร์นั้นคือกระต่ายที่คลุมด้วยเงิน จึงมีแสงนวลเย็นตา กระต่ายนี้อยู่ในเรือนแก้ว ซึ่งมีหน้าต่าง ๑๕ บาน มันจะเปิดหน้าต่างแรกในคืนที่เราเรียกกันว่าขึ้นค่ำ แ และเปิดบานที่สองในคืนขึ้นสองค่ำ และบานที่สามขึ้นสามค่ำ อย่างนี้เรื่อย ๆ ไปจนหมดทั้ง ๑๕ บาน เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง หลังจากนั้นกระต่ายก็จะปิดหน้าต่างคืนละบาน ทำให้มืดลง ๆ ซึ่งเราเรียกกันว่าข้างแรม...”
.
ในอรรถกถาเรื่อง “สสปัณฑิตชาดก” ได้กล่าวถึงสาเหตุที่มีรูปกระต่ายอยู่ในดวงจันทร์ โดยมีเรื่องย่อว่า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่าย ได้ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล และกระทำอุโบสถกรรม พระอินทร์ได้แปลงเป็นพราหมณ์มาทดสอบโดยมาขออาหาร ซึ่งกระต่ายโพธิ์สัตว์ให้ทานด้วยการกระโดดเข้ากองไฟเพื่อย่างตนตนให้เป็นอาหารแก่พราหมณ์ แต่ไฟมิอาจทำอันตรายใดแก่ร่างกายพระโพธิสัตว์ได้ พราหมณ์จึงบอกความจริงและกล่าวสรรเสริญพระโพธิ์สัตว์ พร้อมทั้งเขียนรูปกระต่ายไว้ในดวงจันทร์เพื่อเป็นที่ระลึกแก่คุณงามความดีที่พระองค์เป็นผู้สละชีวิตตัวเองเป็นอาหารเพื่อช่วยชีวิตแก่สรรพสัตว์ เวลาที่มนุษย์แหงนหน้ามองพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเห็นรูปกระต่ายอยู่บนดวงจันทรืแล้วให้ระลึกถุงคุณความดีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นกระต่าย
.
ในตำนานจีน และเกาหลีมีเรื่องเล่าว่าในพระจันทร์มีคนและสัตว์ทำงานอยู่ในดวงจันทร์ และทำยาทิพย์เพื่อให้มีชีวิตนิรันดร์ โดยกระต่ายหยกมีหน้าที่ตำยาทิพย์ ในญี่ปุ่นที่เชื่อว่ามีกระต่ายขาวถือสากยักษ์ตำข้าวอยู่บนดวงจันทร์ ในญี่ปุ่นมีตำนานเรื่อง กระต่ายที่ไปยังดวงจันทร์ โดยกระต่ายอยากไปเกิดเป็นมนุษย์แต่ไม่มีของกินไปให้มนุษย์จึงกระโดเข้ากองไฟจากนั้นพระเจ้าได้ลงมาจากฟ้าอุ้มกระต่ายไปถวายเทพจันทราเพราะได้ทำสิ่งที่ประเสริฐยอมถวายชีวิตตัวเองเป้นอาหารแด่มนุษย์ จากนั้นกระต่ายก็ใช้ชีวิตอยู่ที่ดวงจันทร์อย่างมีความสุข
.
ปกรณัมของฮินดูที่ระบุว่า ‘พระจันทร์’ เป็นเทพผู้ถือกระต่ายไว้ในพระหัตถ์ โดยกระต่ายในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ศศะ” จึงเป็นที่มาของคำเรียกดวงจันทร์ว่า “ศศินฺ” แปลว่า ซึ่งมีกระต่าย
.
เอกสารอ้างอิง
ธิดา โมสิกรัตน์. การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบความเชื่อเกี่ยวกับนักษัตรไทยและจีน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สองบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๕๗.
เธียรชาย อักษรดิษฐ์. ชุธาตุ : บทบาทและความหมายในอนุภาคอุษาคเนย์ กรณีศึกษาความเชื่อเรื่องพระธาตุปีเกิดในล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๕.
เหมันต สุนทร. สิบสองนักษัตรความเชื่อที่แสดงออกในงานศิลปกรรมล้านนา : กรณีศึกษาวัดในเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๒.
อรรถกถาสสบัณฑิตชาดก ว่าด้วย ผู้สละชีวิตเป็นทาน https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270562
(จำนวนผู้เข้าชม 1103 ครั้ง)