แห่ครัวตาน
ประเพณี “แห่ครัวตาน” (คัวตาน)
.
“คัว” หมายถึง ครัว ในภาษาถิ่นภาคเหนือ หมายถึง วัตถุ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เครื่องประกอบ ส่วนคำว่า “ตาน” (ทาน) หมายถึง ถวาย, ทาน “คัวตาน” หมายถึง เครื่องไทยทาน (ของสำหรับทำทาน) หรือเครื่องไทยธรรม ชาวล้านนามักเรียกสิ่งของต่างๆ ที่นำมารวมกันแล้วตกแต่งให้สวยงามเพื่อถวายเป็นเครื่องไทยทานว่า ต้น, ต้นทานหรือต้นครัวทาน
.
ประเพณีแห่ครัวตาน หรือการถวายเครื่องไทยทาน เป็นประเพณีที่คนท้องถิ่นภาคเหนือหรือล้านนา จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่หมู่บ้านนั้นมีเทศกาลงานสำคัญ เช่น งานตานสลากภัตร งานฉลองโบสถ์ วิหาร ศาลา ถาวรวัตถุที่เป็นสาธาณประโยชน์ของหมู่บ้าน และนำไปถวายวัดในเทศกาลประเพณีต่าง ๆ โดยการแห่ครัวตานชาวบ้านจะนำเอาสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค วัสดุอุปกรณ์ จตุปัจจัยไทยทาน ที่ช่วยกันรวบรวมหรือซื้อหามา จากนั้นจะมีการจัดทำเป็นรูปแบบต่างๆ นำไปถวายวัดในหมู่บ้านของตนหรือหมู่บ้านใกล้เคียง ในการเคลื่อนต้นครัวทานเพื่อนำไปถวายเป็นทานนั้น มักจะมีการแห่แหนด้วยขบวนฆ้องกลองซึ่งอาจมีช่างฟ้อนทำหน้าที่ฟ้อนรำนำขบวนไปด้วย
.
รูปแบบครัวตานมีหลายลักษณะตามแนวคิดของชาวบ้านโดยชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งครัวตานให้สวยงาม เช่น พุ่มดอกไม้ พุ่มเครื่องไทย-ทาน และมียอดเป็นธนบัตรหนีบด้วยไม้ตับ รูปจำลองโบราณสถานที่เคารพนับถือ รูปสัตว์ สัตว์หิมพานต์ในนิทานชาดกต่างๆ ต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้น โดยเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ชาวบ้าน พระภิกษุสามเณร หรือวัดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนพืชผักที่มีในท้องถิ่นตามฤดูกาล
.
การแห่ครัวตานจะมีการจัดรูปขบวน มีป้ายชื่อหมู่บ้าน ขบวนเครื่องสักการะดอกไม้ ธูปเทียน พุ่มดอก ขบวนกลองยาวหรือกลองสิ้งหม้อง และขบสนฟ้อนรำหน้าครัวตาน ในบางครั้งจะมีการฮ่ำครัวตานอธิบายความหมายหรือพรรณนาขบวนครัวตาน เมื่อแห่เข้าวัดแล้วก็จำนำไปถวายพระสงฆ์ และรับศีลพรเป็นอันเสร็จพิธี
.
การแห่ครัวตานเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการสร้างให้เกิดธรรมที่สำคัญ คือ คารวะธรรม คือมีความเคารพต่อกันให้เกียรติกัน เพื่อนบ้านมีงานบุญ งานประเพณี เกิดกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ และคนหนุ่มสาว เกิดการถ่ายทอดแบ่งปันและบอกเล่า ปัญญาธรรม คือ การตระเตรียมเครื่องถวาย สมาชิกต้องช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน ช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อทำให้ดีที่สุด และสามัคคีธรรม คือส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน เราในฐานะเพื่อนบ้านก็อาสาช่วยเหลือ มีน้ำใจให้แก่กันและกัน
.
ภาพ : การประกวดขบวนแห่มหกรรมครัวตานของแต่ละคุ้มวัดที่มาร่วมอนุโมทนาฉลองพระอุโบสถ วัดกู่คำ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน วันศุกร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕
.
เอกสารอ้างอิง
"ต้นครัวทาน (เครื่องไทยทาน)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2292-2298.
พระครูสังฆรักษ์ ศุภณัฐ ภูริวฑฺฆโน. การลดค่าใช้จ่ายในงานประเพณีแห่ครัวตานล้านนาเพื่อสร้างคุณค่า และความหมายที่เหมาะสมกับชุมชน โดยกลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแห้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2563)
.
“คัว” หมายถึง ครัว ในภาษาถิ่นภาคเหนือ หมายถึง วัตถุ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เครื่องประกอบ ส่วนคำว่า “ตาน” (ทาน) หมายถึง ถวาย, ทาน “คัวตาน” หมายถึง เครื่องไทยทาน (ของสำหรับทำทาน) หรือเครื่องไทยธรรม ชาวล้านนามักเรียกสิ่งของต่างๆ ที่นำมารวมกันแล้วตกแต่งให้สวยงามเพื่อถวายเป็นเครื่องไทยทานว่า ต้น, ต้นทานหรือต้นครัวทาน
.
ประเพณีแห่ครัวตาน หรือการถวายเครื่องไทยทาน เป็นประเพณีที่คนท้องถิ่นภาคเหนือหรือล้านนา จัดขึ้นเนื่องในโอกาสที่หมู่บ้านนั้นมีเทศกาลงานสำคัญ เช่น งานตานสลากภัตร งานฉลองโบสถ์ วิหาร ศาลา ถาวรวัตถุที่เป็นสาธาณประโยชน์ของหมู่บ้าน และนำไปถวายวัดในเทศกาลประเพณีต่าง ๆ โดยการแห่ครัวตานชาวบ้านจะนำเอาสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค วัสดุอุปกรณ์ จตุปัจจัยไทยทาน ที่ช่วยกันรวบรวมหรือซื้อหามา จากนั้นจะมีการจัดทำเป็นรูปแบบต่างๆ นำไปถวายวัดในหมู่บ้านของตนหรือหมู่บ้านใกล้เคียง ในการเคลื่อนต้นครัวทานเพื่อนำไปถวายเป็นทานนั้น มักจะมีการแห่แหนด้วยขบวนฆ้องกลองซึ่งอาจมีช่างฟ้อนทำหน้าที่ฟ้อนรำนำขบวนไปด้วย
.
รูปแบบครัวตานมีหลายลักษณะตามแนวคิดของชาวบ้านโดยชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งครัวตานให้สวยงาม เช่น พุ่มดอกไม้ พุ่มเครื่องไทย-ทาน และมียอดเป็นธนบัตรหนีบด้วยไม้ตับ รูปจำลองโบราณสถานที่เคารพนับถือ รูปสัตว์ สัตว์หิมพานต์ในนิทานชาดกต่างๆ ต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้น โดยเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ชาวบ้าน พระภิกษุสามเณร หรือวัดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตลอดจนพืชผักที่มีในท้องถิ่นตามฤดูกาล
.
การแห่ครัวตานจะมีการจัดรูปขบวน มีป้ายชื่อหมู่บ้าน ขบวนเครื่องสักการะดอกไม้ ธูปเทียน พุ่มดอก ขบวนกลองยาวหรือกลองสิ้งหม้อง และขบสนฟ้อนรำหน้าครัวตาน ในบางครั้งจะมีการฮ่ำครัวตานอธิบายความหมายหรือพรรณนาขบวนครัวตาน เมื่อแห่เข้าวัดแล้วก็จำนำไปถวายพระสงฆ์ และรับศีลพรเป็นอันเสร็จพิธี
.
การแห่ครัวตานเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการสร้างให้เกิดธรรมที่สำคัญ คือ คารวะธรรม คือมีความเคารพต่อกันให้เกียรติกัน เพื่อนบ้านมีงานบุญ งานประเพณี เกิดกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ และคนหนุ่มสาว เกิดการถ่ายทอดแบ่งปันและบอกเล่า ปัญญาธรรม คือ การตระเตรียมเครื่องถวาย สมาชิกต้องช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน ช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อทำให้ดีที่สุด และสามัคคีธรรม คือส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน เราในฐานะเพื่อนบ้านก็อาสาช่วยเหลือ มีน้ำใจให้แก่กันและกัน
.
ภาพ : การประกวดขบวนแห่มหกรรมครัวตานของแต่ละคุ้มวัดที่มาร่วมอนุโมทนาฉลองพระอุโบสถ วัดกู่คำ ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน วันศุกร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๕
.
เอกสารอ้างอิง
"ต้นครัวทาน (เครื่องไทยทาน)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 2292-2298.
พระครูสังฆรักษ์ ศุภณัฐ ภูริวฑฺฆโน. การลดค่าใช้จ่ายในงานประเพณีแห่ครัวตานล้านนาเพื่อสร้างคุณค่า และความหมายที่เหมาะสมกับชุมชน โดยกลุ่มผู้สูงอายุบ้านท่าขัว ตำบลบ่อแห้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2563)
(จำนวนผู้เข้าชม 6463 ครั้ง)