น่าน จากหนังสือนำทางทั่วพระราชอาณาจักรสยาม
น่าน : จากหนังสือนำทางทั่วพระราชอาณาจักรสยาม (สมุดคู่มือสำหรับตัวผู้เดินทาง) พ.ศ. ๒๔๖๙
.
มณฑลพายัพ
เป็นมณฑลที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศสยาม แบ่งออกเป็น ๗ จังหวัด
จังหวัดน่าน
ภูมิประเทศ
จังหวัดนี้อยู่ถัดจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนต้นของแม่น้ำน่าน ณาเขตรทิศเหนือและตะวันออกจดเขตรแดนเมืองหลวงพระบางในการปกครองของฝรั่งเศสซึ่งแต่เดิมเป็นของไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ มีพลเมืองประมาณ ๑๖๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็น ๖ อำเภอ คือ ๑. อำเภอเมืองน่าน ๒. อำเภอบุญยืน ๓. อำเภอบ้านม่วง ๔. อำเภอนาน้อย ๕. อำเภอปัว ๖. อำเภอและ ศาลากลางของจังหวัดอยู่ในอำเภอเมืองน่าน ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ห่างจากแพร่ประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร มีพลเมืองเปนชาวเขาปนอยู่ด้วย เช่น ขมุ ฮ่อ เย้า แม้ว ลื้อ ประมาณ ๖๐๐๐ คน พื้นที่มีที่ราบน้อย เปนป่าและภูเขาโดยมาก แร่เหล็กมีที่ตำบลบ้านอวม ในอำเภอปัว แร่เกลือมีที่ตำบลบ่อเกลือในอำเภอปัว แร่ตะกั่วดำ มีที่ตำบลห้วยเกวียนในอำเภอนาน้อย แร่ทองแดงมีในอำเภอบุญยืน สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ข้าวเปลือก ไม้สัก ไม้กระยาเลย ยาสูบ และเขา หนัง เหล่านี้เปนพื้น ราษฎรพลเมืองหาเลี้ยงชีพด้วยการทำนาทำไร่ ตัดไม้แลหาของป่าขายเหล่านี้เปนต้น
.
ทางคมนาคม
ทางคมนาคมไปมาของจังหวัดนี้ มีถนนจากแพร่ไปน่าน ทางสายนี้ตั้งแต่อำเภอเมืองแพร่ไปถึงอำเภอร้องกวาง รถและเกวียนเดินได้สดวก ตอนแต่อำเภอร้องกวางไปถึงจังหวัดน่าน เปนทางเดินลำบาก บางตอนต้องขึ้นเขาลงห้วย รวมระยะทางประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เดินทางจากน่านถึงแพร่เดินตามปรกติทางประมาณ ๕ วัน
ยานพาหนะ
การไปมาด้วยยานพาหนะของจังหวัดนี้ ถ้าจะไปจากกรุงเทพฯ ต้องไปขึ้นรถไฟสายเหนือที่สถานีหัวลำโพงแล้วไปลงที่สถานีเด่นชัยจังหวัดแพร่ก่อน แล้วจึงเดินทางจากแพร่ไปน่าน มีถนนทางเดินจะเดินไป ม้าหรือไปโดยรถยนต์หรือเกวียน ก็แล้วแต่ความสดวกของถนนหนทางเปนดอนๆ ไปจนกว่าจะถึงจังหวัดน่าน ระยะทางก็แล้วแต้จะเดินไป หรือไปม้าหรือจะโดยรถยนต์อย่างใด ประมาณทางเดินอย่างกลาง เช่น เดินอย่างสบายไม่รีบร้อนวัน ๑ เดิน ทางได้อยู่ในราว ๒๔ กิโลเมตร หรือ ๖๐๐ เส้น แต่จังหวัดแพร่ถึงจังหวัดน่าน ทางประมาณ ๕ วันถึง ส่วนอัตราค่าโดยสารรถไฟแต่กรุงเทพฯ ถึงสถานีเด่นชัยจังหวัดแพร่นั้น ชั้นที่ ๑ ๒๘ บาท ๗๐ ส,ต, ชั้นที่ ๒ ๑๗ บาท ๓๐ ส,ต, ชั้นที่ ๓ ๑๑ บาท ๕๐ ส,ต, ส่วนค่าจ้างม้าต่างหรือโคต่างวันละ ๑ บาท ๕๐ ส,ต, ค่าจ้างคนหาบหามวันละ ๘๕ ส,๖, แม้จะยิ่งหรือหย่อนกว่านี้บ้างก็เล็กน้อย
.
เอกสารอ้างอิง
นฤราชภักดี, หลวง. หนังสือนำทางทั่วพระราชอาณาจักรสยาม เป็นสมุดคู่มือสำหรับผู้เดินทาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บรรณวัฒนาคาร. ๒๔๖๙. เข้าถึงได้โดย
https://studiescenter.kingprajadhipokmuseum.com/book.../4280
.
มณฑลพายัพ
เป็นมณฑลที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศสยาม แบ่งออกเป็น ๗ จังหวัด
จังหวัดน่าน
ภูมิประเทศ
จังหวัดนี้อยู่ถัดจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนต้นของแม่น้ำน่าน ณาเขตรทิศเหนือและตะวันออกจดเขตรแดนเมืองหลวงพระบางในการปกครองของฝรั่งเศสซึ่งแต่เดิมเป็นของไทย มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๙,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ มีพลเมืองประมาณ ๑๖๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็น ๖ อำเภอ คือ ๑. อำเภอเมืองน่าน ๒. อำเภอบุญยืน ๓. อำเภอบ้านม่วง ๔. อำเภอนาน้อย ๕. อำเภอปัว ๖. อำเภอและ ศาลากลางของจังหวัดอยู่ในอำเภอเมืองน่าน ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ห่างจากแพร่ประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร มีพลเมืองเปนชาวเขาปนอยู่ด้วย เช่น ขมุ ฮ่อ เย้า แม้ว ลื้อ ประมาณ ๖๐๐๐ คน พื้นที่มีที่ราบน้อย เปนป่าและภูเขาโดยมาก แร่เหล็กมีที่ตำบลบ้านอวม ในอำเภอปัว แร่เกลือมีที่ตำบลบ่อเกลือในอำเภอปัว แร่ตะกั่วดำ มีที่ตำบลห้วยเกวียนในอำเภอนาน้อย แร่ทองแดงมีในอำเภอบุญยืน สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ข้าวเปลือก ไม้สัก ไม้กระยาเลย ยาสูบ และเขา หนัง เหล่านี้เปนพื้น ราษฎรพลเมืองหาเลี้ยงชีพด้วยการทำนาทำไร่ ตัดไม้แลหาของป่าขายเหล่านี้เปนต้น
.
ทางคมนาคม
ทางคมนาคมไปมาของจังหวัดนี้ มีถนนจากแพร่ไปน่าน ทางสายนี้ตั้งแต่อำเภอเมืองแพร่ไปถึงอำเภอร้องกวาง รถและเกวียนเดินได้สดวก ตอนแต่อำเภอร้องกวางไปถึงจังหวัดน่าน เปนทางเดินลำบาก บางตอนต้องขึ้นเขาลงห้วย รวมระยะทางประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เดินทางจากน่านถึงแพร่เดินตามปรกติทางประมาณ ๕ วัน
ยานพาหนะ
การไปมาด้วยยานพาหนะของจังหวัดนี้ ถ้าจะไปจากกรุงเทพฯ ต้องไปขึ้นรถไฟสายเหนือที่สถานีหัวลำโพงแล้วไปลงที่สถานีเด่นชัยจังหวัดแพร่ก่อน แล้วจึงเดินทางจากแพร่ไปน่าน มีถนนทางเดินจะเดินไป ม้าหรือไปโดยรถยนต์หรือเกวียน ก็แล้วแต่ความสดวกของถนนหนทางเปนดอนๆ ไปจนกว่าจะถึงจังหวัดน่าน ระยะทางก็แล้วแต้จะเดินไป หรือไปม้าหรือจะโดยรถยนต์อย่างใด ประมาณทางเดินอย่างกลาง เช่น เดินอย่างสบายไม่รีบร้อนวัน ๑ เดิน ทางได้อยู่ในราว ๒๔ กิโลเมตร หรือ ๖๐๐ เส้น แต่จังหวัดแพร่ถึงจังหวัดน่าน ทางประมาณ ๕ วันถึง ส่วนอัตราค่าโดยสารรถไฟแต่กรุงเทพฯ ถึงสถานีเด่นชัยจังหวัดแพร่นั้น ชั้นที่ ๑ ๒๘ บาท ๗๐ ส,ต, ชั้นที่ ๒ ๑๗ บาท ๓๐ ส,ต, ชั้นที่ ๓ ๑๑ บาท ๕๐ ส,ต, ส่วนค่าจ้างม้าต่างหรือโคต่างวันละ ๑ บาท ๕๐ ส,ต, ค่าจ้างคนหาบหามวันละ ๘๕ ส,๖, แม้จะยิ่งหรือหย่อนกว่านี้บ้างก็เล็กน้อย
.
เอกสารอ้างอิง
นฤราชภักดี, หลวง. หนังสือนำทางทั่วพระราชอาณาจักรสยาม เป็นสมุดคู่มือสำหรับผู้เดินทาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บรรณวัฒนาคาร. ๒๔๖๙. เข้าถึงได้โดย
https://studiescenter.kingprajadhipokmuseum.com/book.../4280
(จำนวนผู้เข้าชม 853 ครั้ง)