วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕
วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา
ในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้ว ต่อจากนี้ไปจะมี พิธีแรกนาขวัญทั่วไปในชนบทหมู่บ้านเพื่อสร้างขวัญ และกําลังใจให้ชาวนาชาวไร่ ในพื้นที่ต่างๆ จะมีการปักธงธวัช ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาดังนี้
๏ เดือนหกเรียมไห้รํ่า ฤๅวาย
ยามย่อมชนบทถือ ท่องหล้า
ธงธวัชโบกโบยปลาย งอนง่า
คิดว่ากรกวักข้า แล่นตาม ฯ
๏ ทันธงบใช่น้อง เรียมทรุด
หิวคระหนรนกาม พรั่นกว้า
ธวัชงอนโบกโบยสุด ลิวลี่
กรใช่กรหน้าหน้า ใช่น้องนาไถ ฯ
๏ ฤดูเดือนเชษฐฟ้า ครรชิต
สายพรุณรองไร เรื่อยฟ้า
ไพศาขยรํ่าแรมนิทร นงโพธ เดียวแม่
แรมรํ่าแรมโรยหน้า เร่งโรยแรมโรย ฯ
๏ วรรณาโมลิศแล้ง แดงเดียว
อกกระอุเกรียมโกรย กระด้าง
อัมพรอุทรเขียว ครางคร่ำ
ฟื้นฟั่นโหยไห้ช้าง เชี่ยวสินธุ์ ฯ
๏ อักขนิษฐเลื่องโลกล้ำ โสฬศ
บัณฑุกัมพลอินทร์ อาสน์แก้ว
เมรุทองรรองทศ ศาภาคย์
ฤๅอาจทรงทุกข์แผ้ว ที่ตรอม ฯ
๏ ฤดูเดือนเมฆนํ้า นองหาว
ขุกข่มเขียวไพรดอม ยอดย้อม
ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ
เห็นลบัดเสรียวอ้อม อาตม์เรียม ฯ
๏ อัญชันชรอุ่มแต้ม ตาไพร
เพราเพริดนัยนุชเทียม แต่งแต้ม
บัวกามจำรัสไร รัตนเรข
ชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลาฯ
๏ พระพรุณรายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยม
อกราษฎร์ชนบทเทา ทั่วหล้า
เริ่มการสำเร็จโถม ไถแล่น
เจียรอนุชน้องถ้า ไป่ยลฯ
๏ แถลงวรรสวาดิเกี้ยว กรองบัตร
ลมปั่นหาวเหินบน แบ่งไส้
เล็บนางแน่งเนาวรัตน์ โชรช่อ
แลแล่งเล็บแก้วไล้ ลวดทอง ฯ
๏ ฟ้าดินเลียมลอบกลํ้า กลืนนุช แดฤๅ
ซงซ่อนไกลใจปอง ขาดขวํ้า
แดนใดลอบเลงบุษป บัวมาศ กูเฮย
เรียมบำบวงบนก้ำ ก่ำสมร ฯ
๏ ร่ำรักแรมราศแก้ว เจียรจินต์
กรมโกรธเททวารถอน ถอดไส้
ลุกแลรลุงถวิล หาอ่อน อวลเอย
เยียวข่าวขวัญน้องไข้ พี่ถ้าถามขวัญ ฯ
เอกสารอ้างอิง
"โคลงทวาทศมาส" เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/โคลงทวาทศมาส/โคลงทวาทศมาส
“แรกนาขวัญ-นาตาแฮก” การสร้างขวัญและกําลังใจของเกษตรกร. เข้าถึงได้โดย https://www.silpa-mag.com/culture/article_32683
วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา
ในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้ว ต่อจากนี้ไปจะมี พิธีแรกนาขวัญทั่วไปในชนบทหมู่บ้านเพื่อสร้างขวัญ และกําลังใจให้ชาวนาชาวไร่ ในพื้นที่ต่างๆ จะมีการปักธงธวัช ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาดังนี้
๏ เดือนหกเรียมไห้รํ่า ฤๅวาย
ยามย่อมชนบทถือ ท่องหล้า
ธงธวัชโบกโบยปลาย งอนง่า
คิดว่ากรกวักข้า แล่นตาม ฯ
๏ ทันธงบใช่น้อง เรียมทรุด
หิวคระหนรนกาม พรั่นกว้า
ธวัชงอนโบกโบยสุด ลิวลี่
กรใช่กรหน้าหน้า ใช่น้องนาไถ ฯ
๏ ฤดูเดือนเชษฐฟ้า ครรชิต
สายพรุณรองไร เรื่อยฟ้า
ไพศาขยรํ่าแรมนิทร นงโพธ เดียวแม่
แรมรํ่าแรมโรยหน้า เร่งโรยแรมโรย ฯ
๏ วรรณาโมลิศแล้ง แดงเดียว
อกกระอุเกรียมโกรย กระด้าง
อัมพรอุทรเขียว ครางคร่ำ
ฟื้นฟั่นโหยไห้ช้าง เชี่ยวสินธุ์ ฯ
๏ อักขนิษฐเลื่องโลกล้ำ โสฬศ
บัณฑุกัมพลอินทร์ อาสน์แก้ว
เมรุทองรรองทศ ศาภาคย์
ฤๅอาจทรงทุกข์แผ้ว ที่ตรอม ฯ
๏ ฤดูเดือนเมฆนํ้า นองหาว
ขุกข่มเขียวไพรดอม ยอดย้อม
ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ
เห็นลบัดเสรียวอ้อม อาตม์เรียม ฯ
๏ อัญชันชรอุ่มแต้ม ตาไพร
เพราเพริดนัยนุชเทียม แต่งแต้ม
บัวกามจำรัสไร รัตนเรข
ชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลาฯ
๏ พระพรุณรายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยม
อกราษฎร์ชนบทเทา ทั่วหล้า
เริ่มการสำเร็จโถม ไถแล่น
เจียรอนุชน้องถ้า ไป่ยลฯ
๏ แถลงวรรสวาดิเกี้ยว กรองบัตร
ลมปั่นหาวเหินบน แบ่งไส้
เล็บนางแน่งเนาวรัตน์ โชรช่อ
แลแล่งเล็บแก้วไล้ ลวดทอง ฯ
๏ ฟ้าดินเลียมลอบกลํ้า กลืนนุช แดฤๅ
ซงซ่อนไกลใจปอง ขาดขวํ้า
แดนใดลอบเลงบุษป บัวมาศ กูเฮย
เรียมบำบวงบนก้ำ ก่ำสมร ฯ
๏ ร่ำรักแรมราศแก้ว เจียรจินต์
กรมโกรธเททวารถอน ถอดไส้
ลุกแลรลุงถวิล หาอ่อน อวลเอย
เยียวข่าวขวัญน้องไข้ พี่ถ้าถามขวัญ ฯ
เอกสารอ้างอิง
"โคลงทวาทศมาส" เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/โคลงทวาทศมาส/โคลงทวาทศมาส
“แรกนาขวัญ-นาตาแฮก” การสร้างขวัญและกําลังใจของเกษตรกร. เข้าถึงได้โดย https://www.silpa-mag.com/culture/article_32683
(จำนวนผู้เข้าชม 2943 ครั้ง)