เรือทองขวานฟ้า และ เรือทองบ้าบิ่น
ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า
ชื่อ ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า อันที่จริง ชื่อทองขวานฟ้า น่าจะเพี้ยนมาจาก ทองแขวนฟ้าแปลว่า ทองที่ห้อยย้อยลงมาจากท้องฟ้า เรือทองแขวนฟ้าเป็นชื่อเรือคู่หนึ่งที่ปรากฏในกระบวนเรือฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นไปได้ว่า ในสมัยต่อมาเรือชื่อทองแขวนฟ้าลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองขวานฟ้า
และอีกลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นทองบ้าบิ่น
เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทองแกะสลักลวดลาย เป็นเรือคู่หน้าสุดที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด เรือแต่ละลำมีความยาว 32.08 เมตร กว้าง 1.88 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 64 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 39 คนนายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน
พลสัญญาณ 1 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
(จำนวนผู้เข้าชม 219 ครั้ง)