เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และ เรือกระบี่ราญรอนราพณ์
ชื่อเรือทั้งสองลำนี้ สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
ชื่อเรือทั้งสองลำนี้ สะท้อนความรับรู้วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นวรรณกรรมที่ดำเนินเรื่องตามมหากาพย์รามายณะของอินเดีย
โขนเรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นรูปวานร (ลิง) ร่างกายสีขาว ไม่สวมเครื่องประดับหัว ส่วนเครื่องประดับกายและผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่าเป็นรูปของหนุมาน ทหารเอกของพระราม ขุนกระบี่ผู้นำกองทัพวานรต่อสู้กับกองทัพของทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกา ความชั่วร้ายของทศกัณฐ์ทำให้เรียกกรุงลงกาว่า เมืองมาร ถือเป็นฝ่ายอธรรม
โขนเรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เป็นรูปวานร (ลิง) ไม่สวมเครื่องประดับหัว ร่างกายสีดำ ส่วนเครื่องประดับกาย และผ้านุ่งลงรักปิดทองประดับกระจก ชื่อเรือและลักษณะโขนเรือเช่นนี้ทำให้ทราบว่า เป็นรูปของนิลพัท ขุนกระบี่ผิวดำดั่งชื่อผู้นำกองทัพวานรต่อสู้ทำลายล้างกองทัพของราพณ์ (อีกชื่อหนึ่งของทศกัณฐ์ในมหากาพย์รามายณะ เรียกว่า ราวณะ)
เรือทั้งสองลำสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ปรากฏชื่อเรือชัดเจนในเอกสารสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พุทธศักราช 2394 - 2411) เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้งสองลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช ๒๕๐๘ กองทัพเรือและ เรือแต่ละลำมีความยาว 26.80 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 51 เซนติเมตร หนัก 5.62 ตัน มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 36 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน และคนตีกลองชนะ 10 คน
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/royalbarges
(จำนวนผู้เข้าชม 160 ครั้ง)