ชื่อวัตถุ :: ตะเกียงเจ้าพายุ
เลขทะเบียน :: 43/0098/2549
ลักษณะ :: ด้านบนเป็นโลหะ ฉลุลาย มีหูสำหรับแขวน ส่วนกลางมีโปะกระจก สำหรับครอบใต้ มีแกนโลหะยึด ส่วยฐานมือหมุนปรับระดับควา
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ป้านชา
เลขทะเบียน ::43/0103/2549
ลักษณะ :: ป้านชาทรงกระบอก ก้นตัด ฝาเชื่อมติดกับลำตัว มีหูจับระหว่างกลาง อีกด้านสามารถเปิดได้ อีกด้านทำเป็นพวยกา
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.มวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
ชื่อวัตถุ :: พาน
เลขทะเบียน :: 43/0132/2549
ลักษณะ :: พานทรงกลม มีเชิงปากผายออก ลงรักปิดทองด้านในและด้านนอก ของพาน
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ชื่อวัตถุ :: กระโถนปากแตร
เลขทะเบียน :: 43/0076/2549
ลักษณะ :: ขอบปากบานออก ช่วงกลางลำตัวปั้นเป็นลายแบบฟักทอง แตกราน เคลือบน้ำเคลือบสีเขียว มีฐานเป็นเชิงกลมเตี้ย
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระปุกดินเผา
เลขทะเบียน :: 43/0035/2549
ลักษณะ :: ทรงป้านแบบกระปุกตังฉ่าย เคลือบน้ำดินสีดำ แตกรานทั้งใบ ประทับลายบริ-เวณไหล่ภาชนะเป็นช่องสี่เหลี่ยม แบ่งช่องเป็นเส้นแต่ละช่อง คล้ายผลฟักทอง ขอบปากหนา สำหรับใส่ของเหลว
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.ศาลารีไทย อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
ชื่อวัตถุ :: เต้าปูน
เลขทะเบียน :: 43/0092/2547
ลักษณะ :: ทรงกระบอก ก้นตัด ผิวเรียบ ด้านในกลวง สำหรับใส่ปูนกินหมาก
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
ชื่อวัตถุ :: เครื่องมือทำขนมปลากริม
เลขทะเบียน :: 43/0080/2547
ลักษณะ :: คล้ายไม้แผ่นแบน คล้ายไม้พายมีด้ามจับบริเวณใบพายเป็นเจาะเป็นรู
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
ชื่อวัตถุ :: โถมีฝาก้นกลม
เลขทะเบียน :: 43/0050/2554
ลักษณะ :: เครื่องเขินทรงโถก้นกลม ประกอบด้วยส่วนลำตัวและฝา ส่วนลำตัวมีลักษณะเป็นทรงก้นกลม มีขาไม้ทรงขาสิงห์ 6 ขา มาเชื่อมต่อเป็นฐาน บริเวณไหล่มีลักษณะเป็นสันตกแต่งด้วยการขูดขีดลายสัตว์มงคลส่วนฝาตกแต่งด้วยการขูดขีดลายนกยูง
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ปัจจัยไม้รูปวัว
เลขทะเบียน :: 43/0042/2554
ลักษณะ :: แกะสลักเป็นรูปวัว ส่วนหลังมีช่องสำหรับใส่ของ มีฝาเปิดปิดบริเวณคอมีกระดิ่งผูกห้อยคอ
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ตลับ
เลขทะเบียน :: 43/0038/2554
ลักษณะ :: ตลับทรงกลม ส่วนฐานมีลักษณะเป็นขา 4 ขา
ลวดลายพรรณพฤกษาส่วนลำตัวฉลุโปร่งเป็นลายดอกไม้ส่วนฝาเป็นกระจกใสมีบานพับและที่จับสำหรับเปิดปิด
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กรรไกรหนีบหมาก
เลขทะเบียน :: 43/0055/2549
ลักษณะ :: กรรไกรหนีบหมาก ด้านบนของกรรไกรรูปมีด ส่วนด้านล่าง เป็นแผ่น เพื่อรองรับคมมีด ปลายด้ามจับทำเป็นเม็ดมัณฑ์
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กรรบิด
เลขทะเบียน :: 43/0054/2549
ลักษณะ :: ประกอบด้วยคมมีดยาว 2 ด้าน แต่ละด้านมีด้ามจับยาวออกมาเชื่อมต่อกันสำหรับจับและบังคับการใช้งาน
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ปั้นชา
ชื่ออื่น :: ป้านชา, เต้ป๋าน
เลขทะเบียน :: 43/0030/2549
ลักษณะ :: เคลือบน้ำดินสีน้ำตาลทั้งใบ มีฝาหู และพวยเหมือนกาน้ำชา สันนิษฐานว่าที่เรียกว่าปั้นชานั้นมาจากกิริยา ปั้น เป็นการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นรูปทรง ตามช่างปั้น ปั้นชา ภาคใต้ เรียกว่า เต้ป๋านที่ใต้ฝามีตราประทับของผู้ผลิตเป็นรูปหนู เหนือรูปหนู เขียนว่า "ศก110"
แหล่งที่มาของวัตถุ :: ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ถ้วยขนมถ้วย
เลขทะเบียน :: 43/0140/2547
ลักษณะ :: ก้นลึกและแคบลายดอกไม้แทรกด้วยภาษาจีน
แหล่งที่มาของวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ชื่อวัตถุ :: กระชอนกรองกะทิ
เลขทะเบียน :: 43/0102/2547
ลักษณะ :: ลักษณะป็นวงกลม ตาถี่ มีด้ามจับที่ขอบทั้ง 2 ด้าน
แหล่งที่มาวัตถุ :: ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ย่าม
เลขทะเบียน :: 43/0017/2553
ลักษณะ :: พื้นสีดำ ทอสลับลายทางสีแดง มุมล่างกระเป๋ามีพู่ห้อย
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ย่าม
เลขทะเบียน :: 43/0005/2553
ลักษณะ :: ย่ามของกลุ่มชาติพันธุ์ไทแดง ตัวย่ามสั้น เมื่อเทียบกับสายสะพาย ทำด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีแดง ทอเป็นลวดลายเลขาคณิต สลับลายเส้นทึบสีเหลือง เขียว และขาว ก้นถุงทั้งสองข้างตกแต่งพู่ห้อยสีดำ
ไทแดงชอบมีเครื่องประดับเสื่อผ้า เป็นลูกไม้หรือเป็นลวดลายสีแดง จึงถูกเรียกว่าไทแดง หัตถกรรมทอผ้าถือว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นและเชิดหน้าชูตาของผู้หญิงไทแดง ผู้หญิงไทแดง ได้ใช้กระบวนการทอผ้าเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมอย่างยอดเยี่ยมและเข้มแข็ง หญิงใดที่จะออกไปงานแต่งงานได้จะต้องมีความพร้อมในการทำผลิตภัณฑ์จากผ้าเพื่อเตรียมไว้สำหรับสมมาและนำไปใช้ในครอบครัวใหม่ของเธอ หากไม่สามารถกระทำได้ก็หมายความว่าพวกเธอยังไม่พร้อมที่จะออกเรือน
ในขณะที่ผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า ผู้ชายจะเป็นคนดำเนินในการจักทำเครื่องทอผ้าทุกชนิด โดยเฉพาะกี่ ส่วนใหญ่จะไช้วัตถุดิบในท้องถิ่น โครงกี่จะทำจากไม้ไผ่มากกว่าไม้เนื้อแข็ง
*สมมา คือ ขั้นตอนไหว้ผู้ใหญ่ เนื่องในพิธีสู่ขอ โดย ฝ่ายหญิงจะนำผ้าที่ตนเองทอมา มอบให้กับ พ่อ-แม่ฝ่ายชาย เสมือนการฝากตัวเข้ามาอยู่เป็นครอบครัวเดียวกัน
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ชื่อวัตถุ :: ย่าม
เลขทะเบียน :: 43/0001/2553
ลักษณะ :: ทำด้วยผ้าไหม พื้นสีเขียว ตกแต่งด้วยลายจกทั้ง 2 ด้าน เป็นรูปฟันปลา ด้วยเส้นไหม สีแดง เขียว เหลือง ด้านบนและล่างทำเป็นลวดลายเลขาคณิต กุ๊นขอบสายสะพายด้วยผ้าสีแดง ก้นถุงมุมล่างซ้าย-ขวา ห้อยชายครุยด้วยพู่สีเดียวกับย่าม สำหรับใส่ของใช้ประจำตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก
ชื่อวัตถุ :: แท่นวางของ
เลขทะเบียน :: 43/0037/2554
ลักษณะ :: ลักษณะเป็นแผ่นทองเหลืองทรงกลม ด้านบนทำเป็นช่องกลมสี่ช่องเชื่อมติดกันสำหรับวางแก้วน้ำ ตรงกลางประดับด้วยมุกขนาดใหญ่ ด้านข้างระหว่างช่องกลมประดับด้วยอัญมณี (นิล)และทองเหลืองฉลุลายพรรณพฤกษาทั้งสี่ด้าน ฐานตกแต่งเป็นรูปใบไม้โดยรอบ ตรงกลางฐานแต่ละด้านประดับด้วยมุก ฐานด้านใต้ ขาทำเป็นปุ่ม 3 ปุ่ม
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)
ชื่อวัตถุ :: เหล็กจาร
เลขทะเบียน :: 43/0419/2549
ลักษณะ :: ลักษณะเป็นเหล็กปลายแหลมยาว
แหล่งที่มาข้อมูล :: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก (ฝ่ายวิชาการ)
(จำนวนผู้เข้าชม 838 ครั้ง)