มิติชาติพันธุ์
มิติชาติพันธุ์ นำเสนอเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนที่โดดเด่นทางชาติพันธุ์ ของกลุ่มชาติพันธุ์นำเสนอในลักษณะของปฏิทินชีวิต จำแนกเป็น วัฏฏจักรชีวิต ได้แก่ การเกิด การแต่งงาน การักษาโรค และ การตาย และ ปฎิทินชุมชน อัตลักษณ์ร่วมในชุมชนที่ปรากฏในภาพของเทศกาล ๑๒ เดือน
วิธีการนำเสนอ
๑. ใช้วัตถุพิพิธภัณฑ์ คือ วัตถุชาติพันธุ์ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดิน และ ที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นองค์ประกอบหลักในการนำเสนอ ซึ่งเป็นจุดเด่นของความเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ของกรมศิลปากร และแตกต่างไปจากพิพิธ๓ณฑสถาน หรือ แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
๒. ใช้สื่อที่มีความทันสมัยเพื่อความสะดวกในการรับรู้และเข้าถึงองค์ความรู้ เช่น แผนที่ แผนภูมิ ภาพถ่าย หุ่นจำลอง ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ วิดีทัศน์ ฯลฯ ประกอบในการนำเสนอเพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าชมรู้สึกคล้อยตาม มีปฏิสัมพันธ์ และสามารถจินตนาการได้ ทั้งนี้ สื่อต่าง ๆ นั้น คำนึงถึงการดูแลรักษา การปรับเปลี่ยน และ ความสะดวกในการใช้
๓. วัตถุจัดแสดง และ สื่อต่าง ๆ มีการหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนในช่วงทุก ๑ เดือน (สื่อนำเสนอในปฏิทินแต่ละเดือน) และ ๓ เดือน (กรณีวัตถุจัดแสดง) เพื่อสร้างสีสันและการดึงดูดผู้เข้าชม และที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์วัตถุจัดแสดงที่ส่วนใหญ่เป็นวัตถุประเภทอินทรียวัตถุ
๔. ให้ผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้และเข้าถึงข้อมูลผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (learn by doing )
๕. สร้างสัญลักษณ์ (Branding) ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ในฐานะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ด้านชาติพันธุ์ของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เผยแพร่และนำไปใช้ในการออกแบบและนำเสนอทุกประเภท
(จำนวนผู้เข้าชม 1047 ครั้ง)