เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
แวดินเผา ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
แว
วัสดุ
: ดินเผา
ขนาด
: เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร สูง 1.2 เซนติเมตร
สมัย
: ก่อนประวัติศาสตร์
ลักษณะวัตถุ
: แวดินเผาทรงกลมแบน มีรูตรงกลาง ด้านหนึ่งเรียบ อีกด้านหนึ่งโค้งมน
แว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นฝ้ายเพื่อให้เป็นเส้นด้าย แวที่พบจากแหล่งโบราณคดีส่วนใหญ่ทำมา จากดินเผา มีลักษณะครึ่งวงกลมหรือทรงคล้ายกรวยตัดหรือรูปลูกคิด เจาะรูตรงกลาง แว เป็นอุปกรณ์สำคัญในการปั่นด้าย โดยจะใช้เป็นตัวถ่วงน้ำหนักเส้นใย เพราะแวจะมีรูตรงกลางสำหรับเสียบแกน ปลายอีกด้านของแกนจะพันเข้ากับเส้นใย เมื่อปั่นแกนให้เกิดแรงเหวี่ยงหมุนรอบตัว แรงเหวี่ยงกับน้ำหนักถ่วงของแกนจะทำให้เส้นใยบิดเป็นเกลียวสม่ำเสมอกลายเป็นเส้นด้าย แวดินเผาเป็นโบราณวัตถุที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนและกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี, แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี, แหล่งโบราณคดีบ้ายชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีและแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร เป็นต้น
สำหรับที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 5-10 หรือเมื่อประมาณ 1,500-2,000 ปีมาแล้ว เขาสามแก้วเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีลักษณะเป็นเมืองท่าค้าขายในอดีต ซึ่งพบหลักฐานการติดต่อกับต่างแดนทั้งจากฝั่งตะวันตกและตะวันออก คือ อินเดีย เวียดนาม และจีนตอนใต้นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่แสดงถึงการผลิตลูกปัดหินและแก้ว และพบแวดินเผา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนโบราณเขาสามแก้วสามารถผลิตเสื้อผ้าใช้ได้เองภายในชุมชนแล้ว ซึ่งวิธีการผลิตนั้นอาจจะมาจากความคิดของคนในชุมชนเอง หรืออาจจะมาจากการติดต่อและรับเอาวิธีการผลิตเสื้อผ้ามาจากต่างแดนก็เป็นได้
แหล่งที่พบ
: แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ปัจจุบัน
จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
ที่มาข้อมูล
ระบบทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
(จำนวนผู้เข้าชม 3303 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน