ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี
(เมืองราชบุรี ปี พ.ศ.2500) แหล่งที่มาของภาพ : http://www.skyscrapercity.com/
จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง ” เมืองพระราชาราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่ม แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็น ถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ ใน บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุง ศรีอยุธยา ตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมือง หน้าด่านที่สำคัญ และ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขต ราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ ต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทาง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน
ตราประจำจังหวัดราชบุรี
ตราประจำจังหวัดแต่เดิมเป็นอาร์ม (Arm) วงกลม ใช้สัญลักษณ์รูปน้ำหลากทุ่ง มีภูเขาเป็นฉากหลัง ล้อมรอบด้วยงูใหญ่ ส่วนท้องฟ้าเหนือภูเขานั้นมีตราครุฑซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายของ ทางราชการ กำกับด้วยข้อความว่า “จังหวัดราชบุรี” ที่ตอนล่างภายในกรอบอาร์ม หมายความถึง “เขางู” อันเป็นสถานที่สำคัญและรู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวราชบุรีเองและ ชาวจังหวัดใกล้เคียง
ตราประจำจังหวัดดังกล่าวเริ่มปรากฏใช้ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นคราวเดียวกับที่กระทรวงศึกษาธิการได้ฟื้นฟูกิจการลูก เสือแห่งชาติโดยขอความร่วมมือให้แต่ละจังหวัดกำหนดตราสัญลักษณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสำหรับติดผ้าพันคอแสดงภูมิลำเนาของกองลูกเสือซึ่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นๆ
จังหวัดราชบุรีได้ใช้สัญลักษณ์ “เขางู” เป็นตราประจำจังหวัดตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ จึงเห็นว่า “เขางู” นั้นสื่อความหมายไปในแง่ของโบราณสถาน มิได้มีความหมายเกี่ยวพันกับชื่อของ จังหวัดว่า “ราชบุรี”(บาลี,ราช + ปรุ หมายถึง เมืองแห่งพระราชา) แต่ประการใดจึงเป็นการสมควรที่จะกำหนดสัญลักษณ์ประจำจังหวัดแทนตราเดิมที่ ใช้อยู่ โดยได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ไปยังกรมการปกครองขอให้กรมศิลปากรพิจารณาออก แบบให้ต่อไป
ตราประจำจังหวัดราชบุรี (ปัจจุบัน)
สำหรับดวง ตราใหม่นั้นทางกรมศิลปากรได้มอบหมายให้งานศิลปประยุกต์กองหัตถศิลปะ (ปัจจุบันเป็นสถาบันศิลปกรรม) โดยนายพินิจ สุวรรณบุณย์ เป็นผู้คิดค้นออกแบบ ลักษณะของดวงตราเป็นอาร์มวงกลมใช้สัญลักษณ์รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระมหา กษัตริย์ ๒ สิ่งคือ พระแสงขรรค์ชัยศรีประดิษฐานอยู่บนบันไดแก้ว และฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรองขอบอาร์มเป็นลายชื่อกนกประกอบพื้น ช่องไฟใช้สีตามความเหมาะสมสวยงามด้านศิลปะ ทั้งนี้ได้แนวความคิดมาจากหลักฐาน “รูปฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรอง” ที่ปรากฏบนผืนธงซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้แก่กองเสือป่ามณฑลราชบุรี เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗ ซึ่งปัจจุบันธงข้างต้นเก็บรักษาไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเบญจมราชู ทิศ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
จังหวัดราชบุรีโดยสภาจังหวัดได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์ ใหม่นี้เป็นตราประจำจังหวัดเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๙ เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบันนี้
*ที่มา : http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi1/the-brand-is-provincial.html
ความหมายของตราประจำจังหวัดราชบุรี
เครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ
1. ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง
2. ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่ เพราะชื่อจังหวัดราชบุรี มีความหมายว่า เมืองของพระราชา
ธงประจำกองลูกเสือมณฑลราชบุรี
มณฑลราชบุรี พื้นธงสีน้ำเงินแก่ กลางธงมีรูปรองพระบาทวางบนพานทอง เพื่อให้ลูกเสือทุกคนระลึกว่า มณฑลนี้เป็นมณฑลสำคัญทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับมณฑลปราจีนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และลูกเสือทุกคนก็มีความจงรักภักดีเพื่อทำการฉลองพระเดชพระคุณ จึงพระราชทานเครื่องหมายนี้เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ ธงนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ เนื่องในการเสด็จทอดพระเนตรการประลองยุทธเสือป่าและลูกเสือ
คำขวัญจังหวัดราชบุรี
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
ที่มาของคำขวัญ
คำขวัญจังหวัดราชบุรีนี้เริ่มใช้เมื่อจังหวัดราชบุรีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5 และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี พ.ศ. 2532 ซึ่งในความหมายของคำขวัญนั้นสามารถนำมากล่าวได้ดังนี้
คนสวยโพธาราม
สันนิษฐานว่าคงมีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวในคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยคทางชลมารคครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2431แล้วได้ประทับพักร้อนบนพลับพลาและเสด็จประพาสตลาดโพธาราม ซึ่งราษฎรทั้งชาวไทย จีน มอญ และลาวเฝ้ารับเสด็จด้วยเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับสวยงสมจนมีพระราชดำรัสชมว่า “คนโพธารามนี้สวย” หรืออีกนัยหนึ่งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ พระราชดำเนินนำกองเสือป่าไปซ้อมรบที่ค่ายหลวงบ้านไร่อำเภอโพธาราม ได้มีราษฎรชาวโพธารามรับเสด็จถวายการรับใช้อย่างใกล้ขิด จึงมีพระราชดำรัสชมว่า “คนสวยโพธารามสวยมีน้ำใจดี”
ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
คนงามบ้านโป่ง
สันนิษฐาน ว่าคงมีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยคทางชลมารคครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2431 ขณะพระราชดำเนินถึงบ้านโป่งนายอำเภอนำราษฎรไปเฝ้ารอรับเสด็จเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จขึ้นฝั่งทรงเห็นราษฎรที่มาเฝ้าแต่งกายเรียบร้อบและหมอบกราบกัน อย่างพร้อมเพรียงสวยงามจึงมีพระราชดำรัสชมว่า”คนบ้านโป่งนี้งาม” ทั้งนี้คำขวัญที่ว่า “คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง” นั้นเป็นคำขวัญที่บ่งบอกถึงจริยธรรมอันดีงามของชาวโพธารามและชาวบ้านโป่งที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีอันดีงาม พูดจาไพเราะ และงามพร้อมด้วยกิริยามารยาท
เมืองโอ่งมังกร
ที่มามาจากการที่ราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิต เครื่องเคลือบดินเผาที่มีคุณภาพโดยเฉพาะโอ่งมังกรซึ่งมีประวัติการผลิตที่ ยาวนานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน
วัดขนอนหนังใหญ่
มีที่มาจากการที่หนังใหญ่วัดขนอน ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม นับเป็นหนังใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีการสืบทอดกัน มายาวนานนับเป็นร้อยปีและมีการอนุรักษ์กันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ตลอดจนเป็นหนังใหญ่ที่หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่คณะในประเทศไทยที่ยังคงมีการ สืบทอดอยู่ในปัจจุบัน
ตื่นใจถ้ำงาม
มีถ้ำที่งดงามมาก ๆ อยู่หลายแห่ง แต่ที่ขึ้นชื่อคือถ้ำเขาบิน และถ้ำจอมพล
ตลาดน้ำดำเนิน
ตลาด น้ำดำเนินสะดวก หรือ ตลาดน้ำคลองลัดพลี ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวกไปประมาณ 400 ม. เป็นตลาดค้าขายทางน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตไทยดั้งเดิมไว้ มีสิ่งของให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตร
เพลินค้างคาวร้อยล้าน
ค้างคาวเขาช่องพราน เวลาเย็นที่ค้างคาวจะบินออกจากถ้ำมาให้ชม นับจำนวนไม่ได้ ใช้เวลาบินออกจากถ้ำเป็นชั่วโมงกว่าจะหมด ประมาณกันว่ามีจำนวนเป็นร้อยล้านตัว
ย่านยี่สกปลาดี
ปลายี่สก เป็นปลาที่ขึ้นชื่อของลุ่มน้ำแม่กลอง แต่ว่ากันว่ารสชาติของปลาจะดีที่สุดเมื่อมาเจริญเติบโตในแถบจังหวัดราชบุรี
*ที่มา : http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi1/province%20slogan.html
ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
ดอกกัลปพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ราชบุรีชื่อดอกไม้ : ดอกกัลปพฤกษ์
ชื่อสามัญ : Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia bakeriana Craib.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น : กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี) “เปลือกกวม”
ลักษณะทั่วไป : กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก ใบย่อย 5–8 คู่ ใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว ใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู แล้วซีดจนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลเป็นฝักกลมยาวมีขนนุ่ม สีเทา เมล็ด จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิด : ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม
ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tometosa Roem.& Schuly
ชื่อสามัญ : Ivory, Darabela วงศ์ APOCYNACEAE หรือ วงศ์ลั่นทม
ถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไป
ประเภท : ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ
- ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 8-20 เมตร ต้นปลายตรง เปลือกขาวหรือเท่าอ่อนนิ่ม
- ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน มีมากด้านท้องใบ ยาว 7-18 ซม.
- ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีขาวอมเหลือง จนถึงม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง เมื่อแก่เต็มที่ดอกบานเกสรเพศมี 5อัน ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม
- ผล ผลเป็นฝัก ยาว 9-35 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวของฝัก เมื่อแก่จะแตกตามแนวร่อง ผิวฝักแข็งขรุขระผลแก่ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมเมล็ด เมล็ดรูปรี ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ปลิวไปตามลมได้ไกล
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด พบในป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไปตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตร
ประโยชน์ :
- เนื้อ ไม้สีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดมากเหนียว ใช้ทำเครื่องกลึง เครื่องเล่นสำหรับเด็กเครื่องเขียน ตะเกียบ ไม้บุผนังห้อง
- เปลือก ต้น รักษาโรคไต รักษาธาตุให้ปกติ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อรำมะนาด คุดทะราด ยางจากต้น แก้บิดมูกเลือด
- ใบ ขับน้ำเหลือง แก้ท้องมาน ดอกเป็นยาระบาย กระพี้แก้ดีพิการ เนื้อไม้สีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดเหนียว ใช้แกะสลัก
- ดอก เป็นยาระบาย
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.rb-update.com/ประวัติจังหวัดราชบุรี/ , https://sites.google.com/site/canghwadrachburikhxngrea/prawati-canghwad-rachburi
(จำนวนผู้เข้าชม 46992 ครั้ง)