วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๒๔๖ เป็นวันที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์
และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏอย่างชัดเจน จึงกำหนด วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันมวยไทย
การฝึกมวยไทย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย ๙ อย่าง หรือ นวอาวุธ ได้แก่ มือ ๒ / เท้า ๒ / เข่า ๒ / ศอก ๒ และศีรษะ ๑ และจะต้องหมั่นฝึก หมั่นซ้อม และจดจำลูกไม้ แม่ไม้
เพื่อเป็นบ่อเกิดของปฏิภาณไหวพริบในเวลาต่อสู้ ดังเคล็ดลับของมวยที่สำคัญว่า “จงรวดเร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม อย่าให้ฝ่ายตรงข้ามเร็วกว่าเราเป็นอันขาด”
เรียบเรียงโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
แหล่งอ้างอิง :
กรมดุริยางค์ทหารบก. พระเจ้าเสือ – กรมดุริยางค์ทหารบก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗, จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ur6IgJVxg-8, ๒๕๖๖.
ปฏิพัทธ์ ดาระดาษ. ตำรามวยตำรับพระเจ้าเสือ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗, จาก https://www.sanook.com/news/9074278/, ๒๕๖๖.
ปิ่น บุตรี. ตามรอย “พรหมลิขิต” ไหว้พระเจ้าเสือ เที่ยววัดโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗,
จาก https://mgronline.com/travel/detail/9660000094319, ๒๕๖๖.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. พระนคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๐๕.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๐.
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สมุดไทยดำ ตำราชกมวย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗, จาก http://valuablebook2.tkpark.or.th/bookindex_muaythai.html.
THAI FIGHT OFFICIAL. สืบสาน รักษา ต่อยอด EP.8 | มวยตำรับพระเจ้าเสือ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๗,
จาก https://www.youtube.com/watch?v=j-cJFGEUOzY, ๒๕๖๓.
(จำนวนผู้เข้าชม 5652 ครั้ง)