...

องค์ความรู้ : ภาพยนตร์ไทยในเลนส์คนต่างชาติ เรื่อง ข้าวแห่งแผ่นดินไทย (Thailand Land of Rice)

ในสมัยโบราณข้าวมีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตแห่งชีวิตของคนไทยและผูกพันกันมานาน ในอดีตการทำนาข้าวได้ใช้แรงงานสัตว์ไม่ว่าจะเป็นวัวหรือควายในการไถนา และการใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ข้าวจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริโภค หรือการแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น เสื้อผ้า ยารักษาโรค หรืออาหารประเภทอื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ข้าวที่ผลิตจากประเทศไทยเป็นข้าวที่คุณภาพและมีความหลากหลายและเป็นที่สนใจอย่างมากจากชาวต่างชาติ จนเป็นที่มาของชาวต่างชาติมีความสนใจกระบวนการปลูกข้าว และได้ดำเนินการผลิตในปี ๒๕๐๐ เรื่อง Thailand Land of Rice  โดย Encyclopedia Britannica Films ความยาว ๑๓ นาที มีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนการสอนมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับข้าวของประเทศไทย

เรื่องราวของภาพยนตร์ในช่วงแรกและนำเสนอถึงภาพข้อมูลพื้นฐานของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ถนน ความเป็นอยู่ ความเชื่อ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของผู้คนในสมัยก่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาและเรียนรู้สังคมไทย หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้ดำเนินเรื่องราวเกี่ยวกับการเล่าถึงเรื่องวิถีชีวิตของชาวนาครอบครัวหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นพ่อ แม่ ลูก ในการปลูกข้าวเริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน เปิดหน้าดิน  ย่อยดิน โดยใช้แรงงานสัตว์เป็นหลัก สำหรับการดำนา และเกี่ยวข้าว จะใช้แรงงานของคนของครอบครัวนี้เป็นหลักต่อมาได้ทำการขนส่งข้าวขึ้นเรือสินค้า เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงทำให้เห็นได้ว่าในสมัยก่อนข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ และสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวนาสามารถนำไปข้าวไปแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัย หรือวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นประเทศไทย ยังไม่สามารถผลิตเครื่องจักรดังกล่าวได้

ข้าวจึงเป็นอาหารหลักและมีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะข้าวที่ผลิตจากประเทศไทยเป็นข้าวที่มีราคาสูง เนื่องจากเป็นข้าวมีคุณภาพและรสชาติเป็นที่ถูกปากของชาวต่างชาติอย่างมากในหลายประเทศ

เรียบเรียงและรวบรวมโดย : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่

แหล่งอ้างอิง :

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน).  Thailand Land of rice 1957.  [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕, จาก https://www.youtube.com/watch?v=K8JKPVPBQSg, ๒๕๖๓.

(จำนวนผู้เข้าชม 634 ครั้ง)


Messenger