...

สริทภังค / ตฏากะ : ข้อมูลจากจารึกเกี่ยวกับการจัดการน้ำในพื้นที่ของปราสาทสด๊กก๊อกธม
สริทภังค / ตฏากะ : ข้อมูลจากจารึกเกี่ยวกับการจัดการน้ำในพื้นที่ของปราสาทสด๊กก๊อกธม
.
.
จารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ 2 พบคำศัพท์ภาษาสันสกฤต 2 คำ ที่กล่าวเกี่ยวกับการจัดการน้ำของอาณาจักรเขมรโบราณได้แก่
1.สริทฺภงฺค ( อ่านว่า สะ-ริด-พัง-คะ ) หมายถึงทำนบกั้นน้ำ หรือคันบังคับน้ำ
2.ตฏากะ ( อ่านว่า ตะ - ตา - กะ ) หมายถึง สระน้ำ
จากคำที่ปรากฏในจารึกหลักที่ 2 นั้นแสดงถึงในอดีตมีการจัดการน้ำในบริเวณพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ในการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด โดยแบ่งเป็น พื้นที่สระน้ำใช้ในเชิงสัญลักษณ์ตามความเชื่อทางศาสนาฮินดู พื้นที่เก็บน้ำสำหรับใช้อุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และพื้นที่รับน้ำเพื่อไม่ให้ไหลเข้าท่วมปราสาท
ปราสาทสด๊กก๊อกธมปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับน้ำดังนี้
1. บารายขนาดใหญ่ทิศตะวันออก อยู่ด้านหน้าปราสาท
2. บารายเล็กทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท ติดกับฉนวนทางเดิน
3. สระน้ำรูปปีกกาล้อมรอบระเบียงคตและปราสาทประธาน เป็นสระน้ำเชิงสัญลักษณ์
4. ละลม คันดินรูปตัวแอล (L) อยู่ด้านทิศเหนือของปราสาท
รู้หรือไม่ว่า
การสร้างบารายของปราสาทสด๊กก๊อกธมนั้น ไม่ได้ใช้วิธีการขุดลึกลงไปในดิน แต่ใช้การขูดหน้าดินตื้นๆ มาสร้างคันดินสำหรับกักเก็บน้ำ
Ref
กรมศิลปากร. (2565). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. หน้า 228 – 231
Utilization of Ancient Water Management Systems [TH].pdf. Access 9 january 2024.

(จำนวนผู้เข้าชม 59 ครั้ง)