ทิคฺคช หรือ ช้างประจำทิศ

     เล่าเรื่องประติมานวิทยา: ทิคฺคช หรือ ช้างประจำทิศ

     ทิคฺคช หรือ ช้างประจำทิศ มี ๒ คติ คติแรกกล่าวว่า มีช้าง ๔ ตัว แบกแผ่นดินอยู่ใต้พื้นโลก ประจำอยู่ในทิศหลัก ๔ ทิศ พบกล่าวถึงในมหากาพย์รามายณะ และอีกคติหนึ่งกล่าวว่า มีช้าง ๘ ช้าง อยู่ประจำทิศทั้ง ๘ พร้อมนางช้างพัง ๘ ช้าง เป็นช้างสวรรค์ ซึ่งได้ความเป็นทิพย์ มีกำลัง มีความสุกสว่างรุ่งเรือง มีปีกเที่ยวไปยังรมณียสถานต่าง ๆ เกิดลูกหลานเป็นช้างในโลกมนุษย์สืบมา ปรากฏเรื่องราวอยู่ในตำราคชศาสตร์ และมหากาพย์มหาภารตะ ในสมัยปุราณะยังกล่าวว่าช้างทั้ง ๘ เป็นพาหนะของเทพประจำทิศอันคอยปกปักษ์รักษาโลกด้วย ไทยเราเรียกว่า ช้างอัฐทิศ เชื่อว่าเป็นช้างประจำล้อมรอบทิศทั้ง ๘ แห่งเขาพระสุเมรุ สะท้อนออกในการสร้างศิลปสถาปัตยกรรม เช่น เจดีย์ช้างล้อม และเขาพระสุเมรุจำลองในการพิธีลบศักราช สมัยอยุธยา เป็นต้น

 

โดยนางสาวเด่นดาว  ศิลปานนท์

ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ กรมศิลปากร

 






(จำนวนผู้เข้าชม 1869 ครั้ง)