โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศเหนือ
ชื่อโบราณสถาน วัดตะพังป่าน
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณประตูศาลหลวงและชิดกับกำแพง เมืองชั้นนอก ริมถนนพระร่วง ๒ ด้านทิศตะวันออก ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๒ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๒๒ ลิปดา ๔๒ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นกลุ่มโบราณสถาน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีคูล้อมรอบ ในพื้นที่กว้าง ประมาณ ๑๕๐ เมตร ยาว ๓๕๐ เมตร กลุ่มโบราณสถานประกอบด้วย
๑. เจดีย์ทรงลังกา ๑ องค์ ไม่มีองค์ระฆัง ขนาดฐานประมาณ ๖x๖ เมตร เป็นเจดีย์หลักของวัดที่ตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร
๒. ฐานวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐและเสาทำด้วยศิลาแลงกลมตั้งซ้อนกันขึ้นไป ตั้งอยู่บริเวณเกือบกึ่งกลางของพื้นที่
๓. เจดีย์รายขนาดเล็ก ๑ องค์
๔. สระน้ำ ๑ สระ อยู่บริเวณหน้าทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของวิหารกว้างประมาณ ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร
๕. พระอุโบสถเป็นเนินโบราณสถานที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะ อยู่ทางทิศตะวันออกของวิหาร มีแนวฐานเรียงอิฐและเสาศิลาแลงกลมเห็นได้อย่างชัดเจน
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดตะพังป่านในเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ โบราณสถานส่วนใหญ่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ยกเว้นพระอุโบสถยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ
ชื่อโบราณสถาน วัดแม่โจน
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ติดประตูศาลหลวง และริมถนนพระร่วง ๒ ด้านฝั่งตะวันตก หรือริมฝั่งแม่โจน ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๒๗ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๒๐ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถาน จำนวน ๒ เนินติดกัน เนินแรกอยู่ใกล้กับถนนพระ ร่วง ๒ ขนาดเส้นผ่านศูนย์ประมาณ ๑๕ เมตร มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐ ส่วนเนินที่สองเป็นเนินก่ออิฐขนาดเล็กกว่าเนินแรกเล็กน้อย ไม่ทราบรูปร่าง ที่แน่นอน
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านศิลาจารึกและเอกสาร
ข้อสังเกตทั่วไป จากการขุดแต่งเรียกวัดนี้ว่า โบราณสถานวัดร้าง (N.11) หลักฐานที่ได้จาก การขุดแต่งทำให้ทราบว่า วัดแม่โจนเป็นวัดขนาดเล็กสร้างในสมัยสุโขทัย ตอนกลาง และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยต่อๆ มา
การดำเนินการ ขุดแต่งและบูรณะ พ.ศ. ๒๕๒๗
ชื่อโบราณสถาน วัดหนองปรือ
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือริมแม่โจนและวัดพระ พายหลวง ด้านทิศใต้ ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๓ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๕ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถาน ประกอบด้วย
๑. เนินฐานวิหารก่ออิฐ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ เมตร
๒. เนินฐานเจดีย์ก่ออิฐขนาดเล็ก ๓ องค์ ตั้งอยู่ใกล้ๆ ฐานวิหาร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
ข้อสังเกตทั่วไป จากการขุดแต่งพบว่าเป็นฐานวิหารขนาดเล็ก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัย สุโขทัยตอนกลาง ในการขุดแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๗ เรียกวัดนี้ว่า โบราณสถานวัด ร้าง (N.1)
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒
ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ขุดแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๗
ชื่อโบราณสถาน วัดเนินร่อนทอง
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ริมแม่โจนหรือบริเวณที่เรียกว่า
เนินร่อนทอง ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๘ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ ไม่ทราบรูปร่างที่แน่นอน
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
ข้อสังเกตทั่วไป จากการขุดแต่งพบว่าวัดเนินร่อนทอง มีโบราณสถาน ๒ กลุ่ม ที่สร้างต่าง ระดับกันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ห่างกันประมาณ ๒๐ เมตร ดังนั้นใน การดำเนินการขุดแต่ง จึงกำหนดชื่อเรียกเป็นโบราณสถานวัดร้าง (N.2) และโบราณสถานวัดร้าง (N.3)
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ. ๒๕๒๗
ชื่อโบราณสถาน วัดศรีชุม
ที่ตั้ง อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกำแพงเมือง ห่างจากมุมกำแพงเมือง ไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๒ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๑ ลิปดา ๔๕ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีคูน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้าน โดยพื้นที่นี้กว้างประมาณ ๑๐๐ เมตร และยาว ๑๕๐ เมตร โบราณสถาน เหล่านี้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้
๑. มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง ๓๒ เมตร สูง ๑๕ เมตร ผนังหนา ๓ เมตร มีพระพุทธรูปปูนปั้นแบบมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๑.๓๐ เมตร มณฑปนี้ตรงประตูทางเข้าเจาะเป็นช่องสูง ผนังด้านซ้ายมีทางเดินเข้าไปภายในผนังและขึ้นไปได้จนถึงหลังคา บนเพดานผนังทางเข้านี้ มีภาพสลักอยู่บนหินชนวน ๕๐ กว่าภาพ ทุกภาพมีอักษรไทยสมัยสุโขทัยโบราณบรรยาย
๒. ฐานวิหาร ๖ ห้อง ขนาดกว้าง ๑๒.๕๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร มีผนังก่อด้วยอิฐเจาะช่องเป็นรูปกากบาท ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของมณฑป
๓. วิหารอยู่ทางทิศเหนือของมณฑป ก่อด้วยอิฐขนาดกว้าง ๙.๕๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร
๔. มณฑปขนาดเล็กก่อด้วยอิฐ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปกว้าง ยาว ด้านละ ๙.๕๐ เมตร อยู่ทางด้านหลังวิหารเล็กหรือทางทิศเหนือของมณฑปใหญ่
๕. เจดีย์รายจำนวน ๙ องค์ ตั้งอยู่ด้านข้างวิหารใหญ่ และมณฑปใหญ่ด้านทิศเหนือ
๖. พระอุโบสถอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑปใหญ่และอยู่นอกคูน้ำที่ล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่
๗. ศาลาฤๅษีอยู่นอกคูน้ำทางทิศใต้ของกลุ่มโบราณสถานใหญ่
๘. สระน้ำ ๓ สระ สระแรกอยู่ภายในแนวคูน้ำล้อมรอบโบราณสถานโดยอยู่ด้านทิศเหนือติดกับวิหารและมณฑปเล็ก สระที่สองอยู่ด้านนอกคูหาน้ำทางทิศใต้โดยอยู่ติดกับศาลาพระฤๅษี สระที่สามอยู่ทางทิศตะวันตกนอกคูน้ำ
๙. คูน้ำล้อมรอบวัด มีขนาดกว้างโดยประมาณ ๖ เมตร ล้อมรอบพื้นที่ที่ตั้งโบราณสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดพื้นที่กว้าง ๑๐๐ เมตร และยาว ๑๕๐ เมตร
ประวัติ วัดศรีชุมเป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานใน ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช ๑๘๓๕ กล่าวไว้ว่า
“เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาทมีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง”
พระอจนะ ในที่นี้คงหมายถึง พระพุทธรูปในมณฑปวัดศรีชุมนั่นเอง นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานจากศิลาจารึกวัดศรีชุมประมาณพุทธศักราช ๑๘๘๔-๑๙๑๐ ด้าน ๒ บรรทัดที่ ๓๙-๔๒ ความว่า
“พระเจดีย์สูงใหญ่ รอบนั้นฉลักหินห้าร้อยชาติติรเทศงามพิจิตรนักหนาแก่กม ตุรกมล้างเอาทองตรธานสมเด็จพระมหาสามี จากแต่สีหลมา เอาฝูง…แบกอิฐแต่ต่ำขึ้นไปกระทำพระเก้าท่านคืนบริบวรณด้วยศรัทธา”
นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) ว่า เมื่อพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นมาปราบกบฏเมืองสวรรคโลก ในปี พ.ศ. ๒๑๒๘ นั้น ก่อนจะยกไปเมืองสวรรคโลกได้แวะพักพลที่ตำบลฤๅษีชุม เมืองสุโขทัย เข้าใจว่าคือที่วัดศรีชุมแห่งนี้นี่เอง
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒
ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๖
๓. บูรณะมณฑปเพิ่มเติมอีกครั้ง พ.ศ. ๒๕๑๐
(จำนวนผู้เข้าชม 2548 ครั้ง)