โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศตะวันออก
ชื่อโบราณสถาน วัดตระพังช้าง
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณห่างจากมุมกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก เฉียงเหนือประมาณ ๓๐๐ เมตร และฝั่งตะวันออกของห้วยแม่ลำพันบริเวณที่เป็นคันดินยกพื้นสูง ที่เรียกว่าคันน้ำอ่างเก็บน้ำโบราณหมาย เลข ๒ ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๕ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๒ ลิปดา ๕๙ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถาน ไม่ทราบรูปร่าง มีแนวก่ออิฐและร่องรอยของชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคา เนินโบราณสถานแห่งนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐ เมตร ทางทิศตะวันออกของโบราณสถาน มีสระน้ำใหญ่ขนาดกว้าง ๕๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร อยู่ เรียกว่า ตะพังช้าง เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานกลุ่มนี้
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ขุดแต่ง พ.ศ.2556
ชื่อโบราณสถาน วัดโบสถ์
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านทิศตะวันออก โดยอยู่ห่างจากมุมกำแพงเมืองด้าน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และอยู่ในเขต อ่างเก็บน้ำโบราณหมายเลข ๒ ใกล้กับคันดินกั้นน้ำ บริเวณมุมอ่างเก็บน้ำด้านทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ ในเขตตำบลเมืองนา อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๓ ลิปดา ๓๐ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานที่อยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำโบราณ โดยมีร่องรอยแนวศิลาแลงเป็นผนังกั้นดินอยู่โดยรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพื้นที่กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร บนเนินดินเป็นซากโบรานสถานยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ มีร่องร่อยของการเรียงอิฐ และเสาศิลาแลงกลม ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นอุโบสถกลางน้ำ ตามชื่อที่เรียก
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ยังไม่ได้มีการขุดแต่งและบูรณะ
ชื่อโบราณสถาน วัดปากท่อ
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองเก่าสุโขทัยด้านทิศตะวันออก โดยห่างจากมุมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ออกมาทางทิศตะวันออกประมาณ ๑.๖ กิโลเมตร และอยู่ติดกับมุมด้านนอกของอ่างเก็บน้ำโบราณหมายเลข ๒ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยห่างประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๒๘ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๓ ลิปดา ๑ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถาน ไม่ทราบรูปร่าง มีร่องรอยของแนวอิฐและเสาศิลาแลงกลมปรากฏอยู่ เส้นผ่าศูนย์กลางของโบราณสถานนี้ประมาณ ๒๗ เมตร โบราณสถานนี้มีร่องรอยของคูน้ำล้อมรอบบริเวณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร คูน้ำตื้นเขินไปมากแล้ว ขนาดความกว้างของคูประมาณ ๗-๘ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ขุดแต่ง พ.ศ.2556
ชื่อโบราณสถาน วัดอีฝ้าย
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก โดยอยู่ห่างจากประตูกำแพงหักไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๖๐๐ เมตร และอยู่ห่างจากวัดหญ้ากร่อนไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๕๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๒๐ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๓ ลิปดา ๐ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย -
ลักษณะและสภาพ เป็นเนินโบราณสถานมีแนวเรียงอิฐและเสาศิลาแลงกลม ไม่ทราบรูปร่างแน่ชัด มีขนาดของเนินดินกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ขุดแต่ง พ.ศ. 2555
ชื่อโบราณสถาน วัดหญ้ากร่อน
ที่ตั้ง อยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก โดยอยู่ห่างจากประตูกำแพงหักไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๔๐๐ เมตร และอยู่ห่างจากห้วยแม่ลำพันไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๕๐ เมตร ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
พิกัดทางภูมิศาสตร์ รุ้ง ๑๗ องศา ๑ ลิปดา ๑๕ พิลิปดาเหนือ
แวง ๙๙ องศา ๔๓ ลิปดา ๐ พิลิปดาตะวันออก
อายุสมัย สุโขทัย
ลักษณะและสภาพ เป็นกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ที่โดยรอบเนินที่ตั้งมีคูน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๔ ด้าน กลุ่มโบราณสถานวัดหญ้ากร่อนนี้ประกอบด้วย โบราณสถานดังต่อไปนี้
๑. ฐานวิหาร ๕ ห้อง ก่ออิฐ และมีเสาทำด้วยศิลาแลงกลม ขนาดกว้างประมาณ ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ตั้งอยู่กลางเนิน
๒. ฐานเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ขนาด ๑๒ x ๑๒ เมตร ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ด้านหลัง หรือทิศตะวันตกของวิหาร
๓. ฐานเจดีย์รายก่ออิฐ จำนวน ๔ องค์ ตั้งอยู่เรียงรายทั่วไป
๔. ฐานวิหารเล็กก่ออิฐ เสาทำด้วยศิลาแลง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตร ตั้งอยู่ระหว่างกลางของวิหาร ๕ ห้อง กับเจดีย์ประธานทรงกลม
๕. ฐานศาลาก่ออิฐ ทำด้วยศิลาแลงกลม ขนาด ๔ เมตร ยาว ๕ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารใหญ่
๖. คูน้ำที่ล้อมรอบกลุ่มโบราณสถานทั้งหมดไว้มีขนาดกว้างประมาณ ๖ เมตร ล้อมรอบพื้นที่ที่ตั้งโบราณสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร
ประวัติ ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก
การดำเนินการ ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘
๒. ขุดแต่งและบูรณะ พ.ศ. ๒๕๑๕
(จำนวนผู้เข้าชม 1449 ครั้ง)