...

โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศตะวันตก

โบราณสถานนอกกำแพงเมืองทิศตะวันตก

ชื่อโบราณสถาน                                        วัดนครชุม

ที่ตั้ง                                               อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและอยู่ห่างจาก       ประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร หรือ                        ห่างจากวัดศรีชุมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร                                                           ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิกัดทางภูมิศาสตร์             รุ้ง  ๑๗  องศา  ๒  ลิปดา  ๓  พิลิปดาเหนือ                                           แวง  ๙๙  องศา  ๔๐  ลิปดา  ๔๔  พิลิปดาตะวันออก

อายุสมัย                        สุโขทัย

ลักษณะและสภาพ             เป็นเนินโบราณสถานที่มีคูน้ำล้อมรอบอยู่ทั้งสี่ด้าน  ลักษณะของเนิน         โบราณสถานยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ  มีร่องรอยของการก่ออิฐและศิลาแลง     ที่ถูกปกคลุมด้วยดิน วัชพืชและต้นไม้โดยทั่วไป  มีลักษณะคล้ายฐานเจดีย์        และ                                   วิหาร  ปัจจุบันถูกขุดทำลายเสียหายเป็นอันมาก  มีรูปร่างที่ไม่ชัดเจน       พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งกลุ่มเนินโบราณสถาน  มีขนาดกว้าง                                     ประมาณ ๒๐ เมตร ยาว ๓๕ เมตร

                                              คูน้ำที่ล้อมรอบมีอยู่  ๒  ชั้น  คูชั้นนอกล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ  ๕๐  เมตร  ยาว  ๗๐  เมตร  คูชั้นในล้อมรอบกลุ่มเนิน                     โบราณสถานในพื้นที่กว้างประมาณ  ๒๐  เมตร  ยาว  ๔๐  เมตร

ประวัติ                          ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก

การดำเนินการ                 ๑. ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  ๕๒  ตอนที่  ๗๕                       วันที่  ๘  มีนาคม  ๒๔๗๘

                                  ๒. ขุดแต่ง พ.ศ.2556


ชื่อโบราณสถาน                                        โบราณสถานร้าง ต.ต.๒วัดทับกระสา

ที่ตั้ง                                               อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและอยู่ห่างจาก       ประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑.๑ กิโลเมตร หรือ                        ห่างจากวัดศรีชุมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕๐๐  เมตร                                        ในเขตตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

พิกัดทางภูมิศาสตร์             รุ้ง  ๑๗  องศา  ๑  ลิปดา  ๓๙  พิลิปดาเหนือ                                         แวง  ๙๙  องศา  ๔๑  ลิปดา  ๑๔  พิลิปดาตะวันออก

อายุสมัย                        สุโขทัย

ลักษณะและสภาพ             เป็นเนินโบราณสถาน  ฐานวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง  เสาศิลาแลง             กลมขนาดใหญ่  ขนาดของเนินฐานวิหารที่ปรากฏนั้น  มีความกว้าง                   ประมาณ  ๒๐  เมตร  ยาว  ๓๐  เมตร

                                              ด้านทิศตะวันตกของฐานวิหาร  เป็นเนินโบราณสถานก่ออิฐ               ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๑๐  เมตร  มีลักษณะเป็นฐานเจดีย์แต่ไม่ทราบ                 รูปทรงชัดเจน

                                              กลุ่มโบราณสถานนี้  ตั้งอยู่กลางป่าไผ่  สภาพที่เหลืออยู่                   ไม่สมบูรณ์นัก  เนื่องจากถูกขุดทำลายไปเป็นอันมาก

ประวัติ                          ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก

การดำเนินการ                 ขุดแต่ง  พ.ศ. 2555


ชื่อโบราณสถาน                                        วัดยายชี

ที่ตั้ง                                               อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตก  ติดถนนทางเข้าวัดศรีชุม                 ด้านทิศตะวันตกห่างจากประตูอ้อไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ                               ประมาณ  ๗๐๐  เมตร  หรืออยู่ห่างทางทิศใต้วัดศรีชุมประมาณ  ๖๐๐ เมตร                      โดยอยู่ห่างจากกำแพงเมืองด้านตะวันตกไม่มากนัก  ในเขตตำบลเมืองเก่า             อำเภอเมือง  จังหวัดสุโขทัย

พิกัดทางภูมิศาสตร์             รุ้ง  ๑๗  องศา  ๑  ลิปดา  ๑๓  พิลิปดาเหนือ                                         แวง  ๙๙  องศา  ๔๑  ลิปดา  ๔๕  พิลิปดาตะวันออก

อายุสมัย                        -

ลักษณะและสภาพ             เป็นเนินโบราณสถานร้าง  ที่มีร่องรอยของการก่ออิฐและเสาศิลาแลง                 มีลักษณะเป็นฐานวิหารและเจดีย์  ซึ่งมีเนินดิน  ต้นไม้และวัชพืช        ปกคลุม          โดยทั่วไป  ขนาดของเนินโบราณสถานกว้างโดยประมาณ  ๒๐ เมตร                                                    ยาวประมาณ  ๔๐  เมตร

ประวัติ                          ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก

การดำเนินการ                 ขุดแต่ง  พ.ศ.2555


ชื่อโบราณสถาน                                        วัดสะพานหิน

ที่ตั้ง                                               อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตก  และตั้งอยู่บนยอดภูเขาลูกเตี้ยๆ         สูงประมาณ  ๒๐๐  เมตร  บรเวณอรัญญิก  โดยห่างจากประตูอ้อมาทาง           ทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ  ๒.๓  กิโลเมตร  ในเขตตำบลเมืองเก่า                                                           อำเภอเมือง  จังหวัดสุโขทัย

พิกัดทางภูมิศาสตร์             รุ้ง  ๑๗  องศา  ๑  ลิปดา  ๓๕  พิลิปดาเหนือ                                         แวง  ๙๙  องศา  ๔๐  ลิปดา  ๓๐  พิลิปดาตะวันออก

อายุสมัย                        สุโขทัย

ลักษณะและสภาพ             เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเตี้ย ๆ นอกกำแพงเมืองบริเวณอรัญญิก ทางขึ้นไปวัดที่อยู่บนยอดเขา  เป็นทางเดินปูด้วยหินขึ้นจากด้านทิศตะวันออก       จนถึงบริเวณลานวัดบนภูเขา  บนลานวัดมีกลุ่มโบราณสถานที่ประกอบด้วย                                  สิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้                                                                     ๑. ฐานวิหาร  ๕  ห้อง  ก่ออิฐ เสาทำด้วยศิลาแลง หันหน้าไป                                     ทางทิศตะวันออก  ฐานกว้าง  ๒๐  เมตร  ยาว  ๒๖  เมตร  ภายในวิหาร                         มีพระพุทธรูปปูนปั้นยืน  ปางประทานอภัย  ยกพระหัตถ์ขวา                     สูง ๑๒.๕๐ เมตร  เรียกว่า  พระอัฏฐารศ

                                      ๒. ฐานเจดีย์ขนาดเล็ก  ๖  ฐาน  กระจายทั่วไปบนลานวัด  มีอยู่องค์หนึ่ง       มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  ฐานกว้าง  ๔x๔  เมตร                                     อยู่ตรงเชิงบันไดด้านทิศตะวันออก

                                       ๓. สะพานหิน  ที่เป็นทางขึ้นอยู่ด้านทิศตะวันออก  ทอดยาวจากถนน           เชิงภูเขาจนถึงลานวัด  ปูด้วยหิน  ยาวประมาณ  ๓๐๐ เมตร  นอกจากนี้              ทางด้านทิศเหนือมีทางขึ้นอ้อมเขา  เข้าใจว่าเป็นทางช้างขึ้นอีกด้วย

ประวัติ                          วัดสะพานหินมีประวัติเกี่ยวข้องที่กล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง              พุทธศักราช ๑๘๓๕ ความว่า

                                              “...เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้  มีอไรญิก  พ่อขุนรามคำแหง              กระทำโอยทานแก่มหาเถร  สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตร  หลวกกว่า       ปู่ครู     ในเมืองนี้  ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา  ในกลางอรัญญิก มีพิหาร                           อันณื่งมนใหญ่  สูงงามแก่กม  มีพระอัฏฐารศอันณื่งลุกยืน...”

ข้อสังเกตทั่วไป                 ที่ปรากฏในศิลาจารึกว่า  พระอัฏฐารศ  เข้าใจว่าหมายถึง พระพุทธรูปยืน           ปางประธานอภัยที่วัดสะพานหินนี่เอง และวัดนี้ คงจะมีความสำคัญ และ            เป็นที่นับถือของชาวเมืองสุโขทัยในสมัยโบราณโดยทั่วไป  ดังปรากฏ                                      ข้อความในศิลาจารึกหลักเดียวกันนี้กล่าวว่า

                                              “...วันเดือนดับเดือนเต็ม  ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง  เที้ยร           ย่อมทองงา...ขวา  ชื่อรูจาครี  พ่อขุนรามคำแหง  ขึ้นขี่ไปนบพระ  (เถิง)               อรัญญิกแล้วเข้ามา...”

การดำเนินการ                 ๑. ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม ๕๒                            ตอนที่  ๗๕  วันที่  ๘  มีนาคม  ๒๔๗๘

                                  ๒. บูรณะครั้งแรก  พ.ศ. ๒๔๕๘  โดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก                          ประชานาถ  ได้โปรดให้กำนันชื่อจ้อง  ทำการบูรณะ  โดยการก่อบันได               ยันผนังหลังองค์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ไว้

                                  ๓. ขุดแต่งและบูรณะครั้งแรก  พ.ศ. ๒๔๙๘

                                  ๔. ขุดแต่งและบูรณะต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๘


ชื่อโบราณสถาน                                        วัดจรเข้ร้อง

ที่ตั้ง                                               อยู่นอกกำแพงเมืองบริเวณด้านทิศตะวันตก  และอยู่ห่างจากประตูอ้อ                ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร  ในเขตตำบลเมืองเก่า                  อำเภอเมือง  จังหวัดสุโขทัย

พิกัดทางภูมิศาสตร์             รุ้ง  ๑๗  องศา  ๑  ลิปดา  ๕  พิลิปดาเหนือ                                           แวง  ๙๙  องศา  ๔๑  ลิปดา  ๕  พิลิปดาตะวันออก

อายุสมัย                        สุโขทัย

ลักษณะและสภาพ             เป็นเนินโบราณสถานที่มีร่องรอยการก่ออิฐและศิลาแลง  ตลอดจน          เสาศิลาแลงกลมขนาดใหญ่  มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถาน  ที่ยังไม่ได้                        ขุดแต่งและบูรณะมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป  ลักษณะของเนิน                                          โบราณสถานประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างดังต่อไปนี้  คือ

                                      ๑. เนินฐานวิหาร  ก่ออิฐ  เสาศิลาแลงกลม  ขนาดฐานกว้าง  ๑๕  เมตร                            ยาว  ๒๕  เมตร

                                      ๒. เนินฐานเจดีย์ประธาน  ก่ออิฐ  อยู่ด้านหลังหรือทิศตะวันตกของวิหาร                                                    ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเนินประมาณ  ๑๐  เมตร

                                      ๓. กลุ่มฐานเจดีย์รายขนาดเล็ก  ตั้งกระจายอยู่ด้านหน้าหรือทิศตะวันออก                          ของฐานวิหาร  เป็นเนินดินมีร่องรอยก่ออิฐขนาดต่างๆ กัน ๒-๓ กลุ่ม

ประวัติ                          ไม่ปรากฏหลักฐานทางด้านเอกสารและศิลาจารึก

การดำเนินการ                 ยังไม่ได้มีการขุดแต่งและบูรณ

(จำนวนผู้เข้าชม 1721 ครั้ง)