พรรณไม้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑
พรรณไม้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑
.
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย ถูกพบโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ บริเวณเนินปราสาท โดยพบร่วมกันกับพระแท่นมนังคศิลาบาตร โดยเนื้อความในศิลาจารึกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย คำสรรเสริญยอพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหง และอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไป
นับว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงเห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยในอดีต โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) นอกจากเนื้อความที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วยังปรากฏชื่อของพรรณไม้ในสมัยสุโขทัยอีกด้วย ดังนี้
หมากส้ม หมายถึง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...”
หมากหวาน หมายถึง ผลไม้ที่มีรสหวาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...”
ข้าว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ - ๑๙ ความว่า “…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”
หมาก ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...”
พลู ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...”
มะพร้าว เป็นพืชเขตร้อนที่ให้ประโยชน์แก่สัตว์และมนุษย์แทบทุกส่วน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ ความว่า “…เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาทมีหมากพร้าว...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
หมากลาง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเป็นพืชชนิดใด โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึง ขนุน เป็นคำไทยใหญ่ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียใต้ บริเวณประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ แต่นายพิทูร มลิวัลย์สันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งจำพวกปาล์ม ที่พบอยู่ในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายมะพร้าว ผลมีรสหวานโดยเฉพาะส่วนกาบ ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ – ๓ ความว่า “…ป่าลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
มะม่วง เป็นพรรณพืชที่เกิดในเขตร้อน นักพฤกษศาสตร์เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วง…” ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
มะขาม เป็นไม้เขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ในแถบประเทศซูดาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีป่าขาม ดูงามดังแกล้...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
ต้นตาล ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ - ๑๓ ความว่า “..พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหินตั้งหว่าง กลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนโอก แปดวัน...” และด้านที่ ๓ บรรทัด ๒๔ - ๒๕ ความว่า “…มีในถ้ำรัตนธาร ในกลางป่าตาลมีศาลาสองอัน...”
ปัจจุบัน ต้นไม้ที่ปรากฏภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้นไม้ที่ปลูกขึ้นในช่วงที่มีการดำเนินการพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานของเมืองสุโขทัยไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรม โดยอ้างอิงจากพรรณไม้ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
.
อ้างอิง
กรมศิลปากร. (๒๕๔๗). ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก
http://164.115.27.97/.../fc038bc8986859d9600f3ba9795d9a22...
ประโชติ สังขนุกิจ. (๒๕๖๗). บันทึกสุโขทัย ในวัยสนธยา. พิษณุโลก: โฟกัสมาสเตอร์พริ้นท์.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47
.
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย ถูกพบโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ บริเวณเนินปราสาท โดยพบร่วมกันกับพระแท่นมนังคศิลาบาตร โดยเนื้อความในศิลาจารึกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย คำสรรเสริญยอพระเกียรติของพ่อขุนรามคำแหง และอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไป
นับว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงเห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยในอดีต โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นมรดกความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) นอกจากเนื้อความที่กล่าวถึงข้างต้นแล้วยังปรากฏชื่อของพรรณไม้ในสมัยสุโขทัยอีกด้วย ดังนี้
หมากส้ม หมายถึง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...”
หมากหวาน หมายถึง ผลไม้ที่มีรสหวาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๒ – ๑๓ ความว่า “...เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู...”
ข้าว ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ - ๑๙ ความว่า “…เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”
หมาก ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...”
พลู ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒๓ ความว่า “…ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ ลูกมันสิ้นไพร่ฟ้า...” ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๔ ความว่า “…มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู...”
มะพร้าว เป็นพืชเขตร้อนที่ให้ประโยชน์แก่สัตว์และมนุษย์แทบทุกส่วน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ ความว่า “…เมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาทมีหมากพร้าว...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
หมากลาง ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเป็นพืชชนิดใด โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึง ขนุน เป็นคำไทยใหญ่ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียใต้ บริเวณประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ แต่นายพิทูร มลิวัลย์สันนิษฐานว่า หมากลาง น่าจะหมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งจำพวกปาล์ม ที่พบอยู่ในพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายมะพร้าว ผลมีรสหวานโดยเฉพาะส่วนกาบ ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๒ – ๓ ความว่า “…ป่าลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
มะม่วง เป็นพรรณพืชที่เกิดในเขตร้อน นักพฤกษศาสตร์เชื่อว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วง…” ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
มะขาม เป็นไม้เขตร้อนมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ในแถบประเทศซูดาน ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๓๕ ความว่า “…มีป่าขาม ดูงามดังแกล้...” และด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๕ ความว่า “…มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม...”
ต้นตาล ปรากฏอยู่ในด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ - ๑๓ ความว่า “..พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ช่างฟันขดานหินตั้งหว่าง กลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับเดือนโอก แปดวัน...” และด้านที่ ๓ บรรทัด ๒๔ - ๒๕ ความว่า “…มีในถ้ำรัตนธาร ในกลางป่าตาลมีศาลาสองอัน...”
ปัจจุบัน ต้นไม้ที่ปรากฏภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นต้นไม้ที่ปลูกขึ้นในช่วงที่มีการดำเนินการพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์โบราณสถานของเมืองสุโขทัยไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรม โดยอ้างอิงจากพรรณไม้ที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
.
อ้างอิง
กรมศิลปากร. (๒๕๔๗). ศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก
http://164.115.27.97/.../fc038bc8986859d9600f3ba9795d9a22...
ประโชติ สังขนุกิจ. (๒๕๖๗). บันทึกสุโขทัย ในวัยสนธยา. พิษณุโลก: โฟกัสมาสเตอร์พริ้นท์.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. เข้าถึงเมื่อ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๗. เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47
(จำนวนผู้เข้าชม 2514 ครั้ง)