เสาปริศนาที่วัดป่ามะม่วง
เสาปริศนาที่วัดป่ามะม่วง
.
วัดป่ามะม่วง เป็นโบราณสถานด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย มีการค้นพบศิลาจารึกที่กล่าวถึงวัดแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นที่ป่ามะม่วง เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ ได้มีการอาราธนา ‘มหาสามีสังฆราช’ จากเมืองพัน (มอญ) มาจำพรรษา โดยในเวลาต่อมาพระเถระรูปนี้ได้ทำพิธีบวชให้แก่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ภายในวัดประกอบด้วยอุโบสถ เจดีย์ราย และเจดีย์ประธาน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเสาศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ประธาน ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบการใช้งานที่แน่ชัด แต่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า อาจเป็นเสาประดับรูปหงส์ที่สร้างขึ้นโดยพระเถระชาวมอญจากเมืองพันที่มาจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง
โดยที่มาของเสาหงส์ เกิดจากเรื่องเล่าที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ภายหลังที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๘ ปี พระองค์เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ในแคว้นต่าง ๆ เมื่อเสด็จมาถึงเขาสุทัศนมรังสิต ทางด้านทิศเหนือของสะเทิมได้ทอดพระเนตรเห็นเนินดินกลางทะเล โดยมีหงส์ทอง ๒ ตัวเล่นน้ำอยู่จึงทำนายว่า เนินดินที่หงส์ทั้งสองเล่นน้ำอยู่นั้น จะเป็นมหานครที่ชื่อว่า ‘หงสาวดี’ เป็นที่ตั้งพระธาตุสถูปเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์และพระศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๑,๐๐๐ ปี จากเนินดินที่อยู่กลางทะเลกลายเป็นแผ่นดินใหญ่ พระราชบุตรของพระเจ้าเสนาคงคา นามว่า ‘สมลกุมาร’ และ ‘วิมลกุมาร’ เป็นผู้รวบรวมไพร่พลก่อตั้งเมืองขึ้น แล้วให้ชื่อว่าเมืองหงสาวดี ชาวมอญจึงใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นคนมอญหรือชนชาติมอญจึงมีจิตใจมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนาและมีการประดิษฐานเสาหงส์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การสร้างเสาสูงภายในศาสนสถานก็เคยปรากฏมาแล้วในอินเดีย ยกตัวอย่างเช่นเสาศิลาของพระเจ้าอโศก ที่ปักอยู่ด้านหน้าพุทธสถานและสถานที่สำคัญในพุทธประวัติ เพื่อใช้ในการจารึกพุทธธรรมหรือคำประกาศ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ได้รับความนิยมมากในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ แบบที่ไม่มีธรรมจักรด้านบนและประเภทที่มีธรรมจักรด้านบน โดยธรรมจักรเป็นสิ่งที่แสดงถึงธรรมของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังสื่อถึงความเป็นพระจักรพรรดิราชของพระเจ้าอโศกมหาราชอีกด้วย
.
อ้างอิง
๑. เชษฐ์ ติงสัญชลี. (๒๕๖๓). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี. มิวเซียมเพรส.
๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๖๑). ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
๓. ที่ระลึกงาน ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ. (๒๕๔๙). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
.
วัดป่ามะม่วง เป็นโบราณสถานด้านทิศตะวันตกของเมืองสุโขทัย มีการค้นพบศิลาจารึกที่กล่าวถึงวัดแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นที่ป่ามะม่วง เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๔ ได้มีการอาราธนา ‘มหาสามีสังฆราช’ จากเมืองพัน (มอญ) มาจำพรรษา โดยในเวลาต่อมาพระเถระรูปนี้ได้ทำพิธีบวชให้แก่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ภายในวัดประกอบด้วยอุโบสถ เจดีย์ราย และเจดีย์ประธาน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเสาศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหลังเจดีย์ประธาน ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบการใช้งานที่แน่ชัด แต่นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า อาจเป็นเสาประดับรูปหงส์ที่สร้างขึ้นโดยพระเถระชาวมอญจากเมืองพันที่มาจำพรรษาที่วัดป่ามะม่วง
โดยที่มาของเสาหงส์ เกิดจากเรื่องเล่าที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า ภายหลังที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๘ ปี พระองค์เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ในแคว้นต่าง ๆ เมื่อเสด็จมาถึงเขาสุทัศนมรังสิต ทางด้านทิศเหนือของสะเทิมได้ทอดพระเนตรเห็นเนินดินกลางทะเล โดยมีหงส์ทอง ๒ ตัวเล่นน้ำอยู่จึงทำนายว่า เนินดินที่หงส์ทั้งสองเล่นน้ำอยู่นั้น จะเป็นมหานครที่ชื่อว่า ‘หงสาวดี’ เป็นที่ตั้งพระธาตุสถูปเจดีย์พระศรีมหาโพธิ์และพระศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๑,๐๐๐ ปี จากเนินดินที่อยู่กลางทะเลกลายเป็นแผ่นดินใหญ่ พระราชบุตรของพระเจ้าเสนาคงคา นามว่า ‘สมลกุมาร’ และ ‘วิมลกุมาร’ เป็นผู้รวบรวมไพร่พลก่อตั้งเมืองขึ้น แล้วให้ชื่อว่าเมืองหงสาวดี ชาวมอญจึงใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้นคนมอญหรือชนชาติมอญจึงมีจิตใจมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนาและมีการประดิษฐานเสาหงส์ตามวัดวาอารามต่าง ๆ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การสร้างเสาสูงภายในศาสนสถานก็เคยปรากฏมาแล้วในอินเดีย ยกตัวอย่างเช่นเสาศิลาของพระเจ้าอโศก ที่ปักอยู่ด้านหน้าพุทธสถานและสถานที่สำคัญในพุทธประวัติ เพื่อใช้ในการจารึกพุทธธรรมหรือคำประกาศ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ได้รับความนิยมมากในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ แบบที่ไม่มีธรรมจักรด้านบนและประเภทที่มีธรรมจักรด้านบน โดยธรรมจักรเป็นสิ่งที่แสดงถึงธรรมของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังสื่อถึงความเป็นพระจักรพรรดิราชของพระเจ้าอโศกมหาราชอีกด้วย
.
อ้างอิง
๑. เชษฐ์ ติงสัญชลี. (๒๕๖๓). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นนทบุรี. มิวเซียมเพรส.
๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (๒๕๖๑). ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
๓. ที่ระลึกงาน ประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ. (๒๕๔๙). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
(จำนวนผู้เข้าชม 488 ครั้ง)