เจดีย์ทรงระฆัง...จากพลังแห่งศรัทธา
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม...จากความคิดสร้างสรรค์ สู่หลักฐานชิ้นเอกแห่งสุโขทัย
.
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงทะนาน เป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะของยอดเจดีย์ เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการและการผสมผสานศิลปะจากหลายแหล่ง ถือได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย และเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมของสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งที่มาของเจดีย์ทรงนี้ได้มีนักวิชาการเสนอไว้หลากหลายทฤษฎี
.
ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม สันนิษฐานว่า เจดีย์ทรงนี้เกิดจากการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมรและศิลปะพุกามของพม่า โดยส่วนเรือนธาตุพัฒนามาจากเรือนธาตุของปราสาทเขมร ในส่วนขององค์ระฆังดัดแปลงมาจากเจดีย์ในศิลปะพุกามของพม่า โดยสันนิษฐานว่ามีอายุในช่วงกลางหรือปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สอดคล้องกับข้อมูลจารึกที่พบ เช่นที่ เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดอโสการาม มีจารึกที่กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ.1942 เป็นต้น
.
ศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า ปรางค์ยอดบัว ได้เสนอทฤษฎีที่ว่า เจดีย์ยอดดอกบัวตูมนี้ เกิดจากการผสมผสานระหว่างเจดีย์ยอดดอกบัวของชาวจีนที่ใช้สำหรับบรรจุอัฐิกับปรางค์ของไทย และได้กำหนดอายุไว้แตกต่างไปจากเดิมที่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 ในช่วงสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งเป็นระยะที่ชาวจีนมีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคนี้
.
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเจดีย์ทรงยอดยอดบัวตูมนั้น เป็นการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมร ศิลปะล้านนา และศิลปะพุกามของพม่า ซึ่งเป็นแนวความคิดที่สามารถอธิบายที่มาของรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และสอดคล้องกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ
.
เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงสมัยของพญาลิไท และแพร่หลายในเฉพาะช่วงที่สุโขทัยเรืองอำนาจ ซึ่งการเจดีย์ทรงระฆัง...จากพลังแห่งศรัทธา
.
.
การสร้างสถูปนั้นมีต้นกำเนิดมาจากอินเดียโบราณ มีคติมาจากการสร้างมูลดินขนาดใหญ่เหนือหลุมฝังศพ ต่อมาได้เกิดการพัฒนาไปเป็นเจดีย์รูปทรงต่างๆ ทั้งใน ศรีลังกา พม่า ไทย และในดินแดนอื่นๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา สถูปหรือในไทยนิยมเรียกว่า เจดีย์ นั้นเป็นคำที่มีที่มาจากคำว่า ถูปะ หรือ สถูปะ มีความหมายว่า เนินดินฝังศพ
.
ในสมัยทวารวดีเมื่อได้ยอมรับเอาศาสนาพุทธเข้ามาในวิถีชีวิต ก็ได้รับเอาสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันไม่เหลือหลักฐานของเจดีย์ในสมัยทวารวดีที่เต็มองค์สมบูรณ์ จึงทำได้เพียงสันนิษฐานรูปแบบของเจดีย์จากโบราณวัตถุประเภทสถูปจำลองหรือฐานของเจดีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ทั้งนี้เจดีย์ทรงระฆังในสมัยสุโขทัยนั้นไม่ได้รับรูปแบบมาจากทวารวดี แต่ได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงระฆังของลังกา ซึ่งสุโขทัยยกย่องว่าลังกาคือศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในขณะนั้น ดังนั้นเจดีย์ทรงนี้ในบางครั้งจะนิยมเรียกว่า “เจดีย์ทรงลังกา”
.
สถูปของลังกาในศิลปะอนุราธปุระ (พุทธศตวรรษที่ 3 - 16) ได้รับรูปแบบมาจากสถูปในศิลปะอมราวดี ที่พัฒนามาจากสถูปทรงโอคว่ำของอินเดียโบราณ ทำให้สถูปในสมัยนี้ยังทำในผังกลม มีองค์ระฆังขนาดใหญ่ หรรมิกาทำลายคานตั้ง-คานนอน แต่ทั้งนี้ ฉัตรวลีในสมัยอินเดียโบราณมีลักษณะเป็นฉัตรอย่างชัดเจน แต่ศิลปะอนุราธปุระของลังกาได้ปรับมาจนมีลักษณ์เป็นวงแหวนซ้อนต่อกันเป็นปล้องๆ ยืดสูงเป็นทรงกรวย
.
ต่อมาในศิลปะโปลนนารุวะ (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) เมืองหลวงแห่งที่ 2 ของลังกา ที่สืบต่อมาจากอนุราธปุระ องค์ประกอบของสถูปในศิลปะโปลนนารุวะยังมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอนุราธปุระเป็นอย่างมาก สถูปอยู่ในผังกลม องค์ระฆังทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ หรรมิกาเป็นลายคานตั้ง-คานนอนเลียนแบบเครื่องไม้ และฉัตรวลีทำเป็นปล้องคล้ายปี่ไฉนยืดสูงเป็นทรงกรวย ทั้งนี้ในส่วนของฐานสถูปนั้นได้พัฒนาต่างไปจากสมัยอนุราธปุระซึ่งนิยมทำเป็นฐานเขียงเรียบๆ แต่ในสมัยโปลนนารุวะเปลี่ยนเป็นฐานบัว ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งมายังเจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัย
.
เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยเริ่มปรากฏเมื่อใดนั้นยังไม่แน่ชัด เนื่องจากโบราณสถานส่วนใหญ่ไม่มีจารึกหรือหลักฐานชัดเจนของระยะเวลาก่อสร้าง มีเพียงวัดช้างล้อม เมืองสุโขทัยที่พบจารึก ระบุปี พ.ศ.1927 และจารึกวัดสรศักดิ์ ระบุว่าสร้างใน พ.ศ.1955 ทั้งนี้ เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยนี้น่าจะเริ่มปรากฏเมื่อสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากลังกามา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 18 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 19
.
เจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัยประกอบด้วย ฐานเขียงด้านล่างสุด ถัดขึ้นไปคือฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย (ซึ่งในบางแห่งมีประติมากรรมประดับอยู่ เช่น เจดีย์ช้างล้อม) ถัดขึ้นไปเป็นชั้นเขียง 2-3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชุดบัวถลา 3 ชั้น (บัวถลาคือ ส่วนของบัวคว่ำซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะเหมือนลาดเอนหรือถลาลงมา จึงเรียกว่า บัวถลา จัดเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย) ถัดขึ้นไปคือบัวปากระฆัง (ลักษณะเป็นกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย) ถัดขึ้นไปคือองค์ระฆังขนาดใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดจากบัลลังก์ก็คือก้านฉัตร ถัดจากก้านฉัตรขึ้นไปก็คือบัวฝาละมี ถัดจากนั้นก็คือปล้องไฉน และที่อยู่ด้านบนสุดก็คือปลียอด
.
เจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัยในระยะหลัง ได้รับอิทธิพลของทางอยุธยาและล้านนา ทำให้เจดีย์บางองค์มีการทำมาลัยเถาแทนบัวถลา มีเพิ่มส่วนของฐานบัวเหนือฐานเขียง โดยขยายท้องไม้ของฐานบัวชั้นล่างให้สูงขึ้นอย่างมาก ทั้งยังมีการยกเก็จและประดับลูกแก้วอกไก่ รวมทั้งบัลลังก์ก็มีการประดับด้วยลูกแก้วอกไก่
.
เอกสารอ้างอิง
- รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2563.
- ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปะศรีลังกา. เอกสารคำสอนรายวิชา 310212 Sri Lanka Art ฉบับปีการศึกษา 2554. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (อัดสำเนา)
- ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.
- ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.
- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.
#โบราณสถาน #อุทยานประวัติศาสตร์ #สุโขทัย #อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย #องค์ความรู้กรมศิลป์ #องค์ความรู้กรมศิลปากร
.
เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงทะนาน เป็นชื่อที่เรียกตามลักษณะของยอดเจดีย์ เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่ามีวิวัฒนาการและการผสมผสานศิลปะจากหลายแหล่ง ถือได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปะสุโขทัย และเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมของสุโขทัยอย่างแท้จริง ซึ่งที่มาของเจดีย์ทรงนี้ได้มีนักวิชาการเสนอไว้หลากหลายทฤษฎี
.
ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม สันนิษฐานว่า เจดีย์ทรงนี้เกิดจากการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมรและศิลปะพุกามของพม่า โดยส่วนเรือนธาตุพัฒนามาจากเรือนธาตุของปราสาทเขมร ในส่วนขององค์ระฆังดัดแปลงมาจากเจดีย์ในศิลปะพุกามของพม่า โดยสันนิษฐานว่ามีอายุในช่วงกลางหรือปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 สอดคล้องกับข้อมูลจารึกที่พบ เช่นที่ เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดอโสการาม มีจารึกที่กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ.1942 เป็นต้น
.
ศ.ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เรียกเจดีย์ทรงนี้ว่า ปรางค์ยอดบัว ได้เสนอทฤษฎีที่ว่า เจดีย์ยอดดอกบัวตูมนี้ เกิดจากการผสมผสานระหว่างเจดีย์ยอดดอกบัวของชาวจีนที่ใช้สำหรับบรรจุอัฐิกับปรางค์ของไทย และได้กำหนดอายุไว้แตกต่างไปจากเดิมที่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 ในช่วงสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งเป็นระยะที่ชาวจีนมีบทบาททางการเมืองในภูมิภาคนี้
.
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเจดีย์ทรงยอดยอดบัวตูมนั้น เป็นการพัฒนาและผสมผสานระหว่างศิลปะเขมร ศิลปะล้านนา และศิลปะพุกามของพม่า ซึ่งเป็นแนวความคิดที่สามารถอธิบายที่มาของรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และสอดคล้องกับลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ
.
เจดีย์ทรงนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงสมัยของพญาลิไท และแพร่หลายในเฉพาะช่วงที่สุโขทัยเรืองอำนาจ ซึ่งการเจดีย์ทรงระฆัง...จากพลังแห่งศรัทธา
.
.
การสร้างสถูปนั้นมีต้นกำเนิดมาจากอินเดียโบราณ มีคติมาจากการสร้างมูลดินขนาดใหญ่เหนือหลุมฝังศพ ต่อมาได้เกิดการพัฒนาไปเป็นเจดีย์รูปทรงต่างๆ ทั้งใน ศรีลังกา พม่า ไทย และในดินแดนอื่นๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา สถูปหรือในไทยนิยมเรียกว่า เจดีย์ นั้นเป็นคำที่มีที่มาจากคำว่า ถูปะ หรือ สถูปะ มีความหมายว่า เนินดินฝังศพ
.
ในสมัยทวารวดีเมื่อได้ยอมรับเอาศาสนาพุทธเข้ามาในวิถีชีวิต ก็ได้รับเอาสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนาเข้ามาด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันไม่เหลือหลักฐานของเจดีย์ในสมัยทวารวดีที่เต็มองค์สมบูรณ์ จึงทำได้เพียงสันนิษฐานรูปแบบของเจดีย์จากโบราณวัตถุประเภทสถูปจำลองหรือฐานของเจดีย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ทั้งนี้เจดีย์ทรงระฆังในสมัยสุโขทัยนั้นไม่ได้รับรูปแบบมาจากทวารวดี แต่ได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงระฆังของลังกา ซึ่งสุโขทัยยกย่องว่าลังกาคือศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในขณะนั้น ดังนั้นเจดีย์ทรงนี้ในบางครั้งจะนิยมเรียกว่า “เจดีย์ทรงลังกา”
.
สถูปของลังกาในศิลปะอนุราธปุระ (พุทธศตวรรษที่ 3 - 16) ได้รับรูปแบบมาจากสถูปในศิลปะอมราวดี ที่พัฒนามาจากสถูปทรงโอคว่ำของอินเดียโบราณ ทำให้สถูปในสมัยนี้ยังทำในผังกลม มีองค์ระฆังขนาดใหญ่ หรรมิกาทำลายคานตั้ง-คานนอน แต่ทั้งนี้ ฉัตรวลีในสมัยอินเดียโบราณมีลักษณะเป็นฉัตรอย่างชัดเจน แต่ศิลปะอนุราธปุระของลังกาได้ปรับมาจนมีลักษณ์เป็นวงแหวนซ้อนต่อกันเป็นปล้องๆ ยืดสูงเป็นทรงกรวย
.
ต่อมาในศิลปะโปลนนารุวะ (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) เมืองหลวงแห่งที่ 2 ของลังกา ที่สืบต่อมาจากอนุราธปุระ องค์ประกอบของสถูปในศิลปะโปลนนารุวะยังมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอนุราธปุระเป็นอย่างมาก สถูปอยู่ในผังกลม องค์ระฆังทรงโอคว่ำขนาดใหญ่ หรรมิกาเป็นลายคานตั้ง-คานนอนเลียนแบบเครื่องไม้ และฉัตรวลีทำเป็นปล้องคล้ายปี่ไฉนยืดสูงเป็นทรงกรวย ทั้งนี้ในส่วนของฐานสถูปนั้นได้พัฒนาต่างไปจากสมัยอนุราธปุระซึ่งนิยมทำเป็นฐานเขียงเรียบๆ แต่ในสมัยโปลนนารุวะเปลี่ยนเป็นฐานบัว ซึ่งลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งมายังเจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัย
.
เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยเริ่มปรากฏเมื่อใดนั้นยังไม่แน่ชัด เนื่องจากโบราณสถานส่วนใหญ่ไม่มีจารึกหรือหลักฐานชัดเจนของระยะเวลาก่อสร้าง มีเพียงวัดช้างล้อม เมืองสุโขทัยที่พบจารึก ระบุปี พ.ศ.1927 และจารึกวัดสรศักดิ์ ระบุว่าสร้างใน พ.ศ.1955 ทั้งนี้ เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัยนี้น่าจะเริ่มปรากฏเมื่อสุโขทัยได้รับเอาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากลังกามา เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 18 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 19
.
เจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัยประกอบด้วย ฐานเขียงด้านล่างสุด ถัดขึ้นไปคือฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย (ซึ่งในบางแห่งมีประติมากรรมประดับอยู่ เช่น เจดีย์ช้างล้อม) ถัดขึ้นไปเป็นชั้นเขียง 2-3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชุดบัวถลา 3 ชั้น (บัวถลาคือ ส่วนของบัวคว่ำซ้อนกัน 3 ชั้น ลักษณะเหมือนลาดเอนหรือถลาลงมา จึงเรียกว่า บัวถลา จัดเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย) ถัดขึ้นไปคือบัวปากระฆัง (ลักษณะเป็นกลีบบัวคว่ำ-บัวหงาย) ถัดขึ้นไปคือองค์ระฆังขนาดใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดจากบัลลังก์ก็คือก้านฉัตร ถัดจากก้านฉัตรขึ้นไปก็คือบัวฝาละมี ถัดจากนั้นก็คือปล้องไฉน และที่อยู่ด้านบนสุดก็คือปลียอด
.
เจดีย์ทรงระฆังของสุโขทัยในระยะหลัง ได้รับอิทธิพลของทางอยุธยาและล้านนา ทำให้เจดีย์บางองค์มีการทำมาลัยเถาแทนบัวถลา มีเพิ่มส่วนของฐานบัวเหนือฐานเขียง โดยขยายท้องไม้ของฐานบัวชั้นล่างให้สูงขึ้นอย่างมาก ทั้งยังมีการยกเก็จและประดับลูกแก้วอกไก่ รวมทั้งบัลลังก์ก็มีการประดับด้วยลูกแก้วอกไก่
.
เอกสารอ้างอิง
- รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2563.
- ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และศิลปะศรีลังกา. เอกสารคำสอนรายวิชา 310212 Sri Lanka Art ฉบับปีการศึกษา 2554. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (อัดสำเนา)
- ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.
- ศ.เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะสุโขทัย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2562.
- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2561.
- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.
#โบราณสถาน #อุทยานประวัติศาสตร์ #สุโขทัย #อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย #องค์ความรู้กรมศิลป์ #องค์ความรู้กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 9481 ครั้ง)