โบราณสถานวัดหินตั้ง
โบราณสถานวัดหินตั้ง
.
โบราณสถานวัดหินตั้งหรือโบราณสถานร้าง น.๒๐ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูศาลหลวงทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร โดยอยู่ริมฝั่งลำคลองแม่ลำพันด้านฝั่งตะวันออก ข้อมูลจากหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑ ได้อธิบายถึงสภาพก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีว่า วัดหินตั้ง มีสภาพถูกทิ้งร้างเป็นเนินดิน สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าประกอบไปด้วย ฐานเจดีย์ประธานก่อด้วยอิฐมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ด้านทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของฐานเจดีย์ปรากฎแนวฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และคูน้ำ ล้อมรอบโบราณสถาน ปัจจุบันคูน้ำบางส่วนตื้นเขินและเสื่อมสภาพ
.
ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการขุดค้น ขุดแต่ง โบราณสถานวัดหินตั้ง ทำให้ทราบว่าเจดีย์ประธานของวัดฐานก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดกว้างด้านละประมาณ ๑๑.๓๐ เมตร แต่ด้วยการลักลอบขุดหาของตั้งแต่ครั้งอดีตทำให้ด้านบนของเจดีย์ได้ทำความเสียจนไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ นอกจากนี้ทิศทั้งสี่ของเจดีย์ประธานมีเจดีย์บริวารประจำทิศจำนวน ๔ องค์ หรือทิศละ ๑ องค์ (องค์ด้านทิศเหนือชำรุดเป็นอย่างมากจากการลักลอบขุดปรากฏร่องรอยเหลือเพียงเล็กน้อย) ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ปรากฏช่องประตูเข้า-ออกทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก ซึ่งการก่อสร้างกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่นี้ปรากฏหลักฐานการสร้างในลักษณะคล้ายกันกับโบราณสถานหลายแห่งตามแนวถนนพระร่วง อาทิเช่น โบราณสถานวัดโบสถ์เมืองบางขลัง, โบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคลเมืองบางขลัง รวมถึงโบราณสถานอีกหลายแห่งในเมืองศรีสัชนาลัยด้วย ทางด้านทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้ว ปรากฏแนวอาคารสันนิษฐานว่าเป็นวิหารผนังก่ออิฐพื้นอัดด้วยดิน
.
นอกจากนี้วัดหินตั้งยังได้พบศิลาจารึกวัดหินตั้ง (สท.๓๗) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จารึกได้เล่าเรื่องราวย้อนกลับไปถึงสมัยพระมหาธรรมราชาผู้ปู่ กระทำหอมาฬก(พลับพลา ปะรำ โรงพิธี) พระมหาธาตุเจ้า การบำเพ็ญกุศลในการสร้างถาวรวัตถุ และวัตถุอื่นๆ ในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันศิลาจารึกวัดหินตั้งถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
.
และปี พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์และบูรณะโบราณสถานวัดหินตั้ง เพื่อพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย นอกจากนี้ยังทำการขุดค้นขุดแต่งและขุดตรวจทางโบราณคดีแนวคูน้ำเพิ่มเติม พบว่าพื้นที่โดยรอบไม่ปรากฏแนวของคูน้ำล้อมรอบวัด แต่กลับปรากฏลักษณะสันฐานของพื้นที่ตั้งวัดที่มีลักษณะเป็นเนินสูงจากพื้นที่ลุ่มโดยรอบ ซึ่งการเลือกพื้นที่สร้างวัดเป็นเนินสูงอาจเกิดจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงหน้าฝน และระหว่างการบูรณะเจดีย์ประธาน ยังได้พบหลักฐานการก่อเอ็นด้วยอิฐเป็นโครงสร้างภายในขององค์เจดีย์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงเทคนิคการก่อสร้างในสมัยสุโขทัยที่น่าสนใจอีกด้วย
.
เมื่อประมวลหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นขุดแต่งกับศิลาจารึกวัดหินตั้งที่พบจากวัดแห่งนี้ ทำให้ทราบว่าวัดหินตั้งถูกสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จากเนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระมหาธารรมราชาผู้ปู่ และอาจเป็นไปได้ว่าจารึกที่พบวัดหินตั้งหลักนี้อาจถูกจารขึ้นในช่วง พ.ศ.๑๙๔๓-๑๙๖๒ ซึ่งเป็นรุ่นหลานของพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว แสดงให้เห็นว่าวัดหินตั้งยังคงมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลายและถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
.
เอกสารอ้างอิง
.
๑. กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี มอบให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๔๘. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://digital.nlt.go.th/items/show/18858)
.
๒. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดหินตั้ง. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/233...
.
๓. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟีเจอร์วัน. รายงานการดำเนินงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๔. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://drive.google.com/.../1c4nRmVgjTvConQYAGpV.../view...)
.
๔. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, ๒๕๖๑. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มได้ที่ https://drive.google.com/.../1Xto.../view...)
.
๕. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../1EoIqbl9qQ8z4ieqBF.../view...)
.
๖. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๓. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../15ejCdIo8kBAmqRf.../view...)
.
โบราณสถานวัดหินตั้งหรือโบราณสถานร้าง น.๒๐ ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูศาลหลวงทางทิศเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร โดยอยู่ริมฝั่งลำคลองแม่ลำพันด้านฝั่งตะวันออก ข้อมูลจากหนังสือทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑ ได้อธิบายถึงสภาพก่อนการขุดค้นทางโบราณคดีว่า วัดหินตั้ง มีสภาพถูกทิ้งร้างเป็นเนินดิน สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าประกอบไปด้วย ฐานเจดีย์ประธานก่อด้วยอิฐมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ด้านทิศตะวันออกหรือด้านหน้าของฐานเจดีย์ปรากฎแนวฐานวิหารก่อด้วยอิฐ และคูน้ำ ล้อมรอบโบราณสถาน ปัจจุบันคูน้ำบางส่วนตื้นเขินและเสื่อมสภาพ
.
ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการขุดค้น ขุดแต่ง โบราณสถานวัดหินตั้ง ทำให้ทราบว่าเจดีย์ประธานของวัดฐานก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ในแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดกว้างด้านละประมาณ ๑๑.๓๐ เมตร แต่ด้วยการลักลอบขุดหาของตั้งแต่ครั้งอดีตทำให้ด้านบนของเจดีย์ได้ทำความเสียจนไม่สามารถสันนิษฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ นอกจากนี้ทิศทั้งสี่ของเจดีย์ประธานมีเจดีย์บริวารประจำทิศจำนวน ๔ องค์ หรือทิศละ ๑ องค์ (องค์ด้านทิศเหนือชำรุดเป็นอย่างมากจากการลักลอบขุดปรากฏร่องรอยเหลือเพียงเล็กน้อย) ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วทำจากแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่ ปรากฏช่องประตูเข้า-ออกทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก ซึ่งการก่อสร้างกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่นี้ปรากฏหลักฐานการสร้างในลักษณะคล้ายกันกับโบราณสถานหลายแห่งตามแนวถนนพระร่วง อาทิเช่น โบราณสถานวัดโบสถ์เมืองบางขลัง, โบราณสถานวัดใหญ่ชัยมงคลเมืองบางขลัง รวมถึงโบราณสถานอีกหลายแห่งในเมืองศรีสัชนาลัยด้วย ทางด้านทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้ว ปรากฏแนวอาคารสันนิษฐานว่าเป็นวิหารผนังก่ออิฐพื้นอัดด้วยดิน
.
นอกจากนี้วัดหินตั้งยังได้พบศิลาจารึกวัดหินตั้ง (สท.๓๗) อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ จารึกได้เล่าเรื่องราวย้อนกลับไปถึงสมัยพระมหาธรรมราชาผู้ปู่ กระทำหอมาฬก(พลับพลา ปะรำ โรงพิธี) พระมหาธาตุเจ้า การบำเพ็ญกุศลในการสร้างถาวรวัตถุ และวัตถุอื่นๆ ในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันศิลาจารึกวัดหินตั้งถูกเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
.
และปี พ.ศ.๒๕๖๔ ได้ดำเนินโครงการปรับภูมิทัศน์และบูรณะโบราณสถานวัดหินตั้ง เพื่อพัฒนาแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย นอกจากนี้ยังทำการขุดค้นขุดแต่งและขุดตรวจทางโบราณคดีแนวคูน้ำเพิ่มเติม พบว่าพื้นที่โดยรอบไม่ปรากฏแนวของคูน้ำล้อมรอบวัด แต่กลับปรากฏลักษณะสันฐานของพื้นที่ตั้งวัดที่มีลักษณะเป็นเนินสูงจากพื้นที่ลุ่มโดยรอบ ซึ่งการเลือกพื้นที่สร้างวัดเป็นเนินสูงอาจเกิดจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงหน้าฝน และระหว่างการบูรณะเจดีย์ประธาน ยังได้พบหลักฐานการก่อเอ็นด้วยอิฐเป็นโครงสร้างภายในขององค์เจดีย์ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงถึงเทคนิคการก่อสร้างในสมัยสุโขทัยที่น่าสนใจอีกด้วย
.
เมื่อประมวลหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นขุดแต่งกับศิลาจารึกวัดหินตั้งที่พบจากวัดแห่งนี้ ทำให้ทราบว่าวัดหินตั้งถูกสร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จากเนื้อความในจารึกกล่าวถึงพระมหาธารรมราชาผู้ปู่ และอาจเป็นไปได้ว่าจารึกที่พบวัดหินตั้งหลักนี้อาจถูกจารขึ้นในช่วง พ.ศ.๑๙๔๓-๑๙๖๒ ซึ่งเป็นรุ่นหลานของพระมหาธรรมราชาลิไทแล้ว แสดงให้เห็นว่าวัดหินตั้งยังคงมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลายและถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
.
เอกสารอ้างอิง
.
๑. กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. คณะอนุกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระราชสมภพ ครบ ๒๐๐ ปี มอบให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก พุทธศักราช ๒๕๔๘. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘. (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://digital.nlt.go.th/items/show/18858)
.
๒. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). จารึกวัดหินตั้ง. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย เข้าถึงได้จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/233...
.
๓. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟีเจอร์วัน. รายงานการดำเนินงานโครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๔. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://drive.google.com/.../1c4nRmVgjTvConQYAGpV.../view...)
.
๔. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, ๒๕๖๑. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มได้ที่ https://drive.google.com/.../1Xto.../view...)
.
๕. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๑. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../1EoIqbl9qQ8z4ieqBF.../view...)
.
๖. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดี โครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๖๓. (เอกสารอัดสำเนา) (ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/.../15ejCdIo8kBAmqRf.../view...)
(จำนวนผู้เข้าชม 1149 ครั้ง)