สังคโลกแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย
สังคโลกแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย
ตอนที่ 3 : รัชกาลที่ 6 กับการศึกษาสังคโลกแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย
.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นนักวิชาการไทยท่านแรกที่ได้ริเริ่มศึกษาสังคโลกสุโขทัย โดยเมื่อปี พ.ศ.2450 ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสสำรวจโบราณสถานตามเส้นทางถนนพระร่วงที่เมือง กำแพงเพชร สุโขทัย สวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และเมืองใกล้เคียง แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ “เที่ยวเมืองพระร่วง” พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2451 ทรงมีพระราชวิจารณ์ถึงแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยแห่งนี้ว่า
.
“...ต่อที่วัดพระพายหลวงออกไปอีก มีเตาเผาถ้วยชามตั้งอยู่ในป่าไผ่ อยู่ตามเนิน ขุดเนินเข้าไปก่อเตาด้วยอิฐ เป็นเตาเตี้ย ๆ มีชิ้นถ้วยชามแตก ๆ ทิ้งอยู่ตามริมเตาบ้าง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นชามที่เสียเขาทิ้ง ที่เคลือบแล้วก็มี ที่เขียนแล้วยังไม่ได้เคลือบก็มี พื้นชามก็เป็นชนิดที่เรียกว่า สังกโลก บางทีก็มีเป็นลวดลายเป็นดอกไม้บ้างก็มีฝีมือทำสู้ที่สวรรคโลกไม่ได้ ตามใกล้ ๆ แถบเตานี้มีที่พื้นดินลุ่มแตกระแหง หน้าฝนน้ำขัง มีไผ่และหญ้าขึ้นตามขอบ แต่ในลุ่มนั้นเองไม่มีอะไรขึ้นเลย แห่งหนึ่งคะเนด้วยตาว่ากว้าง 10 วา หรือ 15 วา ยาวประมาณ 5 เส้น อย่างไรๆ ก็ไม่ใช่ที่นาหรือไร่ จึงเข้าใจว่าเป็นที่เขาขุดดินขึ้นมาใช้ในการปั้นถ้วยชาม คนโดยมากบางทีจะพึ่งได้ทราบเป็นครั้งแรกเมื่ออ่านหนังสือนี้ ว่าถ้วยชามสุโขทัยก็มี ถึงแม้ได้พบปะชามสุโขทัยก็คงเข้าใจว่าเป็นชามสังกโลก ที่จริงเข้าใจว่าสุโขทัยคงได้วิชามาจากสวรรคโลกอีกชั้นหนึ่ง...”
.
การสำรวจในครั้งนั้นถือเป็นการจุดประกายความสนใจในเรื่องสังคโลกสุโขทัย ทำให้นักวิชาการในสมัยต่อมาหันมาศึกษา ดังเช่นการศึกษาของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ในปี พ.ศ.2460 ทรงกล่าวถึงกำเนิดการค้าและสิ้นสุดของเครื่องถ้วยสุโขทัย โดยการตีความจากจดหมายเหตุของราชวงศ์หยวน และความในพระราชพงศาวดารเหนือ ซึ่งกล่าวตรงกันว่า พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จไปเมืองจีน เมื่อปีมะแม จุลศักราช 655 หรือ พ.ศ.1837 ได้นำช่างจีนกลับมาเมืองไทย และทรงสันนิษฐานอีกว่า ช่างปั้นจีนคงเข้ามาตั้งเตาเผาแห่งแรกที่เมืองสุโขทัยก่อน ต่อมาจึงย้ายไปทำที่เมืองสวรรคโลก เพราะได้พบวัสดุดินหินที่มีคุณภาพดีกว่า และทำเพียงเครื่องเคลือบเดียว มีผิวแตกราน ซึ่งเรียกว่า “สังกโลก” (หมายถึงเครื่องเคลือบสุโขทัยประเภทเคลือบสีเขียว เตาศรีสัชนาลัย) และน่าจะนำออกไปจำหน่ายยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ หลวงพระบาง และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนการสิ้นสุดการผลิต ทรงสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ.1911 อยุธยาได้ครอบครองเมืองสุโขทัย พระมหาธรรมราชาต้องลดฐานะเป็นประเทศราชย้ายไปประทับที่พิษณุโลก อาจเลิกในคราวนี้ หรืออาจเป็นปี พ.ศ.1999 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราช ทำให้สุโขทัยและสวรรคโลกต้องกลายเป็นสนามรบ ผู้คนคงจะกระจัดกระจายในคราวนั้น ประมาณเวลาการผลิตสักร้อยปีเศษจึงยกเลิกไป
.
ข้อมูลและข้อสันนิษฐานต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญให้กับนักวิชาการที่สนใจศึกษาเรื่องสังคโลกสุโขทัยในยุคต่อมาอีกหลายสิบปีใช้อ้างอิง แม้ว่าข้อสันนิษฐานบางประการในการศึกษาเรื่องสังคโลกสุโขทัยในยุคสมัยนั้นจะไม่ถูกต้องแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากได้พบหลักฐานใหม่จากการศึกษาและการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งจะได้เขียนและนำเสนอในโอกาสต่อไป
.
ย้อนอ่านตอนที่ 1 : “สังคโลก” ชื่อนี้มาจากไหน ? : https://www.facebook.com/skt.his.park/posts/4575170435868762
ย้อนอ่านตอนที่ 2 : ตำแหน่งที่ตั้งและรูปแบบของเตาเผาสังคโลก : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4695853460467125&id=180332008685982&sfnsn=mo
.
เอกสารอ้างอิงสำหรับอ่านเพิ่มเติม
1. ธงชัย สาโค. สังคโลกเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยข้อมูลใหม่จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, 2564.
2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://www.finearts.go.th/.../DmXieNBoCKqhdshKUSb2bPYISK...)
3. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น. พระนคร : โรงพิมพ์ไทย (แจกในงานพระศพพระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา) , 2460. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://upload.wikimedia.org/.../%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8...)
4. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย. ปีงบประมาณ 2559 – 2560. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://drive.google.com/.../1ZD-1vyJ470F9UFZrUl.../view... )
5. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการบูรณะเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย. ปีงบประมาณ 2561. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://drive.google.com/.../1PzxCFznNifILdcfpslw.../view... )
6. ภาพประกอบ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสภาพ : ภ.003 หวญ.94(4-1)
ตอนที่ 3 : รัชกาลที่ 6 กับการศึกษาสังคโลกแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย
.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นนักวิชาการไทยท่านแรกที่ได้ริเริ่มศึกษาสังคโลกสุโขทัย โดยเมื่อปี พ.ศ.2450 ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสสำรวจโบราณสถานตามเส้นทางถนนพระร่วงที่เมือง กำแพงเพชร สุโขทัย สวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) และเมืองใกล้เคียง แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ “เที่ยวเมืองพระร่วง” พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2451 ทรงมีพระราชวิจารณ์ถึงแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยแห่งนี้ว่า
.
“...ต่อที่วัดพระพายหลวงออกไปอีก มีเตาเผาถ้วยชามตั้งอยู่ในป่าไผ่ อยู่ตามเนิน ขุดเนินเข้าไปก่อเตาด้วยอิฐ เป็นเตาเตี้ย ๆ มีชิ้นถ้วยชามแตก ๆ ทิ้งอยู่ตามริมเตาบ้าง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นชามที่เสียเขาทิ้ง ที่เคลือบแล้วก็มี ที่เขียนแล้วยังไม่ได้เคลือบก็มี พื้นชามก็เป็นชนิดที่เรียกว่า สังกโลก บางทีก็มีเป็นลวดลายเป็นดอกไม้บ้างก็มีฝีมือทำสู้ที่สวรรคโลกไม่ได้ ตามใกล้ ๆ แถบเตานี้มีที่พื้นดินลุ่มแตกระแหง หน้าฝนน้ำขัง มีไผ่และหญ้าขึ้นตามขอบ แต่ในลุ่มนั้นเองไม่มีอะไรขึ้นเลย แห่งหนึ่งคะเนด้วยตาว่ากว้าง 10 วา หรือ 15 วา ยาวประมาณ 5 เส้น อย่างไรๆ ก็ไม่ใช่ที่นาหรือไร่ จึงเข้าใจว่าเป็นที่เขาขุดดินขึ้นมาใช้ในการปั้นถ้วยชาม คนโดยมากบางทีจะพึ่งได้ทราบเป็นครั้งแรกเมื่ออ่านหนังสือนี้ ว่าถ้วยชามสุโขทัยก็มี ถึงแม้ได้พบปะชามสุโขทัยก็คงเข้าใจว่าเป็นชามสังกโลก ที่จริงเข้าใจว่าสุโขทัยคงได้วิชามาจากสวรรคโลกอีกชั้นหนึ่ง...”
.
การสำรวจในครั้งนั้นถือเป็นการจุดประกายความสนใจในเรื่องสังคโลกสุโขทัย ทำให้นักวิชาการในสมัยต่อมาหันมาศึกษา ดังเช่นการศึกษาของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้ทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น ในปี พ.ศ.2460 ทรงกล่าวถึงกำเนิดการค้าและสิ้นสุดของเครื่องถ้วยสุโขทัย โดยการตีความจากจดหมายเหตุของราชวงศ์หยวน และความในพระราชพงศาวดารเหนือ ซึ่งกล่าวตรงกันว่า พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จไปเมืองจีน เมื่อปีมะแม จุลศักราช 655 หรือ พ.ศ.1837 ได้นำช่างจีนกลับมาเมืองไทย และทรงสันนิษฐานอีกว่า ช่างปั้นจีนคงเข้ามาตั้งเตาเผาแห่งแรกที่เมืองสุโขทัยก่อน ต่อมาจึงย้ายไปทำที่เมืองสวรรคโลก เพราะได้พบวัสดุดินหินที่มีคุณภาพดีกว่า และทำเพียงเครื่องเคลือบเดียว มีผิวแตกราน ซึ่งเรียกว่า “สังกโลก” (หมายถึงเครื่องเคลือบสุโขทัยประเภทเคลือบสีเขียว เตาศรีสัชนาลัย) และน่าจะนำออกไปจำหน่ายยังพื้นที่ใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ หลวงพระบาง และอินโดนีเซีย เป็นต้น ส่วนการสิ้นสุดการผลิต ทรงสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ.1911 อยุธยาได้ครอบครองเมืองสุโขทัย พระมหาธรรมราชาต้องลดฐานะเป็นประเทศราชย้ายไปประทับที่พิษณุโลก อาจเลิกในคราวนี้ หรืออาจเป็นปี พ.ศ.1999 เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงทำสงครามกับพระเจ้าติโลกราช ทำให้สุโขทัยและสวรรคโลกต้องกลายเป็นสนามรบ ผู้คนคงจะกระจัดกระจายในคราวนั้น ประมาณเวลาการผลิตสักร้อยปีเศษจึงยกเลิกไป
.
ข้อมูลและข้อสันนิษฐานต่างๆ เหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญให้กับนักวิชาการที่สนใจศึกษาเรื่องสังคโลกสุโขทัยในยุคต่อมาอีกหลายสิบปีใช้อ้างอิง แม้ว่าข้อสันนิษฐานบางประการในการศึกษาเรื่องสังคโลกสุโขทัยในยุคสมัยนั้นจะไม่ถูกต้องแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากได้พบหลักฐานใหม่จากการศึกษาและการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งจะได้เขียนและนำเสนอในโอกาสต่อไป
.
ย้อนอ่านตอนที่ 1 : “สังคโลก” ชื่อนี้มาจากไหน ? : https://www.facebook.com/skt.his.park/posts/4575170435868762
ย้อนอ่านตอนที่ 2 : ตำแหน่งที่ตั้งและรูปแบบของเตาเผาสังคโลก : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4695853460467125&id=180332008685982&sfnsn=mo
.
เอกสารอ้างอิงสำหรับอ่านเพิ่มเติม
1. ธงชัย สาโค. สังคโลกเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยข้อมูลใหม่จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : พระรามครีเอชั่น, 2564.
2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://www.finearts.go.th/.../DmXieNBoCKqhdshKUSb2bPYISK...)
3. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น. พระนคร : โรงพิมพ์ไทย (แจกในงานพระศพพระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา) , 2460. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://upload.wikimedia.org/.../%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8...)
4. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย. ปีงบประมาณ 2559 – 2560. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://drive.google.com/.../1ZD-1vyJ470F9UFZrUl.../view... )
5. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. รายงานการบูรณะเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย. ปีงบประมาณ 2561. (ดาวน์โหลดหรืออ่านเอกสารที่ได้ที่ https://drive.google.com/.../1PzxCFznNifILdcfpslw.../view... )
6. ภาพประกอบ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสภาพ : ภ.003 หวญ.94(4-1)
(จำนวนผู้เข้าชม 3717 ครั้ง)