ประติมากรรมปูนปั้น หน้ากาล
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่ องค์ความรู้ประจำเดือนเมษายน ๒๕๖๗ เรื่อง " ประติมากรรมปูนปั้น “หน้ากาล” วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง "
หน้ากาล คือ รูปหน้าสัตว์ในเทพนิยาย บางครั้งเรียกว่า “เกียรติมุข” บ้างก็เรียกว่า “สิงหมุข” เพราะดูคล้ายหน้าสิงห์ มักทำประดับเหนือประตูทางเข้าอาคารหรือคูหา มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาศาสนสถาน
คติเรื่องหน้ากาลและเกียรติมุขโดยสังเขป หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลา ซึ่งมีเรื่องเล่ากล่าวถึงผู้ที่กลืนกินตนเอง แม้แต่ริมฝีปากล่างของตน หน้ากาลในศิลปะไทยจึงปรากฏแต่เพียงหน้า ไม่มีตัว ดังนั้นคำว่า “กาล” หรือ“กาละ” ในอีกความหมายหนึ่งคือ “เวลา” มีนัยว่าเวลาย่อมกลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง ดังที่อสูรตนนี้กลืนกินแม้กระทั่งร่างของตนเอง ส่วนเกียรติมุขเกิดจากนรสิงห์ตนหนึ่งที่พระศิวะเคยประทานพรให้แล้วเกิดความทะเยอทะยาน พระองค์จึงกลับมาปราบโดยตัดเศียรแล้วนำไปประดับไว้ที่ทางเข้าศาสนสถาน เพื่อให้ลมหายใจของมันมอบพลังให้แก่ผู้ที่เข้ามายังศาสนสถาน
หน้ากาลเป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูกใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า ในเมืองศรีสัชนาลัยพบประติมากรรมปูนปั้นหน้ากาลที่มีลักษณะคล้ายราหูที่ประดับซุ้มประตูกำแพงล้อมรอบบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
งานศิลปะที่เกี่ยวกับราหูในประเทศไทย จึงมักเป็นลายปูนปั้นประกอบในสถาปัตยกรรมทำเป็นหน้ายักษ์หรืออสูร ไม่มีลำตัว มีแต่ส่วนของมือและแขน สองข้างจับรูปวงกลมซึ่งทำเป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์และพระจันทร์มาอมไว้ในปาก โดยรูปแบบทางศิลปกรรมของราหูจึงไปคล้ายคลึงกับหน้ากาล ซึ่งเป็นอสูรหรือหน้ายักษ์เช่นกัน ในงานประติมากรรมปูนปั้นราหูมักจะทำไว้ที่หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือตามซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถาน
บรรณานุกรม
นภาธิต วัฒนถาวร. “พระราหู : ภาพสะท้อนของสังคมเมืองยุคโลกาภิวัฒน์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘.
พลอยชมพู ยามะเพวัน. “พัฒนาการจากหน้ากาลมาเป็นราหูในสมัยรัตนโกสินทร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.
ปาริสุทธิ์ เลิศคชาธาร. หน้ากาล-เกียรติมุข-ราหู. วัฒนธรรมออนไลน์. สืบค้นจาก http://article.culture.go.th/index.php/gallery/๓-column-layout-๕/๒๘๒-๒๐๒๒-๐๑-๑๔-๐๙-๑๑-๔๒. (เข้าถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗).
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย. โบราณวัตถุชิ้นเด่น เกียรติมุขหรือหน้ากาล. กรมศิลปากร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/ramkhamhaengmuseum/view/๗๘๕๐. (เข้าถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗).
หน้ากาล คือ รูปหน้าสัตว์ในเทพนิยาย บางครั้งเรียกว่า “เกียรติมุข” บ้างก็เรียกว่า “สิงหมุข” เพราะดูคล้ายหน้าสิงห์ มักทำประดับเหนือประตูทางเข้าอาคารหรือคูหา มีนัยว่าเพื่อปกป้องรักษาศาสนสถาน
คติเรื่องหน้ากาลและเกียรติมุขโดยสังเขป หน้ากาลเป็นสัญลักษณ์ของกาลเวลา ซึ่งมีเรื่องเล่ากล่าวถึงผู้ที่กลืนกินตนเอง แม้แต่ริมฝีปากล่างของตน หน้ากาลในศิลปะไทยจึงปรากฏแต่เพียงหน้า ไม่มีตัว ดังนั้นคำว่า “กาล” หรือ“กาละ” ในอีกความหมายหนึ่งคือ “เวลา” มีนัยว่าเวลาย่อมกลืนกินทุกสิ่งทุกอย่าง ดังที่อสูรตนนี้กลืนกินแม้กระทั่งร่างของตนเอง ส่วนเกียรติมุขเกิดจากนรสิงห์ตนหนึ่งที่พระศิวะเคยประทานพรให้แล้วเกิดความทะเยอทะยาน พระองค์จึงกลับมาปราบโดยตัดเศียรแล้วนำไปประดับไว้ที่ทางเข้าศาสนสถาน เพื่อให้ลมหายใจของมันมอบพลังให้แก่ผู้ที่เข้ามายังศาสนสถาน
หน้ากาลเป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับโบราณสถาน โดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งคติ ความเชื่อที่ปรากฎในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูกใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างศีรษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็นกระบังหน้า ในเมืองศรีสัชนาลัยพบประติมากรรมปูนปั้นหน้ากาลที่มีลักษณะคล้ายราหูที่ประดับซุ้มประตูกำแพงล้อมรอบบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
งานศิลปะที่เกี่ยวกับราหูในประเทศไทย จึงมักเป็นลายปูนปั้นประกอบในสถาปัตยกรรมทำเป็นหน้ายักษ์หรืออสูร ไม่มีลำตัว มีแต่ส่วนของมือและแขน สองข้างจับรูปวงกลมซึ่งทำเป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์และพระจันทร์มาอมไว้ในปาก โดยรูปแบบทางศิลปกรรมของราหูจึงไปคล้ายคลึงกับหน้ากาล ซึ่งเป็นอสูรหรือหน้ายักษ์เช่นกัน ในงานประติมากรรมปูนปั้นราหูมักจะทำไว้ที่หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือตามซุ้มประตูทางเข้าศาสนสถาน
บรรณานุกรม
นภาธิต วัฒนถาวร. “พระราหู : ภาพสะท้อนของสังคมเมืองยุคโลกาภิวัฒน์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๘.
พลอยชมพู ยามะเพวัน. “พัฒนาการจากหน้ากาลมาเป็นราหูในสมัยรัตนโกสินทร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗.
ปาริสุทธิ์ เลิศคชาธาร. หน้ากาล-เกียรติมุข-ราหู. วัฒนธรรมออนไลน์. สืบค้นจาก http://article.culture.go.th/index.php/gallery/๓-column-layout-๕/๒๘๒-๒๐๒๒-๐๑-๑๔-๐๙-๑๑-๔๒. (เข้าถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗).
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย. โบราณวัตถุชิ้นเด่น เกียรติมุขหรือหน้ากาล. กรมศิลปากร. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/ramkhamhaengmuseum/view/๗๘๕๐. (เข้าถึงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๗).
(จำนวนผู้เข้าชม 286 ครั้ง)