ความเชื่อเรื่องหลักเมือง กับโบราณสถาน บน.๖ วัดหลักเมืองศรีสัชนาลัย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ขอเผยแพร่องค์ความรู้ประจำเดือนกรกฎาคม
เรื่อง ความเชื่อเรื่องหลักเมือง กับโบราณสถาน บน.๖ วัดหลักเมืองศรีสัชนาลัย
ความเชื่อเรื่องหลักเมือง เป็นความเชื่อที่ปรากฏมาอย่างช้านาน ภายใต้พื้นฐานการเคารพผีบรรพบุรุษและการไหว้ภูตผีภายในเสาบ้านของผู้คนในอดีต และเมื่อเข้าสู่สถานะความเป็นเมือง คติความเชื่อของศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามา โดยเฉพาะเรื่อง ศูนย์กลางจักรวาลหรือเขาพระสุเมรุ เข้ารวมกับความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางของชุมชน จากการไหว้เสาบ้านจึงถูกพัฒนาเป็นความเชื่อเรื่องเสาของเมือง หรือ เสาหลักเมือง
ภายในเมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นหลักเมืองของเมือง ศรีสัชนาลัย นั่นคือ โบราณสถาน บน.๖ หรือ โบราณสถานวัดหลักเมือง ซึ่งแนวคิดเรื่องเสาหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัย ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” จากการสันนิษฐานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เมื่อครั้งเสด็จพระพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีใจความว่า
“…ข้าพเจ้าเชื่อว่า ไม่ใช่วัดพระพุทธศาสนาเป็นแน่และมิใช่โบสถ์พราหมณ์ แต่จะเกี่ยวเป็นศาลผีหรือเทวดาอันใดอันหนึ่งจึ่งได้เดาต่อไปว่าบางทีจะเป็นหลักเมืองคือที่ฝังนิมิตรของเมือง ที่นี่เป็นที่ออกจะเหมาะอยู่ใกล้รั้วใกล้วังดี อย่างไรๆ หลักเมืองที่อื่นนอกจากที่นี้ก็ไม่มีเลย ได้ให้ค้นหาอยู่หลายวันก็ไม่พบปรางค์นั้น ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าว่าใช้เป็นอนุเสาวรีย์เครื่องหมายว่าเป็นที่ฝังอะไรไว้ในที่นั้น มีพระธาตุหรืออัฐิคนเป็นต้น ก็ถ้าทำเป็นเครื่องหมายที่ฝังกระดูกคนได้แล้ว จะทำเป็นเครื่องหมายนิมิตดวงของเมืองไม่ได้เจียวหรือ ส่วนตัวข้าพเจ้าสมัครเชื่อข้างเป็นหลักเมืองมากกว่าเป็นที่ฝังอัฐิ เพราะมาตั้งอยู่ห่างนอกเขตวัด แต่นี่ก็เป็นการเดาในส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้”
อีกทั้งด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจากโบราณสถานอื่นๆ ที่พบภายในเมือง นั่นคือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ก่อด้วยศิลาแลงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นฐานเขียงซ้อนกันสองชั้นในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ ถัดขึ้นมาคือชุดฐานบัวลูกฟัก ๑ ชุด ต่อด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบอีก ๗ ชั้น โดยแต่ละชั้นประดับด้วยบันแถลงและกลีบแถลงที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้น และตำแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพื้นที่พระราชวัง จึงเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีความสำคัญต่อเมืองศรีสัชนาลัยหรือเป็นหลักเมือง นั่นเอง
แต่ผลจากการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้พบพระพิมพ์ดินเผา อยู่บริเวณรอบวิหาร และซุ้มพระ ได้พบพระพิมพ์ขนาดเล็กทำด้วยดินเผา วัดแห่งนี้จึงน่าจะเป็นวัดในพระพุทธศาสนามากกว่าศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ปัจจุบัน ภายในโบราณสถานวัดหลักเมือง ได้มีการนำเสาหลักเมือง หรือเสาอินทขิล มาตั้งไว้บนฐานพระพุทธรูปเดิม ภายในมณฑปบนวิหาร แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำมาตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใด อย่างไรก็ตามไม่ว่าในอดีตโบราณสถานวัดหลักเมืองจะใช่หลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัยหรือไม่ แต่ปัจจุบันโบราณสถานวัดหลักเมืองได้รับการนับถือว่าเป็นหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัย
อ้างอิง
กองโบราณคดี กรมศิลปากร, รายงานทางวิชาการเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำแผนแม่บท โครงการอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๓๓)
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ, เที่ยวเมืองพระร่วง, (กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ถนนราชดำเนินกลาง, ๒๕๒๖)
อรุณโรจน์ กลิ่นฟุ้ง, “หลักเมือง หลักบ้าน "เสา พุทธ พราหมณ์ ผี”, (สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒)
เรื่อง ความเชื่อเรื่องหลักเมือง กับโบราณสถาน บน.๖ วัดหลักเมืองศรีสัชนาลัย
ความเชื่อเรื่องหลักเมือง เป็นความเชื่อที่ปรากฏมาอย่างช้านาน ภายใต้พื้นฐานการเคารพผีบรรพบุรุษและการไหว้ภูตผีภายในเสาบ้านของผู้คนในอดีต และเมื่อเข้าสู่สถานะความเป็นเมือง คติความเชื่อของศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามา โดยเฉพาะเรื่อง ศูนย์กลางจักรวาลหรือเขาพระสุเมรุ เข้ารวมกับความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางของชุมชน จากการไหว้เสาบ้านจึงถูกพัฒนาเป็นความเชื่อเรื่องเสาของเมือง หรือ เสาหลักเมือง
ภายในเมืองศรีสัชนาลัย ปรากฏโบราณสถานแห่งหนึ่งที่ปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นหลักเมืองของเมือง ศรีสัชนาลัย นั่นคือ โบราณสถาน บน.๖ หรือ โบราณสถานวัดหลักเมือง ซึ่งแนวคิดเรื่องเสาหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัย ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” จากการสันนิษฐานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เมื่อครั้งเสด็จพระพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีใจความว่า
“…ข้าพเจ้าเชื่อว่า ไม่ใช่วัดพระพุทธศาสนาเป็นแน่และมิใช่โบสถ์พราหมณ์ แต่จะเกี่ยวเป็นศาลผีหรือเทวดาอันใดอันหนึ่งจึ่งได้เดาต่อไปว่าบางทีจะเป็นหลักเมืองคือที่ฝังนิมิตรของเมือง ที่นี่เป็นที่ออกจะเหมาะอยู่ใกล้รั้วใกล้วังดี อย่างไรๆ หลักเมืองที่อื่นนอกจากที่นี้ก็ไม่มีเลย ได้ให้ค้นหาอยู่หลายวันก็ไม่พบปรางค์นั้น ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าว่าใช้เป็นอนุเสาวรีย์เครื่องหมายว่าเป็นที่ฝังอะไรไว้ในที่นั้น มีพระธาตุหรืออัฐิคนเป็นต้น ก็ถ้าทำเป็นเครื่องหมายที่ฝังกระดูกคนได้แล้ว จะทำเป็นเครื่องหมายนิมิตดวงของเมืองไม่ได้เจียวหรือ ส่วนตัวข้าพเจ้าสมัครเชื่อข้างเป็นหลักเมืองมากกว่าเป็นที่ฝังอัฐิ เพราะมาตั้งอยู่ห่างนอกเขตวัด แต่นี่ก็เป็นการเดาในส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้”
อีกทั้งด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจากโบราณสถานอื่นๆ ที่พบภายในเมือง นั่นคือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ก่อด้วยศิลาแลงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ชั้นฐานเขียงซ้อนกันสองชั้นในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ ถัดขึ้นมาคือชุดฐานบัวลูกฟัก ๑ ชุด ต่อด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบอีก ๗ ชั้น โดยแต่ละชั้นประดับด้วยบันแถลงและกลีบแถลงที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้น และตำแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของพื้นที่พระราชวัง จึงเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีความสำคัญต่อเมืองศรีสัชนาลัยหรือเป็นหลักเมือง นั่นเอง
แต่ผลจากการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ได้พบพระพิมพ์ดินเผา อยู่บริเวณรอบวิหาร และซุ้มพระ ได้พบพระพิมพ์ขนาดเล็กทำด้วยดินเผา วัดแห่งนี้จึงน่าจะเป็นวัดในพระพุทธศาสนามากกว่าศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ปัจจุบัน ภายในโบราณสถานวัดหลักเมือง ได้มีการนำเสาหลักเมือง หรือเสาอินทขิล มาตั้งไว้บนฐานพระพุทธรูปเดิม ภายในมณฑปบนวิหาร แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำมาตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใด อย่างไรก็ตามไม่ว่าในอดีตโบราณสถานวัดหลักเมืองจะใช่หลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัยหรือไม่ แต่ปัจจุบันโบราณสถานวัดหลักเมืองได้รับการนับถือว่าเป็นหลักเมืองของเมืองศรีสัชนาลัย
อ้างอิง
กองโบราณคดี กรมศิลปากร, รายงานทางวิชาการเพื่อพิจารณาประกอบการจัดทำแผนแม่บท โครงการอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๓๓)
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ, เที่ยวเมืองพระร่วง, (กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ถนนราชดำเนินกลาง, ๒๕๒๖)
อรุณโรจน์ กลิ่นฟุ้ง, “หลักเมือง หลักบ้าน "เสา พุทธ พราหมณ์ ผี”, (สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒)
(จำนวนผู้เข้าชม 1811 ครั้ง)