...

พระพุทธรูปนาคปรก
ในสมัยสุโขทัยไม่นิยมสร้างพระพุทธรูปนาคปรก ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่พระพุทธรูปนาคปรกนั้นเป็นที่นิยมสร้างในศิลปะเขมร ดังนั้น เราจึงพบพระพุทธรูปปางนี้เป็นจำนวนน้อยมาก และมีลักษณะแตกต่างจากพระพุทธรูปนาคปรกของเขมร ได้แก่ มีขนดนาค(ลำตัวนาค) ๗ ชั้น ปรากฏหางนาคที่ด้านหน้า พระพุทธรูปไม่ทรงเครื่องหรือสวมเทริด เป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากลังกาหรืออินเดียใต้ 
สำหรับเมืองศรีสัชนาลัยพบพระพุทธรูปนาคปรกเพียง ๓ องค์ ได้แก่ 
๑. พระพุทธรูปนาคปรกในกุฏิพระนาคปรก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง
๒. พระพุทธรูปนาคปรกที่ซุ้มด้านหลังของเจดีย์ราย หมายเลข ๓๓ วัดเจดีย์เจ็ดแถว
๓. พระพุทธรูปนาคปรกที่ซุ้มด้านหลังของมณฑปวัดชมชื่น ซึ่งปรากฏหลักฐานในภาพถ่ายเก่า เมื่อครั้งเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเสด็จประพาสเมืองศรีสัชนาลัย แต่ในปัจจุบันเหลือเพียงซุ้มและร่องรอยของเกล็ดพญานาคเท่านั้น
พระพุทธรูปนาคปรกทั้ง ๓ องค์ล้วนสร้างจากปูนปั้นทั้งสิ้น
เครดิตภาพถ่ายเก่า : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ












(จำนวนผู้เข้าชม 9895 ครั้ง)