วัสดุ ดินเผา
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรม (ประมาณ 2,500-1,800ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านสำโรง อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
พบได้ทั่วไปในแหล่งโบราณคดีในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ ศาสตราจารย์ชาร์ลไฮแอม แห่งมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ขุดพบครั้งแรกที่แหล่งโบราณคดีโนนเดื่อ ดอนตาพัน บ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ.2520
ลักษณะเด่น
ภาชนะเนื้อสีขาว หรือสีส้ม ความหนาเฉลี่ยโดยประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ จากนั้นลบลายให้เรียบแล้วทาน้ำดินทับในแนวขวาง ซึ่งน้ำดินที่นิยมจะมีสีส้ม น้ำตาล ดำ และแดง
เนื้อดิน
เมื่อเผาสุกแล้วเนื้อดินจะมีสีขาว (ดินเกาลิน) เป็นแบบเนื้อดินธรรมดา (earthen ware) เนื้อดินผสมดินเชื้อ (grog) การปั้นภาชนะขนาดเล็กจะปั้นบางมาก
การตกแต่ง
นิยมตกแต่งผิวภาชนะด้วยลายเชือกทาบ โดยทาบด้วยเชือกเส้นเล็กๆ อย่างเป็นระเบียบ และทำให้เรียบ แล้วทาด้วยน้ำดินเป็นแถบ น้ำดินที่ใช้ทำมีสีแดง สีน้ำตาล สีดำ
(จำนวนผู้เข้าชม 1814 ครั้ง)