เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ประติมากรรมพระสาวก
เนื่องในวันมาฆบูชาที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ตามปฏิทินสุริยคติ อันเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ให้กับพระอรหันตสาวก ที่มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ภายหลังจากที่ได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ยังดินแดนต่าง ๆ จึงขอนำเรื่องราวของคติความนิยมในการสร้างประติมากรรมพระสาวกมาเผยแพร่ให้ทราบกัน
พระอรหันตสาวกเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา และมักได้รับ การกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในเหตุการณ์พุทธประวัติ โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชาซึ่งอาจเป็นคติความเชื่อ ที่ส่งผลให้เกิดความนิยมในการสร้างประติมากรรมพระสาวกขึ้นซึ่งเราจะพบได้ในทุกศิลปะของไทย ในสมัยสุโขทัย ก็พบว่ามีความนิยมสร้างประติมากรรมพระสาวกเช่นกัน โดยมีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสุโขทัยแต่มีความแตกต่างในรายละเอียดเล็กน้อย คือขมวดผมเป็นก้นหอย แต่ไม่มีพระรัศมีและเกตุมาลา หน้ารูปไข่ คิ้วโก่ง จมูกงุ้ม ห่มจีวรเฉียง ชายสังฆาฏิยาวถึงหน้าท้องปลายทำเป็นริ้วคล้ายเขี้ยวตะขาบ มักแสดงอิริยาบถหลากหลาย เช่น นั่งพับเพียบประนมมือที่หน้าอก อยู่ในท่านั่งขัดสมาธิ ยืน หรือเดิน //พระอรหันตสาวกทั้งหลาย อาทิ พระมาลัย พระสีวลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระอานนท์ พระสารีบุตร หรือพระโมคคัลลานะ เป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่มาจนทุกวันนี้ อีกทั้งเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิด การสร้างประติมากรรมพระสาวกขึ้นซึ่งยังคงสืบทอดคติความเชื่อนี้มาจนถึงปัจุบัน
---------------------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
(จำนวนผู้เข้าชม 887 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน