เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมศิลปากรจับมือสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนงานด้านมรดกทางวัฒนธรรม
วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๔) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร และรองศาสตราจารย์ ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมศิลปากร กับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางโบราณคดี และการฟื้นฟู อนุรักษ์สงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของกรมศิลปากร
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการขึ้น เพื่อประสานความร่วมมือทางวิชาการในการศึกษา วิจัยและพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน นำมาใช้ศึกษา ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และบูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน กับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดีและการอนุรักษ์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการประยุกต์เทคโนโลยีแสงที่มีในปัจจุบันมาใช้สนับสนุนภารกิจของกรมศิลปากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอน ในการศึกษาวัตถุที่มีคุณค่าทางโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรม เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องด้วยแสงซินโครตรอนมีประสิทธิภาพสูง สามารถศึกษาความหลากหลาย ความซับซ้อนของโครงสร้างและองค์ประกอบในวัตถุโบราณ และยังสามารถใช้ศึกษาธาตุองค์ประกอบที่มีปริมาณน้อย ตรวจวัดข้อมูลที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่ได้ โดยเทคนิคแสงซินโครตรอนหลายเทคนิคนั้น ไม่ทำลายตัวอย่างที่นำมาตรวจวิเคราะห์ จึงตอบโจทย์การวิเคราะห์วัตถุทางโบราณคดีได้เป็นอย่างดี
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เคยให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนการศึกษาวิจัยทางโบราณคดี ได้แก่ ๑) งานวิจัยลูกปัดแก้วแบบอินโดแปซิฟิคที่พบในภาคใต้ของประเทศไทยในการค้นหาธาตุที่ให้สี ๒) งานวิจัยเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเพื่อจำแนกวัตถุทำลอกเลียนแบบ โดยวิเคราะห์หาธาตุบ่งชี้บางชนิด ๓) งานวิจัยสำริดโบราณจากแหล่งโบราณคดีโนนป่าช้าเก่า จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาองค์ประกอบของธาตุและศึกษาสภาพการกัดกร่อนพบว่าเครื่องมือถูกกัดกร่อนจากคลอรีนซึ่งมีอยู่ในสภาพแวดล้อมเป็นตัวการ และในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนมีหัวข้อการปฏิบัติงานเพื่อให้ความอนุเคราะห์สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ในการศึกษา จำแนกวัสดุที่นำมาใช้ผลิตลูกปัดโดยการใช้แสงซินโครตรอนตรวจสอบสเปกตัมที่แสดงโครงสร้างของวัตถุว่าผลิตมาจากเปลือกหอยหรือปะการังหรือซากฟอสซิลบางประเภท และให้ความอนุเคราะห์สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ศึกษาด้านโบราณโลหะวิทยาโดยศึกษาองค์ประกอบแร่ธาตุจากเหล็กจากแหล่งอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และศึกษาแหล่งแร่
(จำนวนผู้เข้าชม 1762 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน