เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
ประวัติการถ่ายภาพ (ตัวอย่างภาพวัดในกรุงเทพมหานคร)
ภาพถ่าย ถือเป็นหลักฐานทางโบราณคดีประเภทหนึ่ง ที่ทำให้นักโบราณคดีใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการอธิบายเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตได้ ก่อนจะเกิดภาพถ่ายแบบที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มนุษย์มีการบันทึกความทรงจำจากการวาดเขียนสิ่งที่จดจำมาจากเหตุการณ์ที่เคยได้เจอ ผสมผสานกับจินตนาการและความเชื่อ จนทำให้เกิดภาพที่เรียกได้ว่า เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ ภาพเขียนสีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ เกิดการบันทึกภาพจากการสร้างห้องมืด เรียกว่า คาเมรา ออบสคูรา และเกิดการจำลองภาพโครงทึบ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีการบันทึกภาพด้วยแสงเป็นภาพ ทำให้สามารถถ่ายรูปชนิดแบบติดถาวรได้รูปแรกของโลก โดย เนียพซ์ และในช่วงเวลาเดียวกันการถ่ายภาพถูกพัฒนาไปจนมีการประกาศวิธีการถ่ายรูปอย่างเป็นทางการสู่สาธารณะชน โดยเรียกระบบนี้ว่า “ดาแกร์โรไทพ์” หรือ “ทัลบอต”
หลังจากที่ดาแกร์คิดค้นและประกาศวิธีการดังกล่าว การถ่ายภาพได้รับความนิยมอย่างมาก และกระจายไปยังดินแดนต่าง ๆ อย่างอินเดีย สิงคโปร์ และสยาม การนำเข้ามาในสยามนี้ เกิดจากการที่พระสังฆราชปาเลอกัว ได้ทดลองและเรียนรู้การถ่ายภาพร่วมกับ คุณพ่อยังบัปติส ปรังซัว หลุยส์ ลาร์โนดี ดังเอกสารจดหมายที่พระสังฆราชปาเลอกัวส์กับเพื่อน ๆ บาทหลวงที่ประจำอยู่ที่ศูนย์มิชชันนารีที่มาเก๊าและปารีส จดหมายฉบับนี้ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๘๘ ความว่า “...ข้าพเจ้าได้ทดลองถ่ายรูปโดยใช้กล้องดาแกร์ พร้อมกับคุณลาโนร์ดีแล้ว...ข้าพเจ้าใช้เกือบหมดแล้ว เพราะข้าพเจ้าได้ถ่ายรูปพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญอีกหลายคนที่มาหา...” ภายหลัง ลาร์โนดี จึงนำกล้องถ่ายรูปเข้ามายังสยาม และทำให้การถ่ายภาพเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชนชั้นสูง หลังจากนั้นประชาชนจึงเริ่มรู้จักเทคโนโลยีการถ่ายภาพและนิยมบันทึกความทรงจำให้รูปแบบการถ่ายภาพตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การถ่ายภาพมีเรื่อยมาและมีผลงานให้เห็นมาจนจึงทุกวันนี้ และภาพถ่ายเก่าบางภาพเป็นภาพที่ถ่ายในโอกาสต่าง ๆ ทำให้โบราณสถานสำคัญได้รับการบันทึกเอาไว้ด้วย เช่น ภาพที่เจ้านายทรงทำบุญในงานรื่นเริง ซึ่งถ่ายติดศาลาสี่สมเด็จและพระที่นั่งทรงผนวชของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ภาพที่ ๑) บางภาพเป็นภาพถ่ายมุมสูงที่ถ่ายโดย วิลเลียมส์ ฮันท์ ซึ่งต้องการถ่ายให้เห็นสภาพสถานที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ ในมุมกว้าง เพื่อต้องการเปรียบเทียบสภาพพื้นที่หากเกิดระเบิดเสียหายจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ ๒ โอกาสนี้ทำให้บางวัดถูกบันทึกภาพไปด้วย เช่น ภาพมุมสูงวัดอินทรวิหาร (มองเห็นหลวงพ่อโต (สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต) พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่) ภาพมุมสูงยังถ่ายติดวัดใหม่อมสรส (ภาพที่ ๒) หรือ ภาพวัดราชบูรณะราชวรวิหาร ในช่วงที่พระปรางค์เสียหายจากแรงระเบิด ดังนั้นภาพถ่ายต่าง ๆ ของวัดยังมีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบสภาพเดิมของวัดในอดีตกับปัจจุบันด้วย เช่น ภาพพระปรางค์เดิมของวัดราชบูรณะราชวรวิหารดังที่กล่าวไป หรือ ภาพอุโบสถวัดเบญจมบพิตรขณะกำลังปฏิสังขรณ์ เป็นต้น (ภาพที่ ๓ และ ภาพที่ ๔)
ภาพที่ ๑ ภาพที่เจ้านายทรงทำบุญในงานรื่นเริง ซึ่งถ่ายติดศาลาสี่สมเด็จและพระที่นั่งทรงผนวชของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
ที่มา : ภาพจากหอจดหมายเหตุ
ภาพที่ ๒ วัดอินทรวิหาร และวัดใหม่อมตรส ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพที่ ๓ วัดเบญจมบพิตรขณะกำลังปฏิสังขรณ์
ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพที่ ๔ วัดราชบูรณะ พระปรางค์ที่โดนแรงระเบิด
ที่มา : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
-----------------------------------------------------
เรียบเรียงข้อมูล : สุวิมล เงินชัยโรจน์ กองโบราณคดี
-----------------------------------------------------
บรรณานุกรม
เอกสารอ้างอิง
ไกรฤกษ์ นานา. “ภาพมุมกว้าง: กรุงรัตนโกสินทร์เก่าที่สุดภาพแรกไม่ได้ถ่ายจากกล้องถ่ายรูป.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๙, ๔ (กุมภาพันธ์๒๕๕๑): ๘๖ – ๑๐๔.
โจคิม เค. เบ้าวท์ซ. ฉายาลักษณ์สยาม: ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ.๒๔๐๓ – ๒๔๕๓. แปลจาก Unseen Siam: Early Photography ๑๘๖๐ – ๑๙๑๐. แปลโดยจุฑามาส อรุณวรกุลและไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, ๒๕๕๙.
นิตยา ชำนาญป่า. “ภาพถ่ายกับงานประวัติศาสตร์ศิลปะ” การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓.
ศักดา ศิริพันธุ์. กษัตริย์กับกล้อง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๓๕.
สุรชาติทินานนท์. ศิลปะภาพถ่าย 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาอศ 231 ศิลปะภาพถ่าย1 คณะ ศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เอนก นาวิกมูล. ถ่ายรูปเมืองไทยสมัยแรก. กรุงเทพฯ: แสงแดด, ๒๕๓๐. ________. ประวัติการถ่ายรูปยุคแรกของไทย. กรุงเทพฯ: สารคดี, ๒๕๕๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 1435 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน