แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ จังหวัดสตูล
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกแหล่งที่ทำให้เราได้ทราบถึงกลุ่มคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมชนภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน นั้นคือ แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ
แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๗ บ้านบูเก็ตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เพิงผาแห่งนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขาหาน แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าเขาปาโต๊ะโระ
สภาพทั่วไป
แหล่งโบราณคดีมีลักษณะเป็นเพิงผาหันหน้าออกทางทิศตะวันออก มีขนาด ๓๐ X ๑๖ เมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๔๖ เมตร บริเวณด้านหน้าของเพิงผาห่างออกไปประมาณ ๑๐ เมตร มีลำห้วยดุสนไหลผ่าน
การขุดค้นทางโบราณคดี
สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณเพิงผาปาโต๊ะโระ ในปีพ.ศ.๒๕๕๓ โดยทำการขุดค้นจำนวน ๑ หลุม จากการขุดค้นพบโครงกระดูกจำนวน ๒ โครง
โครงกระดูกหมายเลข ๑ เป็นโครงกระดูกเด็ก อายุเมื่อตายประมาณ ๖ ปี นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก โบราณวัตถุที่พบเป็นสิ่งของอุทิศให้แก่ผู้ตาย ได้แก่
- ลูกปัดกระดูกทรงกระบอก มีลายคล้ายดอกไม้ จำนวน ๘ เม็ด
- ลูกปัดทรงกระบอก ไม่มีลาย จำนวน ๕ เม็ด
โครงกระดูกหมายเลข ๒ โครงกระดูกผู้ใหญ่ เพศหญิง อายุเมื่อตายประมาณ ๓๐-๓๕ ปี นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก โบราณวัตถุที่พบเป็นสิ่งของอุทิศให้แก่ผู้ตาย ได้แก่
- ภาชนะดินเผาเนื้อดิน จำนวน ๔ ใบ
- ขวานหินขัด จำนวน ๑ ชิ้น
- ขวานหินขัดแบบจงอยปากนก จำนวน ๑ ชิ้น
- กำไลหิน จำนวน ๑ ชิ้น - กำไลเปลือกหอย จำนวน ๑ ชิ้น
- ลูกปัดกระดูก จำนวน ๘๖ เม็ด
- ลูกปัดเปลือกหอย จำนวน ๕ เม็ด
- เขี้ยวสัตว์ จำนวน ๒ ชิ้น
- กระดูกสัตว์ จำนวน ๑๕๘ ชิ้น
- เปลือกหอย จำนวน ๒๕๗ ชิ้น
การกำหนดอายุ
การกำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescent : TL) สามารถกำหนดอายุ และแสดงลำดับการใช้พื้นที่บริเวณเพิงผาปาโต๊ะโระ ของมนุษย์ในสมัยโบราณได้ดังนี้ ๑.มีการเข้ามาใช้พื้นที่โดยมนุษย์ครั้งแรก (ที่อยู่อาศัย) เมื่อราว ๑๙,๒๐๐ ปีมาแล้ว ๒.มีการเข้ามาใช้พื้นที่โดยมนุษย์ครั้งที่ ๒ (ที่อยู่อาศัย) เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ๓.หลุมฝังศพหมายเลข ๒ ถูกฝังเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ๔.หลุมฝังศพหมายเลข ๑ ถูกฝังเมื่อราว ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว
--------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากร ๑๑ สงขลา
แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโระ ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๗ บ้านบูเก็ตยามู ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เพิงผาแห่งนี้เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขาหาน แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าเขาปาโต๊ะโระ
สภาพทั่วไป
แหล่งโบราณคดีมีลักษณะเป็นเพิงผาหันหน้าออกทางทิศตะวันออก มีขนาด ๓๐ X ๑๖ เมตร อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๔๖ เมตร บริเวณด้านหน้าของเพิงผาห่างออกไปประมาณ ๑๐ เมตร มีลำห้วยดุสนไหลผ่าน
การขุดค้นทางโบราณคดี
สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณเพิงผาปาโต๊ะโระ ในปีพ.ศ.๒๕๕๓ โดยทำการขุดค้นจำนวน ๑ หลุม จากการขุดค้นพบโครงกระดูกจำนวน ๒ โครง
โครงกระดูกหมายเลข ๑ เป็นโครงกระดูกเด็ก อายุเมื่อตายประมาณ ๖ ปี นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก โบราณวัตถุที่พบเป็นสิ่งของอุทิศให้แก่ผู้ตาย ได้แก่
- ลูกปัดกระดูกทรงกระบอก มีลายคล้ายดอกไม้ จำนวน ๘ เม็ด
- ลูกปัดทรงกระบอก ไม่มีลาย จำนวน ๕ เม็ด
โครงกระดูกหมายเลข ๒ โครงกระดูกผู้ใหญ่ เพศหญิง อายุเมื่อตายประมาณ ๓๐-๓๕ ปี นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก โบราณวัตถุที่พบเป็นสิ่งของอุทิศให้แก่ผู้ตาย ได้แก่
- ภาชนะดินเผาเนื้อดิน จำนวน ๔ ใบ
- ขวานหินขัด จำนวน ๑ ชิ้น
- ขวานหินขัดแบบจงอยปากนก จำนวน ๑ ชิ้น
- กำไลหิน จำนวน ๑ ชิ้น - กำไลเปลือกหอย จำนวน ๑ ชิ้น
- ลูกปัดกระดูก จำนวน ๘๖ เม็ด
- ลูกปัดเปลือกหอย จำนวน ๕ เม็ด
- เขี้ยวสัตว์ จำนวน ๒ ชิ้น
- กระดูกสัตว์ จำนวน ๑๕๘ ชิ้น
- เปลือกหอย จำนวน ๒๕๗ ชิ้น
การกำหนดอายุ
การกำหนดอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescent : TL) สามารถกำหนดอายุ และแสดงลำดับการใช้พื้นที่บริเวณเพิงผาปาโต๊ะโระ ของมนุษย์ในสมัยโบราณได้ดังนี้ ๑.มีการเข้ามาใช้พื้นที่โดยมนุษย์ครั้งแรก (ที่อยู่อาศัย) เมื่อราว ๑๙,๒๐๐ ปีมาแล้ว ๒.มีการเข้ามาใช้พื้นที่โดยมนุษย์ครั้งที่ ๒ (ที่อยู่อาศัย) เมื่อราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ๓.หลุมฝังศพหมายเลข ๒ ถูกฝังเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ๔.หลุมฝังศพหมายเลข ๑ ถูกฝังเมื่อราว ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว
--------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากร ๑๑ สงขลา
(จำนวนผู้เข้าชม 2537 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน