เครื่องมือช่วยการเข้าถึง
keyboard navigation
block animations
color contrast
เฉดสีเทา
สีปกติ
สีกลับกัน
text size
เพิ่มขนาดตัวอักษร
ลดขนาดตัวอักษร
readable
text
highlighting content
underline
links
underline
headers
images
titles
zoom in
big white
cursor
big black
cursor
zoom
screen
accessibility statement
report an accessibility problem
ล้างค่า
เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
วัดศรีสวาย เมืองสุโขทัย
วัดศรีสวายตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดมหาธาตุ และอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศใต้ โบราณสถานสำคัญประกอบไปด้วยปรางค์ ๓ องค์ ที่มีรูปแบบศิลปะลพบุรี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม แต่ลักษณะของปรางค์ค่อนข้างเพรียวตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนเหมือนลายบนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ได้พบทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ ส่วนด้านหน้าขององค์ปรางค์ มีวิหาร ๒ หลังที่สร้างเชื่อมต่อกัน โบราณสถานทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งก่อด้วยศิลาแลง
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบทำให้สันนิษฐานว่าวัดศรีสวายสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และมีการบูรณะเพิ่มเติมในสมัยอยุธยา สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า วัดนี้เดิมคงเป็นเทวสถานและคงมีชื่อเรียกว่า “ศรีศิวายะ” ซึ่งหมายถึงพระศิวะ และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ พระบรมโอรสาธิราชได้เสด็จประพาสและทรงพบรูปพระสยม “พระศิวะ” ในวิหารและหลักไม้ปักอยู่ในโบสถ์ซึ่งทรงสันนิษฐานไว้ว่า “เดิมคงเป็นโบสถ์พราหมณ์ใช้ในพิธีโล้ชิงช้า(ตรียัมปวาย)” บริเวณรอบนอกกำแพงแก้วมีสระน้ำ ชาวบ้านเรียกว่า “สระลอยบาป” ตามศาสนาฮินดู อาจใช้ในพิธีลอยบาปหรือล้างบาป ในเวลาต่อมาวัดนี้จึงถูกแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนา
//ข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
(จำนวนผู้เข้าชม 27531 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน