คติการวางฤกษ์ของปราสาทวัฒนธรรมเขมรโบราณ
             การวางฤกษ์ เป็นพิธีกรรมหรือประเพณีในการก่อสร้างอาคารเพื่อรวมความสวัสดิมงคล ให้เกิด ณ สถานที่นั้นก่อนการก่อสร้าง โดยมักวางแผ่นอิฐ แผ่นศิลา หรือสิ่งของมงคลไว้บริเวณใต้ฐาน ของอาคาร ก่อนจะสร้างสิ่งก่อสร้างเหนือพื้นที่นั้น
             การวางฤกษ์ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่มีการก่อสร้างศาสนสถาน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ทั้งในวัฒนธรรมทวารวดี และวัฒนธรรมเขมร (สมัยก่อนเมืองพระนคร) จากการดำเนินงานทางโบราณคดีทั้งการขุดศึกษาและการบูรณะโบราณสถานประเภทปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณซึ่งอยู่ในในความรับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้พบหลักฐานต่าง ๆ ที่นำมา ซึ่งการศึกษาด้านคติความเชื่อในการวางฤกษ์ปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณ โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่ การวางฤกษ์แบบไม่ใช้แผ่นศิลาฤกษ์ การวางฤกษ์แบบใช้แผ่นศิลาฤกษ์ ซึ่งจำแนกรูปแบบการวางฤกษ์ออกได้ตามแต่ละยุคสมัยของปราสาท ทั้งนี้ จากการค้นพบล่าสุดใน พ.ศ. ๒๕๖๓ นำมาซึ่งข้อมูลการวางฤกษ์รูปแบบใหม่ในประเทศไทย นั่นคือ การวางฤกษ์โดยใช้ประติมากรรมรูปเต่าเป็นแท่นบรรจุวัตถุมงคลแทนแผ่นศิลาฤกษ์ โดยประติมากรรมรูปเต่าลักษณะใกล้เคียงกันนี้เคยค้นพบในประเทศกัมพูชา และคงมีความสัมพันธ์กับโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และคติความเชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงคติความเชื่อ ในการจำลองจักรวาล
ตัวอย่างไฟล์แนบ PDF:


จำนวนผู้เข้าชม 0คน


Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.