ประติมากรรมรูปยักษ์
ประติมากรรมรูปยักษ์ ประติมากรรมรูปยักษ์ จัดเป็นประติมากรรมที่เก่าที่สุดในบรรดาเหล่าเทพทั้งหมด ในงานศิลปกรรมยุคต้นของอินเดีย รูปยักษ์มีลักษณะเป็นนักรบที่น่าเกรงขามหรือมีรูปร่างที่ใหญ่โต อ้วนท้วน และเหมือนกับคนแคระ ส่วนยักษี มีรูปเป็นหญิงสาวสวยงาม ใบหน้ากลมมีความสุข หน้าอกและสะโพกใหญ่ มักอยู่ในลักษณะเหนี่ยวกิ่งไม้ ขาข้างหนึ่งไขว้ทำท่ากระทุ้งกับต้นไม้ เพื่อให้เกิดดอก ผล แสดงความอุดมสมบูรณ์ Among all the sculptures of gods, yaksha sculptures are the oldest. In early Indian art, yaksha image appeared as that of a formidable warrior or one who had a big and stout body like dwarf, whereas yakshi or the female yaksha had an image of a beautiful young woman with a happy round face and full breasts and hips. She was often in the manner of pulling down a branch with one leg crossing and tamping a tree in order to produce flowers, fruits and show fertility. ภาพ: ภาพยักษิณีหรือนางไม้ยืนเหนี่ยวกิ่งไม้ภาพสลักเสารั้วรอบสถูปที่ภารหุต ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ(พุทธศตวรรษที่ ๓ - ๖) สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ภาพจากหนังสือศิลปะอินเดีย |