ครุฑสมัยสุโขทัย

ครุฑสมัยสุโขทัย การรับรู้มี ๒ แนวคิดเช่นเดียวกัน คือ ครุฑตามคติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และครุฑตามคติทางพระพุทธศาสนาเถรวาท งานศิลปกรรมที่สะท้อนแนวคิดเรื่องครุฑพบที่ศาสนสถานไม่มากนัก เช่น ครุฑปูนปั้นประดับชั้นเชิงบาตร ปรางค์ วัดศรีสวาย ชิ้นส่วนครุฑปูนปั้นตกแต่งศาสนสถาน จากวัดพระพายหลวงเมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังพบเครื่องสังคโลกประดับสถาปัตยกรรม เช่น ชิ้นส่วนปั้นลมรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
พบจากเตาทุเรียงเมืองสุโขทัย ชิ้นส่วนรูปครุฑ พบจากศาสนสถานเมืองสุโขทัย ส่วนยอดเจดีย์ทรงปรางค์จำลอง มีรูปครุฑประดับสี่ด้าน เป็นต้น
In Sukhothai period, Garuda was perceived in the beliefs of two religions: Bramanism and Theravada Buddhism. Garuda stucco decorating the Prang of Wat Si Sawai and fragments of Garuda decorating the sanctuary of Wat Phra Pai Luang in Sukhothai Province. There are also Sangkhalok ceramic architectural decorations, such as a part of a gable-end depicting Vishnu riding Garuda found in Turiang Kiln, a fragment of Garuda from the sanctuary in the Historic Town of Sukhothai, a finial of the model of the prang with Garudas at the four corners and so on.

ภาพ: ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมสังคโลกรูปครุฑ
ศิลปะสุโขทัยได้จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย



Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

Messenger