Search
Thai
English
กรมศิลปากร
The Fine Arts Department
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม
ระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ Virtual Museum / Virtual Historical Park
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการ-เข้าชม (สำหรับครู-นักเรียน)
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมศิลปากร
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
นิทรรศการ
นิทรรศการตู้พระธรรม
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
คลังภาพทรงคุณค่า
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
องค์กรคุณธรรม
กระดานถาม-ตอบ
ติดต่อ
ITA.
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
นางหาริตี
นางหาริตี
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔
วัสดุสัมฤทธิ์
ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระราชทานมาให้พิพิธภัณฑสถาน
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปสตรีสัมฤทธิ์ รวบผมเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย สวมกระบังหน้ามีกรรเจียกจร กรองศอ สร้อย รัดต้นแขน และกำไลข้อมือ นุ่งผ้ายาว อยู่ในท่านั่งเท้าแขนซ้ายกับแท่น พับขาซ้าย ห้อยขาขวา โดยที่มือขวาประคองกุมารที่กำลังดูดนมจากอก ด้านหลังมีหมอนอิง ส่วนกุมารสวมตุ้มหู กรองศอ ในมือขวาถือวัตถุ มือซ้ายโอบหลังสตรี กุมารนุ่งผ้ายาวจรดข้อเท้า และสวมกำไลข้อเท้า
ประวัติที่มาของประติมากรรมชิ้นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในลายพระหัตถ์ทูล สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๗ เมื่อหม่อมฉันตามเสด็จขึ้นไปมณฑลพายัพ ไปเห็นรูปหล่อของโบราณทำเป็นรูปผู้หญิงอุ้มทารกมีอยู่ที่ บ้านพระพิทักษ์นายตำรวจภูธร หม่อมฉันเห็นแปลกขอเขาเอาลงมาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถาน ทีหลังสังเกตดูรูปนั้นออกประหลาดใจด้วยรูปทารกทำแบบโบราณ เช่นใส่ตุ้มหูเป็นกะแปะเหมือนอย่างภาพที่นครปฐม แต่ตัวนางนั้นทำหน้าและเกล้าผมเป็นแบบใหม่เหมือนอย่างเจ้าพราหมณ์ที่เล่นละคร เกิดสงสัยเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ให้เอารูปนั้นออกขัดสีดู ก็แลเห็นทองที่หล่อหัวนางผิดสีกับทองที่หล่อตัว หัวเป็นของหล่อต่อภายหลัง ส่อให้เห็นว่าหัวเดิมคงจะถูกต่อยทิ้งในพิธีเสียกะบาล ได้ความรู้เพิ่มขึ้นว่าพิธีเสียกะบาลนั้น ต้องเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ทีเดียว...”
รูปสตรีสัมฤทธิ์นี้ สันนิษฐานว่า เป็นรูปนางหาริตี (Hārītī) ยักษินีในพุทธศาสนานิกายมหายาน มีหน้าที่คุ้มครองเด็กและเป็นผู้พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา ตามตำนานกล่าวว่าเดิมนางชื่อ อภิรตี เป็นน้องสาวของยักษ์ชื่อศาตศิริ (ยักษ์ผู้รักษาเมืองราชคฤห์) ต่อมานางแต่งงานกับยักษ์ปาญจิกาและมีลูก ๕๐๐ ตน อย่างไรก็ตามด้วยอุปนิสัยชอบกินเด็ก ทำให้นางมักขโมยเด็กเมืองราชคฤห์มากินเสียเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า “หาริติ” แปลว่า ผู้ขโมยเด็ก ชาวเมืองราชคฤห์ได้รับความเดือดร้อนมากจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระพุทธเจ้าจึงได้นำลูกคนเล็กในบรรดาบุตร ๕๐๐ ตน นามว่า “ปริยังกร” ไปซ่อน เมื่อนางหาริตีหาปริยังกรไม่เจอก็เกิดความเศร้าโศกเสียใจจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์ช่วยตามหา พระองค์จึงตรัสสั่งสอนจนนางหาริตีสำนึกผิดและกลับใจได้ พระพุทธเจ้าจึงคืนบุตรคนเล็กให้นาง ซึ่งต่อมาบุตรทั้ง ๕๐๐ ตนได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าจนบรรลุธรรมทั้งหมด รูปเคารพนางหาริตีพบได้แพร่หลายทั้งใน ธิเบต เนปาล จีน ชวา โดยทั่วไปมักทำเป็นรูปยักษินี (หาริตี) ทั้งแบบนั่งห้อยขาข้างหนึ่งหรือยืน ทำท่าอุ้มเด็กไว้บนหน้าตักหรือแนบอก โดยที่มือข้างหนึ่งถือผลทับทิมอันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งประติมากรรมนางหาริตียังปรากฏคู่กับยักษ์ปาญจิกา สามีของนาง
อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมรูปสตรีอุ้มเด็กที่กำลังดูดนมดังกล่าว ยังอาจสื่อถึงตอนพระกฤษณะดูดนมอสูรปุตนะ (Putana) ตามเนื้อเรื่องกฤษณาวตาร มีเนื้อเรื่องว่า พระกฤษณะเติบโตท่ามกลางหมู่คนเลี้ยงโค ในช่วงขวบปีแรกพญากังสะส่งอสูรถึงสามตนเพื่อทำร้ายพระองค์ อสูรตนแรกคือปุตนะ (Putana) แปลงร่างเป็นหญิงสาวมาให้นมพระกฤษณะ โดยใส่ยาพิษไว้ในนม แต่พระกฤษณะรู้ทันจึงดูดนมจนอสูรปุตนะทนไม่ไหวสิ้นชีพลงในที่สุด
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๐.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๐. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๘ มกราคม ๒๕๖๕, จาก httpsvajirayana.orgสาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๐พฤศจิกายนวันที่-๑๘- พฤศจิกายน-พศ-๒๔๘๐-ดรfbclid=IwAR2ddusVr2G627J1-ELwQ1LQMvjbZadK2M1P- p7ira10rDyMlRjoCxLmqcY
ผาสุข อินทราวุธ. พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ อักษรสมัย, ๒๕๔๓.
ส. พลายน้อย (นามแฝง). เทวนิยาย. พิมพ์ครั้งที่๔. กรุงเทพฯ ยิปซี, ๒๕๕๕.
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน