ภาชนะดินเผาทรงปากแตร
เลขทะเบียน ๐๙/๓/๒๕๔๗ ๐๙/๒๖/๒๕๓๑
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสำริด
อายุประมาณ ๓,๕๐๐ – ๒,๕๐๐ ปี มาแล้ว
ดินเผา ขนาด ๑. สูง ๑๐.๕ เซนติเมตร
ปากกว้าง ๑๑.๕ เซนติเมตร
๒. สูง ๑๙.๕ เซนติเมตร
ปากกว้าง ๑๖.๓ เซนติเมตร
พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้มีกลุ่มชนโบราณเริ่มเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยและฝังศพอยู่บริเวณเนินดินบ้านปราสาท และมีความสามารถในการผลิตภาชนะดินเผาที่มีรูปแบบสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะทรงปากแตรมีลักษณะคล้ายคนโฑ คอแคบ ปากผายออก เคลือบผิวด้วยน้ำดินสีแดงและขัดมัน บางใบมีการตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ หรือลายเขียนสีคล้ายแบบบ้านเชียง
ภาชนะดินเผาเป็นโบราณวัตถุที่พบมากในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการขุดค้นได้พบหลักฐานว่า ภาชนะดินเผารู้จักทำกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่แล้ว เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะใช้เป็นภาชนะสำหรับปรุงอาหาร ใส่อาหาร หรือเก็บถนอมอาหาร และภาชนะที่ทำขึ้นใช้ในพิธีกรรม โดยเฉพาะประเพณีการฝังศพ
Pottery
Registration No. 09/3/2547, 09/26/2531
Earthenware, 1. Height 10.5 cm.
Rim diameter 11.5 cm.
2. Height 19.5 cm.
Rim diameter 16.3 cm.
Bronze Age, Prehistoric period: ca. 3,500 – 2,500 years ago.
Found during the excavation of the Ban Prasat archaeological site, Ban Prasat, Non Sung district, Nakhon Ratchasima province.
Potteries excavated at Ban Prasat are unique and feature various forms. However, a well-known distinguishing mark is the red slipped, burnished, trumpet rim of the globular pots. Namely, a narrow neck, a wide trumpet-like mouth and red slipped, burnished surface.
Evidence from the excavation site has found that the pottery was made during the Neolithic Period. The pots were used for many purposes such as storing food and water, and for burial purposes.