ป้อมทุ่งเศรษฐี
ป้อมทุ่งเศรษฐี
..
ป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่ในเขตตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 79 ตอนที่ 58 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2505 กำหนดเขตที่ดินของโบราณสถาน เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน
.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้คำจำกัดความว่า ป้อม คือ หอรบ หรือที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธ
.
ป้อมทุ่งเศรษฐีมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีป้อมประจำมุมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปหัวลูกศร ป้อมมีความหนา 3.5 เมตร ในแต่ละด้านมีขนาดกว้าง 83 เมตร แนวกำแพงป้อมสูง 5 เมตร คงเหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ 3 ด้าน โดยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้ถูกรื้อถอนหลงเหลือเพียงแนวฐานกำแพง
.
ที่บริเวณกึ่งกลางของแนวกำแพงแต่ละด้านมีช่องประตูกว้าง 3 เมตร กำแพงด้านนอกก่อเป็นผนังสูง ด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นใบเสมาสูง 1 เมตร ช่องระหว่างใบเสมาสันนิษฐานว่าใช้สำหรับยิงอาวุธหรือสังเกตการณ์ ผนังกำแพงด้านในทุกด้านมีซุ้มคูหาลักษณะเป็นช่องเจาะลึกเข้าไปในกำแพงเป็นยอดแหลมแบบใบเสมาด้านละ 6 ช่อง ขนาดกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร และลึก 1.8 เมตร
.
ป้อมประจำมุมวางตัวทแยงกับแนวแกนทิศ โดยมุมของป้อมทั้ง 4 จะหันไปทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ผนังด้านในมีซุ้มคูหาลักษณะเช่นเดียวกับซุ้มคูหาบริเวณผนังกำแพงป้อม จำนวนด้านละ 6 ช่อง
.
ป้อมทุ่งเศรษฐีก่อด้วยศิลาแลงสอปูน ศิลาแลงที่ใช้ก่อสร้างมีขนาดกว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร และหนา 6-15 เซนติเมตร
..
ภายในซุ้มคูหาจะมีช่องขนาดเล็กลักษณะเป็นซุ้มยอดแหลมสูง 0.4 เมตร ก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) ทะลุถึงด้านนอกกำแพง นอกจากนี้ยังมีการก่อศิลาแลงลักษณะพิเศษแบบสันโค้ง (True Arch) ที่แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้
.
การก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบวางซ้อนแต่ละขั้นเหลื่อมกันในแต่ละด้านอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมาบรรจบกันที่จุดกึ่งกลางเกิดเป็นส่วนโค้ง เพื่อรองรับน้ำหนักด้านบน แต่ไม่ใช่โครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง
.
การก่อแบบสันโค้ง (True Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบเรียงอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันขึ้นไปจนมาบรรจบกับอิฐหน้าวัวที่เป็นจุดกึ่งกลาง เกิดเป็นโครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก
..
รูปแบบการก่อสร้างป้อมและแนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมานั้น เป็นรูปแบบจากอิทธิพลตะวันตก ในพุทธศตวรรษที่ 21-22 ดังข้อสันนิษฐานของ นายประทีป เพ็งตะโก อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในบทความเรื่อง ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา ว่า “…เป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปมีบทบาทอยู่ในราชสำนักอยุธยามากที่สุดในขณะนั้น น่าจะมีส่วนในการออกแบบกำแพงเมืองและป้อมที่มีเชิงเทินและใบเสมา สำหรับเป็นที่กำบังกระสุนปืนให้สอดคล้องกับการสู้รบที่มีการใช้ปืนใหญ่ตามแบบตะวันตก ดังนั้นเอกสารทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ ต่างรับรองในแนวเดียวกันว่ากำแพงก่ออิฐของอยุธยาน่าจะสร้างในระหว่างรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระมหาธรรมราชาหรือทั้งสองรัชกาล...”
.
จากการศึกษาพบว่าป้อมทุ่งเศรษฐีมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเทียบเคียงได้กับป้อมปราการที่ก่อสร้างโดยชาวตะวันตก ตัวอย่างเช่น
.
ป้อมที่สร้างโดยชาวดัตช์ เช่น ป้อมอัมสเตอร์ดาม (Fort Amsterdam) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22 รวมถึงป้อมที่สร้างโดยชาวโปรตุเกสและซ่อมแซมโดยชาวดัตช์ในเวลาต่อมา เช่น ป้อมนาสเซา (Fort Nassau) ประเทศอินโดนีเซีย กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22 ป้อมมานนาร์ (Fort Mannar) ประเทศศรีลังกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22-23
.
นอกจากนี้ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 27 เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างป้อมโดยชาวฝรั่งเศสความว่า
“...ด้วยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ เชอวาเลียเดอโชมองจึงให้เดอลามาร์ อยู่รับราชการในเมืองไทยต่อไป โดยให้มองซิเออร์เดอลามาร์ไปสร้างป้อมในที่ต่าง ๆ ตามชายทะเลในพระราชอาณาเขตร์ และจะได้สร้างป้อมใหม่ที่บางกอกเพื่อให้กองทหารฝรั่งเศสรักษา เพราะสมเด็จพระนารายณ์ได้มีรับสั่งให้ราชทูตสยามกับบาดหลวงตาซาด์ไปขอทหารฝรั่งเศสจากพระเจ้าหลุยที่ 14 แล้ว...”
.
โดยป้อมวิไชยเยนทร์ กรุงเทพมหานคร ที่ปรากฏรูปแบบในแผนผังที่เขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2231 ก็มีลักษณะรูปแบบผังใกล้เคียงกับป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร
..
จากการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Dating) หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว สันนิษฐานว่าป้อมทุ่งเศรษฐีน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-23
.
ป้อมทุ่งเศรษฐีเป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พื้นที่เมืองนครชุมในช่วงสมัยที่อยุธยามีอำนาจปกครองเมืองกำแพงเพชร และแม้ว่าความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ จะเปลี่ยนย้ายไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงที่เมืองกำแพงเพชร แต่พื้นที่ในแถบเมืองนครชุมก็ยังคงความเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะการเป็นพื้นที่หน้าด่านและฐานที่มั่น เพื่อใช้สนับสนุนในการรับศึกสงครามของอยุธยากับหัวเมืองฝ่ายเหนือและพม่า
...
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา. (2557). โครงการจัดการความรู้ เรื่อง รูปแบบ ลวดลายประดับ และวัสดุก่อสร้างของพระปรางค์สมัยอยุธยา ประจำปีงบประมาณ 2557. กรมศิลปากร.
ประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถาน. (26 มิถุนายน 2505). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 79 ตอนที่ 58. หน้า 1468.
ประทีป เพ็งตะโก. (2564). ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา. ใน ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา (หน้า 123-139). กรมศิลปากร.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2560). การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อม กำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. วิจิตรศิลป์, 8 (2), 185 - 264.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ลันเย, มองซิเออร์. (2465). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 27 เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ (อรุณ อมาตยกุล, ผู้แปล). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
ลาลูแบร์, ซิมอน เดอ. (2557). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศรีปัญญา.
สามเพชร. (2543). รายงานการขุดแต่งและขุดค้นโบราณสถาน ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. [เอกสารอัดสำเนา].
สามเพชร. (2543). รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. [เอกสารอัดสำเนา].
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2554). โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี. โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
Cyril M. Harris. (2006). Dictionary of Architecture and Construction (4th ed.). McGraw-Hill.
Jaap Jacobs. (2015). Dutch Colonial Fortifications in North America 1614-1676. New Holland Foundation.
Joëlla van Donkersgoed. (2018). Reinterpretations at Fort Nassau in the Banda Islands, Indonesia. The Newsletter, 26 (2), 40.
Smithsonian Institution. (2011). Timelines of History: The Ultimate Visual Guide to The Events That Shaped the World. Dorling Kindersley.
Urban Development Authority. (n.d.). Mannar Development Plan 2018-2030 (Volume I). Urban Development Authority.
..
ป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่ในเขตตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บริเวณทางทิศตะวันตกของแม่น้ำปิง ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 79 ตอนที่ 58 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2505 กำหนดเขตที่ดินของโบราณสถาน เนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน
.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้คำจำกัดความว่า ป้อม คือ หอรบ หรือที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธ
.
ป้อมทุ่งเศรษฐีมีลักษณะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีป้อมประจำมุมรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหรือรูปหัวลูกศร ป้อมมีความหนา 3.5 เมตร ในแต่ละด้านมีขนาดกว้าง 83 เมตร แนวกำแพงป้อมสูง 5 เมตร คงเหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ 3 ด้าน โดยด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้ถูกรื้อถอนหลงเหลือเพียงแนวฐานกำแพง
.
ที่บริเวณกึ่งกลางของแนวกำแพงแต่ละด้านมีช่องประตูกว้าง 3 เมตร กำแพงด้านนอกก่อเป็นผนังสูง ด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นใบเสมาสูง 1 เมตร ช่องระหว่างใบเสมาสันนิษฐานว่าใช้สำหรับยิงอาวุธหรือสังเกตการณ์ ผนังกำแพงด้านในทุกด้านมีซุ้มคูหาลักษณะเป็นช่องเจาะลึกเข้าไปในกำแพงเป็นยอดแหลมแบบใบเสมาด้านละ 6 ช่อง ขนาดกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร และลึก 1.8 เมตร
.
ป้อมประจำมุมวางตัวทแยงกับแนวแกนทิศ โดยมุมของป้อมทั้ง 4 จะหันไปทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ผนังด้านในมีซุ้มคูหาลักษณะเช่นเดียวกับซุ้มคูหาบริเวณผนังกำแพงป้อม จำนวนด้านละ 6 ช่อง
.
ป้อมทุ่งเศรษฐีก่อด้วยศิลาแลงสอปูน ศิลาแลงที่ใช้ก่อสร้างมีขนาดกว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร และหนา 6-15 เซนติเมตร
..
ภายในซุ้มคูหาจะมีช่องขนาดเล็กลักษณะเป็นซุ้มยอดแหลมสูง 0.4 เมตร ก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) ทะลุถึงด้านนอกกำแพง นอกจากนี้ยังมีการก่อศิลาแลงลักษณะพิเศษแบบสันโค้ง (True Arch) ที่แนวกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้
.
การก่อแบบสันเหลื่อม (Corbel Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบวางซ้อนแต่ละขั้นเหลื่อมกันในแต่ละด้านอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งมาบรรจบกันที่จุดกึ่งกลางเกิดเป็นส่วนโค้ง เพื่อรองรับน้ำหนักด้านบน แต่ไม่ใช่โครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง
.
การก่อแบบสันโค้ง (True Arch) เป็นลักษณะการก่ออิฐบริเวณช่องว่างของผนังแบบเรียงอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันขึ้นไปจนมาบรรจบกับอิฐหน้าวัวที่เป็นจุดกึ่งกลาง เกิดเป็นโครงสร้างรูปโค้งที่แท้จริง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก
..
รูปแบบการก่อสร้างป้อมและแนวกำแพงเมืองที่มีเชิงเทินและใบเสมานั้น เป็นรูปแบบจากอิทธิพลตะวันตก ในพุทธศตวรรษที่ 21-22 ดังข้อสันนิษฐานของ นายประทีป เพ็งตะโก อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในบทความเรื่อง ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา ว่า “…เป็นไปได้ว่าชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นชาวยุโรปมีบทบาทอยู่ในราชสำนักอยุธยามากที่สุดในขณะนั้น น่าจะมีส่วนในการออกแบบกำแพงเมืองและป้อมที่มีเชิงเทินและใบเสมา สำหรับเป็นที่กำบังกระสุนปืนให้สอดคล้องกับการสู้รบที่มีการใช้ปืนใหญ่ตามแบบตะวันตก ดังนั้นเอกสารทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ ต่างรับรองในแนวเดียวกันว่ากำแพงก่ออิฐของอยุธยาน่าจะสร้างในระหว่างรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์และสมเด็จพระมหาธรรมราชาหรือทั้งสองรัชกาล...”
.
จากการศึกษาพบว่าป้อมทุ่งเศรษฐีมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเทียบเคียงได้กับป้อมปราการที่ก่อสร้างโดยชาวตะวันตก ตัวอย่างเช่น
.
ป้อมที่สร้างโดยชาวดัตช์ เช่น ป้อมอัมสเตอร์ดาม (Fort Amsterdam) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22 รวมถึงป้อมที่สร้างโดยชาวโปรตุเกสและซ่อมแซมโดยชาวดัตช์ในเวลาต่อมา เช่น ป้อมนาสเซา (Fort Nassau) ประเทศอินโดนีเซีย กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22 ป้อมมานนาร์ (Fort Mannar) ประเทศศรีลังกา กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ 22-23
.
นอกจากนี้ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 27 เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างป้อมโดยชาวฝรั่งเศสความว่า
“...ด้วยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์ เชอวาเลียเดอโชมองจึงให้เดอลามาร์ อยู่รับราชการในเมืองไทยต่อไป โดยให้มองซิเออร์เดอลามาร์ไปสร้างป้อมในที่ต่าง ๆ ตามชายทะเลในพระราชอาณาเขตร์ และจะได้สร้างป้อมใหม่ที่บางกอกเพื่อให้กองทหารฝรั่งเศสรักษา เพราะสมเด็จพระนารายณ์ได้มีรับสั่งให้ราชทูตสยามกับบาดหลวงตาซาด์ไปขอทหารฝรั่งเศสจากพระเจ้าหลุยที่ 14 แล้ว...”
.
โดยป้อมวิไชยเยนทร์ กรุงเทพมหานคร ที่ปรากฏรูปแบบในแผนผังที่เขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในราวปี พ.ศ. 2231 ก็มีลักษณะรูปแบบผังใกล้เคียงกับป้อมทุ่งเศรษฐี เมืองกำแพงเพชร
..
จากการศึกษาด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบ (Comparative Dating) หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าว สันนิษฐานว่าป้อมทุ่งเศรษฐีน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-23
.
ป้อมทุ่งเศรษฐีเป็นโบราณสถานที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้พื้นที่เมืองนครชุมในช่วงสมัยที่อยุธยามีอำนาจปกครองเมืองกำแพงเพชร และแม้ว่าความเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ จะเปลี่ยนย้ายไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงที่เมืองกำแพงเพชร แต่พื้นที่ในแถบเมืองนครชุมก็ยังคงความเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะการเป็นพื้นที่หน้าด่านและฐานที่มั่น เพื่อใช้สนับสนุนในการรับศึกสงครามของอยุธยากับหัวเมืองฝ่ายเหนือและพม่า
...
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา. (2557). โครงการจัดการความรู้ เรื่อง รูปแบบ ลวดลายประดับ และวัสดุก่อสร้างของพระปรางค์สมัยอยุธยา ประจำปีงบประมาณ 2557. กรมศิลปากร.
ประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถาน. (26 มิถุนายน 2505). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 79 ตอนที่ 58. หน้า 1468.
ประทีป เพ็งตะโก. (2564). ป้อมเพชร ปราการเหล็กแห่งอยุธยา. ใน ประทีปวิทรรศน์ รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา (หน้า 123-139). กรมศิลปากร.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2560). การค้าในการเมือง กับ มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้ออกแบบป้อม กำแพงเมืองในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์. วิจิตรศิลป์, 8 (2), 185 - 264.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ลันเย, มองซิเออร์. (2465). ประชุมพงศาวดารภาคที่ 27 เรื่อง ไทยกับฝรั่งเศสเป็นไมตรีกัน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ (อรุณ อมาตยกุล, ผู้แปล). โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
ลาลูแบร์, ซิมอน เดอ. (2557). จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 4). ศรีปัญญา.
สามเพชร. (2543). รายงานการขุดแต่งและขุดค้นโบราณสถาน ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. [เอกสารอัดสำเนา].
สามเพชร. (2543). รายงานการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร. [เอกสารอัดสำเนา].
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2554). โบราณคดีเครื่องถ้วยในสยาม แหล่งเตาล้านนาและสุพรรณบุรี. โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
Cyril M. Harris. (2006). Dictionary of Architecture and Construction (4th ed.). McGraw-Hill.
Jaap Jacobs. (2015). Dutch Colonial Fortifications in North America 1614-1676. New Holland Foundation.
Joëlla van Donkersgoed. (2018). Reinterpretations at Fort Nassau in the Banda Islands, Indonesia. The Newsletter, 26 (2), 40.
Smithsonian Institution. (2011). Timelines of History: The Ultimate Visual Guide to The Events That Shaped the World. Dorling Kindersley.
Urban Development Authority. (n.d.). Mannar Development Plan 2018-2030 (Volume I). Urban Development Authority.
(จำนวนผู้เข้าชม 1182 ครั้ง)