การอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร
#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
การอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร
..
วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเนินเขาลูกรังในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร มีความสูง 98 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผังวัดมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กลุ่มโบราณสถานสำคัญภายในวัดได้แก่ อุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด มีใบเสมาทำจากหินชนวนปักบนพื้นดินโดยรอบ 8 ทิศ วิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ทางด้านทิศตะวันตกของวิหาร เป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 31 เมตร ส่วนฐานประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัว จำนวน 68 เชือก โดยมีการตกแต่งด้วยเครื่องทรงและเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากประติมากรรมรูปช้างที่ล้อมรอบฐานเจดีย์แห่งอื่นในวัฒนธรรมสุโขทัย เช่น เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
และเจดีย์ประธานวัดสรศักดิ์ เมืองสุโขทัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20
.
สามารถกำหนดอายุเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบลวดลายเครื่องประดับของประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างที่มีความคล้ายคลึงกับลวดลายชายผ้านุ่งของเทวรูปพระอิศวรสำริดปรากฏจารึกที่ฐานประติมากรรม ระบุศักราช พ.ศ. 2053 รวมถึงลวดลายดอกบัว และเทพพนม ที่ปรากฏบนกระเบื้องเชิงชายซึ่งพบจากการดำเนินการทางโบราณคดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับลายบนกระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา อาทิเช่น พระราชวังหลวง วัดสุวรรณาราม วัดพลับพลาชัย และตำหนักมเหยงคณ์ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
..
กรมศิลปากรโดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น เจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร กำหนดระยะเวลา วันที่ 2 มิถุนายน 2565 – 2 มีนาคม 2566
.
ขั้นตอนการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
.
1. ขั้นตอนการเตรียมการ
- สำรวจเก็บข้อมูล และหลักฐานประติมากรรมปูนปั้น
- วิเคราะห์ปัญหาสภาพความชำรุด และพิจารณาเทคนิคการอนุรักษ์ที่เหมาะสมกับประติมากรรมปูนปั้น
2. ขั้นตอนการปฏิบัติการ
- บันทึกหลักฐานก่อนการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น โดยบันทึกสภาพความชำรุดของประติมากรรม (ความชื้น วัชพืช รอยแตกร้าว) ด้วยภาพสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานอ้างอิง
- บันทึกหลักฐานระหว่างการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น
- การทำความสะอาดประติมากรรมปูนปั้น สารที่ใช้ในการทำความสะอาดเป็นสารเคมีที่มีชื่อว่า Benzalkonium Chloride หรือ BKC 80 เจือจางกับน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด
.
BKC เป็นสารทำความสะอาดที่สามารถกำจัดเชื้อจุลชีพ (สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต) โดยจะทำความสะอาดสารเคมีดังกล่าวอีกครั้งภายหลังด้วยน้ำสะอาด และใช้กระบอกฉีดน้ำเป็นอุปกรณ์ในการทำความสะอาดเพื่อลดผลกระทบต่อประติมากรรมปูนปั้นที่ทำความสะอาด
.
- การเสริมความมั่นคงประติมากรรมปูนปั้น สืบเนื่องจากการสำรวจประติมากรรมก่อนการอนุรักษ์ ในกรณีประติมากรรมปูนปั้นเป็นโพรงภายใน ใช้น้ำปูนผสมกับผงอิฐธรรมชาติเพื่อคงความดั้งเดิมของวัสดุในการเสริมความมั่นคง โดยน้ำปูนจะไปยึดเกาะกับผิวประติมากรรมกับศิลาแลง
- การซ่อมแซมประติมากรรมปูนปั้น
- การบันทึกหลักฐานหลังการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น
3. ขั้นตอนการติดตามผล
- ติดตามผลหลังการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น
.
การดำเนินการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น เจดีย์ประธานวัดช้างรอบ จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ประติมากรรมรูปช้างและลวดลายปูนปั้นที่อยู่ในสภาพชำรุดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งในฐานะมรดกทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติ และแหล่งท่องเที่ยว – แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
..
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.
กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ,
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2542.
ประทีป เพ็งตะโก. กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2540.
การอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร
..
วัดช้างรอบ ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของเนินเขาลูกรังในเขตอรัญญิก เมืองกำแพงเพชร มีความสูง 98 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผังวัดมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กลุ่มโบราณสถานสำคัญภายในวัดได้แก่ อุโบสถ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัด มีใบเสมาทำจากหินชนวนปักบนพื้นดินโดยรอบ 8 ทิศ วิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ทางด้านทิศตะวันตกของวิหาร เป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 31 เมตร ส่วนฐานประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างครึ่งตัว จำนวน 68 เชือก โดยมีการตกแต่งด้วยเครื่องทรงและเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากประติมากรรมรูปช้างที่ล้อมรอบฐานเจดีย์แห่งอื่นในวัฒนธรรมสุโขทัย เช่น เจดีย์ประธานวัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20
และเจดีย์ประธานวัดสรศักดิ์ เมืองสุโขทัย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20
.
สามารถกำหนดอายุเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ได้ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบลวดลายเครื่องประดับของประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างที่มีความคล้ายคลึงกับลวดลายชายผ้านุ่งของเทวรูปพระอิศวรสำริดปรากฏจารึกที่ฐานประติมากรรม ระบุศักราช พ.ศ. 2053 รวมถึงลวดลายดอกบัว และเทพพนม ที่ปรากฏบนกระเบื้องเชิงชายซึ่งพบจากการดำเนินการทางโบราณคดีมีลักษณะคล้ายคลึงกับลายบนกระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา อาทิเช่น พระราชวังหลวง วัดสุวรรณาราม วัดพลับพลาชัย และตำหนักมเหยงคณ์ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21
..
กรมศิลปากรโดยกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย ได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น เจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร กำหนดระยะเวลา วันที่ 2 มิถุนายน 2565 – 2 มีนาคม 2566
.
ขั้นตอนการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
.
1. ขั้นตอนการเตรียมการ
- สำรวจเก็บข้อมูล และหลักฐานประติมากรรมปูนปั้น
- วิเคราะห์ปัญหาสภาพความชำรุด และพิจารณาเทคนิคการอนุรักษ์ที่เหมาะสมกับประติมากรรมปูนปั้น
2. ขั้นตอนการปฏิบัติการ
- บันทึกหลักฐานก่อนการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น โดยบันทึกสภาพความชำรุดของประติมากรรม (ความชื้น วัชพืช รอยแตกร้าว) ด้วยภาพสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานอ้างอิง
- บันทึกหลักฐานระหว่างการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น
- การทำความสะอาดประติมากรรมปูนปั้น สารที่ใช้ในการทำความสะอาดเป็นสารเคมีที่มีชื่อว่า Benzalkonium Chloride หรือ BKC 80 เจือจางกับน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด
.
BKC เป็นสารทำความสะอาดที่สามารถกำจัดเชื้อจุลชีพ (สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต) โดยจะทำความสะอาดสารเคมีดังกล่าวอีกครั้งภายหลังด้วยน้ำสะอาด และใช้กระบอกฉีดน้ำเป็นอุปกรณ์ในการทำความสะอาดเพื่อลดผลกระทบต่อประติมากรรมปูนปั้นที่ทำความสะอาด
.
- การเสริมความมั่นคงประติมากรรมปูนปั้น สืบเนื่องจากการสำรวจประติมากรรมก่อนการอนุรักษ์ ในกรณีประติมากรรมปูนปั้นเป็นโพรงภายใน ใช้น้ำปูนผสมกับผงอิฐธรรมชาติเพื่อคงความดั้งเดิมของวัสดุในการเสริมความมั่นคง โดยน้ำปูนจะไปยึดเกาะกับผิวประติมากรรมกับศิลาแลง
- การซ่อมแซมประติมากรรมปูนปั้น
- การบันทึกหลักฐานหลังการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น
3. ขั้นตอนการติดตามผล
- ติดตามผลหลังการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น
.
การดำเนินการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้น เจดีย์ประธานวัดช้างรอบ จัดทำขึ้นเพื่ออนุรักษ์ประติมากรรมรูปช้างและลวดลายปูนปั้นที่อยู่ในสภาพชำรุดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งในฐานะมรดกทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติ และแหล่งท่องเที่ยว – แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
..
อ้างอิง
กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.
กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร
นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ,
นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2542.
ประทีป เพ็งตะโก. กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2540.
(จำนวนผู้เข้าชม 533 ครั้ง)