ศิลปกรรมปูนปั้นที่วัดอาวาสใหญ่ เมืองกำแพงเพชร
ศิลปกรรมปูนปั้นที่วัดอาวาสใหญ่ เมืองกำแพงเพชร
วัดอาวาสใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกำแพงเพชร ห่างจากประตูสะพานโคมประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-สุโขทัย) ตัดผ่านด้านหน้าวัด
.
วัดอาวาสใหญ่มีการใช้ปูนในการก่อสร้าง ประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ ดังปรากฏหลักฐานในเอกสารที่เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวอย่างเช่น
.
หลักฐานเชิงประจักษ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2450 ได้พระราชนิพนธ์ถึงวัดอาวาสใหญ่ ความว่า
..
“...วัดที่เรียกตามชื่อของราษฎรว่า อาวาสใหญ่ ชิ้นสำคัญในวัดนี้คือ พระธาตุใหญ่ อยู่กลางลาน รอบลานมีเป็นกำแพงสูงประมาณ 5 ศอก บนกำแพงมีเจดีย์ย่อม ๆ ก่อเป็นระยะไว้รอบ เป็นบริวารพระมหาธาตุ ตัวพระมหาธาตุเองตั้งบนฐานทักษิณ มีบันไดขึ้นสี่ด้าน มีกำแพงล้อมรอบทักษิณ ทั้งที่กำแพงและที่ประตูมีรูปสลักงาม ๆ เป็นยักษ์บ้างเทวดาบ้าง ฝีมือสลักแลงามน่าดูนัก...” (ปัจจุบันไม่พบร่องรอยรูปสลักยักษ์ และเทวดาแล้ว)
..
จากรายงานการขุดแต่งและบูรณะวัดอาวาสใหญ่ พบร่องรอยการฉาบและสอปูนบริเวณกำแพงแก้ว ร่องรอยปูนฉาบวิหาร และพบร่องรอยการดาดปูนที่พื้นฉนวนทางเดินโดยรอบ บริเวณที่ชิดกับผนังบ่อน้ำ
.
จากการสำรวจพบร่องรอยปูนที่ปรากฏในงานศิลปกรรมของวัดอาวาสใหญ่ประเภทปูนฉาบหรือปูนตกแต่ง และปูนปั้น ดังนี้
.
ปูนฉาบ หรือ ปูนตกแต่ง
- บ่อสามแสน พบร่องรอยปูนฉาบบริเวณผนังทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5
- เจดีย์รายหมายเลข 3.18 พบชิ้นส่วนบัวคลุ่ม ลักษณะภายในปรากฏอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันเป็นวงโค้งมีปูนตกแต่งรูปกลีบบัวอยู่ด้านนอกความหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร
- เจดีย์รายหมายเลข 3.2 บนฐานไพที พบปูนฉาบหนาประมาณ 1-4 เซนติเมตร
- บริเวณฐานไพทีรูปตัว “L” รองรับเจดีย์ราย พบปูนฉาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และพบปูนฉาบบริเวณฐานบัว ส่วนลูกแก้วอกไก่หนา 3-4 เซนติเมตร ส่วนบัวคว่ำความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร
- วิหาร บริเวณฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนหน้ากระดานพบปูนฉาบหนา 1 เซนติเมตร บริเวณลูกแก้วอกไก่หนา 3-4 เซนติเมตร ส่วนฐานบัวคว่ำหนา 5 เซนติเมตร โดยปูนฉาบส่วนบัวคว่ำพบปูนปะปนกับชิ้นส่วนศิลาแลง ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา และเม็ดทรายขนาด 1 เซนติเมตร ในขณะที่อาคารวิหารพบปูนฉาบผสมทรายเนื้อละเอียดฉาบผนัง ซุ้มประตูทางเข้า และเสารองรับหลังคาหนาประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนฐานบัวรองรับตัวอาคารพบร่องรอยการฉาบปูนสองครั้ง โดยการฉาบครั้งแรกมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ขีดผิวหน้าเป็นรูปกากบาท (X) แล้วจึงฉาบปูนทับอีกครั้งหนึ่ง ความหนาโดยรวมประมาณ 5 เซนติเมตร
- อุโบสถ และศาลาหมายเลข 4.2 พบปูนฉาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และพบปูนฉาบเสาพาไลหนาประมาณ 3-4 เซนติเมตร
- ศาลาหมายเลข 4.1 และศาลาหมายเลข 4.6 พบปูนฉาบอาคารความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
- ศาลาหมายเลข 4.4 พบปูนฉาบบริเวณเสารองรับหลังคามีความหนาประมาณ 1- 2 เซนติเมตร และพบปูนฉาบบริเวณพนักระวางเสามีความหนาประมาณ 4 เซนติเมตร
- กุฏิหมายเลข 5.15 พบปูนฉาบอาคารความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
- กุฏิหมายเลข 5.20 พบร่องรอยการสอปูนโดยใช้ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผาแทรกในเนื้อปูนบริเวณมุมอาคารทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
..
ปูนปั้น
- สิงห์ประดับฐานเจดีย์รายหมายเลข 3.1 (บนฐานไพทีรูปตัว L) บริเวณฐานไพทีพบแกนศิลาแลงยื่นออกมาจากตัวฐานซึ่งคาดว่าเป็นเดือยยึดประติมากรรมกับฐาน ประติมากรรมมีลักษณะเป็นโกลนศิลาแลงตกแต่งปูนปั้นสันนิษฐานว่าเป็นรูปสิงห์ จากร่องรอยแผงคอบริเวณส่วนหัว โดยปูนมีความหนาประมาณ 4-9 เซนติเมตร
..
จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่าปูนที่ใช้ฉาบตกแต่งอาคารวัดอาวาสใหญ่มีสองลักษณะคือ
1. การใช้ชิ้นส่วนศิลาแลง ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา และเม็ดทรายขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร) เป็นส่วนผสมปูนฉาบ เช่น ฐานไพทีรองรับวิหาร
2. ใช้ทรายเนื้อละเอียด (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร)เป็นส่วนผสมในการฉาบปูน เช่น ผนัง ซุ้มประตูทางเข้า และเสารองรับหลังคาวิหาร
นอกจากนี้ยังพบการผสมชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผากับปูนที่ใช้ก่อสอระหว่างศิลาแลงเพื่อสร้างอาคาร และพบร่องรอยแสดงถึงการฉาบปูนสองครั้งบริเวณฐานบัวของวิหารด้วย
________________________________________
เอกสารอ้างอิง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. 2559. เที่ยวเมืองพระร่วง : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว และเรื่องสืบเนื่อง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพชรรัตน-สุวันทา.
สมคิด จิระทัศนกุล. 2559. อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 2 องค์ประกอบ “ส่วนฐาน”. กรุงเทพฯ : คณะ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. (ม.ป.ป.). รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำแพงเพชร. ม.ป.พ.: ม.ป.ท.. (อัดสำเนา)
อนันต์ ชูโชติ, นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์ และธาดา สังข์ทอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด, 2561.
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). รายงานการขุดแต่งวัดอาวาสใหญ่ ในอรัญญิก เมืองกำแพงเพชรเก่า. ม.ป.พ.: ม.ป.ท.. (อัดสำเนา)
วัดอาวาสใหญ่ตั้งอยู่ในเขตอรัญญิกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกำแพงเพชร ห่างจากประตูสะพานโคมประมาณ 2 กิโลเมตร ปัจจุบันมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-สุโขทัย) ตัดผ่านด้านหน้าวัด
.
วัดอาวาสใหญ่มีการใช้ปูนในการก่อสร้าง ประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ ดังปรากฏหลักฐานในเอกสารที่เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ตัวอย่างเช่น
.
หลักฐานเชิงประจักษ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2450 ได้พระราชนิพนธ์ถึงวัดอาวาสใหญ่ ความว่า
..
“...วัดที่เรียกตามชื่อของราษฎรว่า อาวาสใหญ่ ชิ้นสำคัญในวัดนี้คือ พระธาตุใหญ่ อยู่กลางลาน รอบลานมีเป็นกำแพงสูงประมาณ 5 ศอก บนกำแพงมีเจดีย์ย่อม ๆ ก่อเป็นระยะไว้รอบ เป็นบริวารพระมหาธาตุ ตัวพระมหาธาตุเองตั้งบนฐานทักษิณ มีบันไดขึ้นสี่ด้าน มีกำแพงล้อมรอบทักษิณ ทั้งที่กำแพงและที่ประตูมีรูปสลักงาม ๆ เป็นยักษ์บ้างเทวดาบ้าง ฝีมือสลักแลงามน่าดูนัก...” (ปัจจุบันไม่พบร่องรอยรูปสลักยักษ์ และเทวดาแล้ว)
..
จากรายงานการขุดแต่งและบูรณะวัดอาวาสใหญ่ พบร่องรอยการฉาบและสอปูนบริเวณกำแพงแก้ว ร่องรอยปูนฉาบวิหาร และพบร่องรอยการดาดปูนที่พื้นฉนวนทางเดินโดยรอบ บริเวณที่ชิดกับผนังบ่อน้ำ
.
จากการสำรวจพบร่องรอยปูนที่ปรากฏในงานศิลปกรรมของวัดอาวาสใหญ่ประเภทปูนฉาบหรือปูนตกแต่ง และปูนปั้น ดังนี้
.
ปูนฉาบ หรือ ปูนตกแต่ง
- บ่อสามแสน พบร่องรอยปูนฉาบบริเวณผนังทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับภาพถ่ายเก่าสมัยรัชกาลที่ 5
- เจดีย์รายหมายเลข 3.18 พบชิ้นส่วนบัวคลุ่ม ลักษณะภายในปรากฏอิฐหน้าวัววางเรียงต่อกันเป็นวงโค้งมีปูนตกแต่งรูปกลีบบัวอยู่ด้านนอกความหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร
- เจดีย์รายหมายเลข 3.2 บนฐานไพที พบปูนฉาบหนาประมาณ 1-4 เซนติเมตร
- บริเวณฐานไพทีรูปตัว “L” รองรับเจดีย์ราย พบปูนฉาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และพบปูนฉาบบริเวณฐานบัว ส่วนลูกแก้วอกไก่หนา 3-4 เซนติเมตร ส่วนบัวคว่ำความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร
- วิหาร บริเวณฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนหน้ากระดานพบปูนฉาบหนา 1 เซนติเมตร บริเวณลูกแก้วอกไก่หนา 3-4 เซนติเมตร ส่วนฐานบัวคว่ำหนา 5 เซนติเมตร โดยปูนฉาบส่วนบัวคว่ำพบปูนปะปนกับชิ้นส่วนศิลาแลง ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา และเม็ดทรายขนาด 1 เซนติเมตร ในขณะที่อาคารวิหารพบปูนฉาบผสมทรายเนื้อละเอียดฉาบผนัง ซุ้มประตูทางเข้า และเสารองรับหลังคาหนาประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนฐานบัวรองรับตัวอาคารพบร่องรอยการฉาบปูนสองครั้ง โดยการฉาบครั้งแรกมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร ขีดผิวหน้าเป็นรูปกากบาท (X) แล้วจึงฉาบปูนทับอีกครั้งหนึ่ง ความหนาโดยรวมประมาณ 5 เซนติเมตร
- อุโบสถ และศาลาหมายเลข 4.2 พบปูนฉาบหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และพบปูนฉาบเสาพาไลหนาประมาณ 3-4 เซนติเมตร
- ศาลาหมายเลข 4.1 และศาลาหมายเลข 4.6 พบปูนฉาบอาคารความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
- ศาลาหมายเลข 4.4 พบปูนฉาบบริเวณเสารองรับหลังคามีความหนาประมาณ 1- 2 เซนติเมตร และพบปูนฉาบบริเวณพนักระวางเสามีความหนาประมาณ 4 เซนติเมตร
- กุฏิหมายเลข 5.15 พบปูนฉาบอาคารความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร
- กุฏิหมายเลข 5.20 พบร่องรอยการสอปูนโดยใช้ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผาแทรกในเนื้อปูนบริเวณมุมอาคารทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
..
ปูนปั้น
- สิงห์ประดับฐานเจดีย์รายหมายเลข 3.1 (บนฐานไพทีรูปตัว L) บริเวณฐานไพทีพบแกนศิลาแลงยื่นออกมาจากตัวฐานซึ่งคาดว่าเป็นเดือยยึดประติมากรรมกับฐาน ประติมากรรมมีลักษณะเป็นโกลนศิลาแลงตกแต่งปูนปั้นสันนิษฐานว่าเป็นรูปสิงห์ จากร่องรอยแผงคอบริเวณส่วนหัว โดยปูนมีความหนาประมาณ 4-9 เซนติเมตร
..
จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่าปูนที่ใช้ฉาบตกแต่งอาคารวัดอาวาสใหญ่มีสองลักษณะคือ
1. การใช้ชิ้นส่วนศิลาแลง ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผา และเม็ดทรายขนาดใหญ่ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร) เป็นส่วนผสมปูนฉาบ เช่น ฐานไพทีรองรับวิหาร
2. ใช้ทรายเนื้อละเอียด (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร)เป็นส่วนผสมในการฉาบปูน เช่น ผนัง ซุ้มประตูทางเข้า และเสารองรับหลังคาวิหาร
นอกจากนี้ยังพบการผสมชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผากับปูนที่ใช้ก่อสอระหว่างศิลาแลงเพื่อสร้างอาคาร และพบร่องรอยแสดงถึงการฉาบปูนสองครั้งบริเวณฐานบัวของวิหารด้วย
________________________________________
เอกสารอ้างอิง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. 2559. เที่ยวเมืองพระร่วง : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว และเรื่องสืบเนื่อง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพชรรัตน-สุวันทา.
สมคิด จิระทัศนกุล. 2559. อภิธานศัพท์ช่างสถาปัตยกรรมไทย เล่ม 2 องค์ประกอบ “ส่วนฐาน”. กรุงเทพฯ : คณะ สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามเพชร. (ม.ป.ป.). รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำแพงเพชร. ม.ป.พ.: ม.ป.ท.. (อัดสำเนา)
อนันต์ ชูโชติ, นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์ และธาดา สังข์ทอง. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัท บางกอกอินเฮาส์ จำกัด, 2561.
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. (ม.ป.ป.). รายงานการขุดแต่งวัดอาวาสใหญ่ ในอรัญญิก เมืองกำแพงเพชรเก่า. ม.ป.พ.: ม.ป.ท.. (อัดสำเนา)
(จำนวนผู้เข้าชม 1130 ครั้ง)