ผนังลูกกรงช่องแสง วิหารวัดพระนอน เมืองกำแพงเพชร
ผนังลูกกรงช่องแสง วิหารวัดพระนอน เมืองกำแพงเพชร
……………………………………………………………..
ช่องแสง คือช่องที่เจาะส่วนของผนังอาคารที่ทำหน้าที่เป็นบานหน้าต่าง
ให้แสงสว่างสาดส่องถึง และให้อากาศสามารถถ่ายเทเข้ามายังภายใน
อาคาร รวมทั้งใช้ในการเป็นช่องเพื่อมองดูภายนอกอาคารนั้นได้
โดยในแต่ละช่องแสงนั้น จะคั่นด้วยเสาลูกกรง
ก่อด้วยวัสดุต่าง ๆ อาทิ อิฐ หิน ศิลาแลง ส่วนใหญ่มีการฉาบปูนที่ผิว
รวมทั้งมีการประดับลวดลายปูนปั้น
เช่น วิหารวัดนางพญาแห่งเมืองศรีสัชนาลัย ที่มีการเจาะช่องแสง
ให้เป็นแนวแทนช่องหน้าต่าง และประดับปูนปั้น
ลวดลายพรรณพฤกษาและลายประดิษฐ์บนผนัง
แบบเดียวกับลายประดับที่พระปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก
ที่พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ระบุว่า
“...ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ.๒๐๐๗)
สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี...”
ซึ่งวิหารดังกล่าวก็มีการเจาะผนังให้เป็นลูกกรงช่องแสงเช่นเดียวกัน
เมืองกำแพงเพชรได้ปรากฏอาคารที่มีผนังลูกกรงช่องแสง
ที่วัดพระนอน ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ
ที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร
ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัด
ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง
มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์ประธานของวัด
มีโบสถ์ตั้งอยู่ตอนหน้าสุดทางด้านทิศตะวันออกของวัด
ถัดจากโบสถ์ไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นวิหาร
แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ขนาดความกว้างด้านละ ๒๔.๔๐ เมตร ความสูงปัจจุบัน ๔.๔๐ เมตร
ก่อเป็นฐานหน้ากระดานและบัวคว่ำ
ภายในอาคารมีแท่นอาสนสงฆ์และแท่นฐานชุกชี
ที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถไสยาสน์(นอน)
องค์พระพุทธรูปพังทลายคงเหลือแต่ส่วนโกลนของพระบาท
ที่บริเวณด้านทิศเหนือของแท่นฐานชุกชี
ผนังของวิหารก่อเรียงด้วยศิลาแลง
และเจาะผนังเป็นลูกกรงช่องแสงทั้ง ๔ ด้าน สูง ๑.๘๐ เมตร
โดยผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีลูกกรงช่องแสงด้านละ ๖ ช่อง
ส่วนผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
มีลูกกรงช่องแสงด้านละ ๓ ช่อง
แต่ละช่องมีเสาลูกกรง
ก่อด้วยศิลาแลงสอปูนและฉาบปูนที่ผิวด้านนอก
โดยลูกกรงช่องแสงด้านทิศเหนือและทิศใต้
มีเสาลูกกรงช่องละ ๔ และ ๕ เสา
ส่วนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
มีเสาลูกกรงช่องละ ๗ เสา
สามารถศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
เทียบเคียงได้กับผนังลูกกรงช่องแสง
ของวิหารวัดนางพญาแห่งเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
และวิหารวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก
จึงสันนิษฐานได้ว่าวิหารวัดพระนอน
มีอายุสมัยในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
การเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือที่
ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง”
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐
ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก
ในระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๐
และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับวัดพระนอน ดังนี้
“…ที่วัดพระนอนนั้นยังมีชิ้นสำคัญอยู่ คือวิหารพระนอน ซึ่
งทำด้วยฝีมือดี การก่อสร้างใช้แลงทั้งนั้น
เสาเป็นเสากลมก่อด้วยแลงก้อนใหญ่ ๆ
รูปอย่างศิลาโม่ ก้อนใหญ่ ๆ และหนา ๆ มาก
ผนังวิหารมีเป็นช่องลูกกรง
ลูกกรงทำด้วยแลงแท่งสี่เหลี่ยม
สูงราว ๓ ศอก ดูทางข้างนอกงามดีมาก…”
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร.
กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.
กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ. ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๕๗.
ดำรงค์ฤทธิ์ สมบูรณ์ศิริ. “องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมรูปอาคาร
ในวัดพระนอน ภายในเขตอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร”
สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๕.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๒๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.
……………………………………………………………..
ช่องแสง คือช่องที่เจาะส่วนของผนังอาคารที่ทำหน้าที่เป็นบานหน้าต่าง
ให้แสงสว่างสาดส่องถึง และให้อากาศสามารถถ่ายเทเข้ามายังภายใน
อาคาร รวมทั้งใช้ในการเป็นช่องเพื่อมองดูภายนอกอาคารนั้นได้
โดยในแต่ละช่องแสงนั้น จะคั่นด้วยเสาลูกกรง
ก่อด้วยวัสดุต่าง ๆ อาทิ อิฐ หิน ศิลาแลง ส่วนใหญ่มีการฉาบปูนที่ผิว
รวมทั้งมีการประดับลวดลายปูนปั้น
เช่น วิหารวัดนางพญาแห่งเมืองศรีสัชนาลัย ที่มีการเจาะช่องแสง
ให้เป็นแนวแทนช่องหน้าต่าง และประดับปูนปั้น
ลวดลายพรรณพฤกษาและลายประดิษฐ์บนผนัง
แบบเดียวกับลายประดับที่พระปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก
ที่พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ระบุว่า
“...ศักราช ๘๒๖ วอกศก (พ.ศ.๒๐๐๗)
สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า สร้างพระวิหารวัดจุฬามณี...”
ซึ่งวิหารดังกล่าวก็มีการเจาะผนังให้เป็นลูกกรงช่องแสงเช่นเดียวกัน
เมืองกำแพงเพชรได้ปรากฏอาคารที่มีผนังลูกกรงช่องแสง
ที่วัดพระนอน ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ
ที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร
ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัด
ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง
มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นเจดีย์ประธานของวัด
มีโบสถ์ตั้งอยู่ตอนหน้าสุดทางด้านทิศตะวันออกของวัด
ถัดจากโบสถ์ไปทางด้านทิศตะวันตกเป็นวิหาร
แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ขนาดความกว้างด้านละ ๒๔.๔๐ เมตร ความสูงปัจจุบัน ๔.๔๐ เมตร
ก่อเป็นฐานหน้ากระดานและบัวคว่ำ
ภายในอาคารมีแท่นอาสนสงฆ์และแท่นฐานชุกชี
ที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถไสยาสน์(นอน)
องค์พระพุทธรูปพังทลายคงเหลือแต่ส่วนโกลนของพระบาท
ที่บริเวณด้านทิศเหนือของแท่นฐานชุกชี
ผนังของวิหารก่อเรียงด้วยศิลาแลง
และเจาะผนังเป็นลูกกรงช่องแสงทั้ง ๔ ด้าน สูง ๑.๘๐ เมตร
โดยผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีลูกกรงช่องแสงด้านละ ๖ ช่อง
ส่วนผนังด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
มีลูกกรงช่องแสงด้านละ ๓ ช่อง
แต่ละช่องมีเสาลูกกรง
ก่อด้วยศิลาแลงสอปูนและฉาบปูนที่ผิวด้านนอก
โดยลูกกรงช่องแสงด้านทิศเหนือและทิศใต้
มีเสาลูกกรงช่องละ ๔ และ ๕ เสา
ส่วนด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
มีเสาลูกกรงช่องละ ๗ เสา
สามารถศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
เทียบเคียงได้กับผนังลูกกรงช่องแสง
ของวิหารวัดนางพญาแห่งเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
และวิหารวัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก
จึงสันนิษฐานได้ว่าวิหารวัดพระนอน
มีอายุสมัยในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
การเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือที่
ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง”
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐
ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรโบราณในเขตอรัญญิก
ในระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๐
และได้ทรงมีพระราชนิพนธ์บรรยายเกี่ยวกับวัดพระนอน ดังนี้
“…ที่วัดพระนอนนั้นยังมีชิ้นสำคัญอยู่ คือวิหารพระนอน ซึ่
งทำด้วยฝีมือดี การก่อสร้างใช้แลงทั้งนั้น
เสาเป็นเสากลมก่อด้วยแลงก้อนใหญ่ ๆ
รูปอย่างศิลาโม่ ก้อนใหญ่ ๆ และหนา ๆ มาก
ผนังวิหารมีเป็นช่องลูกกรง
ลูกกรงทำด้วยแลงแท่งสี่เหลี่ยม
สูงราว ๓ ศอก ดูทางข้างนอกงามดีมาก…”
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร.
กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.
กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ. ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๕๗.
ดำรงค์ฤทธิ์ สมบูรณ์ศิริ. “องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมรูปอาคาร
ในวัดพระนอน ภายในเขตอรัญญิก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร”
สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๕.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๒๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.
(จำนวนผู้เข้าชม 2537 ครั้ง)