พระอัฏฐารส ณ วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร
พระอัฏฐารส ณ วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร
“พระพุทธรูป” เป็นถาวรวัตถุ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชน
ได้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดา
ในพระพุทธศาสนา และหลักพระธรรมคำสอนอันประเสริฐ
ภายหลังการเสด็จดับขันธเข้าสู่ปรินิพพานของพระองค์
วัดพระแก้ว เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในเขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณกลางเมือง
ลักษณะผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัด
ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง
เจดีย์ช้างเผือก เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่
ตอนหลังสุดทางด้านทิศตะวันตกของวัดพระแก้ว
เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยม
มีเจดีย์บริวารทรงระฆังอยู่ที่มุมทั้ง ๔ ของฐาน
โดยรอบฐานสี่เหลี่ยม มีการประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปช้าง
โผล่ครึ่งตัว จำนวน ๓๒ เชือก แบบศิลปะสุโขทัย
มีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ
ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหาร
สามารถศึกษาเปรียบเทียบทางศิลปะเทียบเคียงได้กับ
เจดีย์ประธานแห่งวัดช้างล้อมแห่งเมืองศรีสัชนาลัย
และเจดีย์วัดช้างล้อมแห่งเมืองสุโขทัย
บริเวณระหว่างวิหารและระเบียงคตที่ล้อมรอบเจดีย์ช้างเผือก
เป็นมณฑป ขนาดกว้าง ๑๐.๖๐ เมตร ยาว ๑๒.๕๐ เมตร
มีเสาอาคารสร้างด้วยศิลาแลง จำนวน ๑๒ ต้น
ตรงกลางของอาคารปรากฏหลักฐานการประดิษฐานพระพุทธรูป
ในอิริยาบถยืน สร้างจากศิลาแลงชิ้นเดียว
โกลนให้เป็นแท่นฐานสี่เหลี่ยมขนาดความกว้าง ๒.๐๐ เมตร
ยาว ๒.๑๐ เมตร สูง ๐.๖๐ เมตร
ส่วนของพระพุทธรูปคงเหลือเฉพาะแกนศิลาแลงที่โกลนให้เป็นพระบาท
ถึงข้อพระบาททั้ง ๒ ข้าง ส่วนบนขึ้นไปหักหาย
ขนาดความยาวพระบาทแต่ละข้างยาว ๑.๗๐ เมตร กว้าง ๐.๖๐ เมตร
สูงถึงข้อพระบาท ๐.๕๗ เมตร สันนิษฐานว่าพระพุทธรูป
ในอิริยาบถยืนดังกล่าวคือ “พระอัฏฐารส”
คำว่าอัฏฐารสในความหมายตามรากศัพท์ของภาษาบาลีนั้น
เป็นคำที่ใช้ในการนับจำนวน ที่เรียกว่าคำสังขยา แบบปกติสังขยา (Cardinals)
โดยมีความหมายว่าเป็นจำนวนนับที่ ๑๘
สันนิษฐานว่าพระอัฏฐารส มีความหมาย ๒ แนวทาง
คือ แนวทางที่ ๑ หมายถึงความสูงของพระวรกาย
ของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ดังปรากฏข้อความในพระไตรปิฏก
พระสุตันตปิฎก อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ พุทธปกิรณกกัณฑ์
ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตอน ปมาณเวมัตตะ
ได้อธิบายถึงความสูงของพระวรกาย พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์
ในรูปประโยคของภาษาบาลี ดังนี้
“…กกุสนฺธโกณาคมนกสฺสปา ยถากฺกเมน
จตฺตาลีสตึสวีสติหตฺถุพฺเพธา อเหสุ ํ อมฺหากํ ภควา อฏฺฐารสหตฺถุพฺเพโธ”
แปลว่า “พระพุทธเจ้าคือพระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะและพระกัสสปะ พระวรกายสูง
๔๐ ศอก ๓๐ ศอก ๒๐ ศอก ตามลำดับ
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา สูง ๑๘ ศอก…”
แนวทางที่ ๒ หมายถึงจำนวน ๑๘ ประการ ของพุทธธรรม
หรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า
ดังปรากฏข้อความในบทสวดมหาราชปริตร
หรือปริตรหลวงชุดใหญ่ อาฏานาฏิยปริตร ดังนี้
“…อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา
พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา…”
แปลว่า “…พระพุทธเจ้าผู้นำโลก
ทรงประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ
มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
ทรงไว้ซึ่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
มีพระรัศมีอันงามผุดผ่องประมาณวาหนึ่งเป็นปริมณฑล
ทุกพระองค์ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ
ปานว่าพญากุญชรชาติอันมีตระกูล…”
คำว่า “พระอัฏฐารส” ได้ปรากฏหลักฐานข้อความ
ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๔ โดยระบุถึงพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระอัฏฐารส
ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณกลางเมืองสุโขทัย ดังนี้
“…กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง
มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่…”
สันนิษฐานว่า “พระอัฏฐารส” ที่ปรากฏข้อความดังกล่าว
คือพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนที่ประดิษฐานภายในมณฑป
ทางด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ของเจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ
ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๔
ระบุถึงพระอัฏฐารสที่ประดิษฐานอยู่ในเขตอรัญญิก
นอกกำแพงเมืองสุโขทัย ด้านทิศตะวันตก ดังนี้
“…ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม
มีพระอัฎฐารศอันณึ่ง ลุกยืน…”
สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน
ที่ประดิษฐานภายในวิหารวัดสะพานหิน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พระอัฏฐารศที่ประดิษฐานภายในมณฑป วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร
สามารถเปรียบเทียบรูปแบบทางคติและความนิยมในการสร้าง
เทียบเคียงได้กับพระอัฏฐารสแห่งวัดมหาธาตุและวัดสะพานหิน
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และสันนิษฐานได้ว่า
มีอายุในสมัยสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา. การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๑.
กรมการศาสนา. พระไตรปิฏกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), ๒๕๔๘.
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร.
กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.
กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ:
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘.
กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์
(๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๘.
กรมศิลปากร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระแก้ว
จังหวัดกำแพงเพชร . กำแพงเพชร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, ๒๕๔๓.
บุณยกร วชิระเธียรชัย. “ศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อเรื่องพระอัฏฐารสที่มี
อิทธิพลต่องานพุทธศิลป์” วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๔.
มหามกุฏราชวิทยาลัย.พระไตรปิฏกและอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราช
วิทยาลัย, ๒๕๔๘.
มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์.
หนังสือที่ระลึกงานสวดพระปริตรถวายพระกุศลแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประธานมูลนิธิร่วมจิตต์
น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. (กรุงเทพฯ: บริษัท
มาสเตอร์ คีย์ จำกัด, ๒๕๕๓.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.
“พระพุทธรูป” เป็นถาวรวัตถุ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชน
ได้ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดา
ในพระพุทธศาสนา และหลักพระธรรมคำสอนอันประเสริฐ
ภายหลังการเสด็จดับขันธเข้าสู่ปรินิพพานของพระองค์
วัดพระแก้ว เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในเขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชร ตั้งอยู่บริเวณกลางเมือง
ลักษณะผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ของวัด
ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง
เจดีย์ช้างเผือก เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่
ตอนหลังสุดทางด้านทิศตะวันตกของวัดพระแก้ว
เป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยม
มีเจดีย์บริวารทรงระฆังอยู่ที่มุมทั้ง ๔ ของฐาน
โดยรอบฐานสี่เหลี่ยม มีการประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปช้าง
โผล่ครึ่งตัว จำนวน ๓๒ เชือก แบบศิลปะสุโขทัย
มีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ
ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหาร
สามารถศึกษาเปรียบเทียบทางศิลปะเทียบเคียงได้กับ
เจดีย์ประธานแห่งวัดช้างล้อมแห่งเมืองศรีสัชนาลัย
และเจดีย์วัดช้างล้อมแห่งเมืองสุโขทัย
บริเวณระหว่างวิหารและระเบียงคตที่ล้อมรอบเจดีย์ช้างเผือก
เป็นมณฑป ขนาดกว้าง ๑๐.๖๐ เมตร ยาว ๑๒.๕๐ เมตร
มีเสาอาคารสร้างด้วยศิลาแลง จำนวน ๑๒ ต้น
ตรงกลางของอาคารปรากฏหลักฐานการประดิษฐานพระพุทธรูป
ในอิริยาบถยืน สร้างจากศิลาแลงชิ้นเดียว
โกลนให้เป็นแท่นฐานสี่เหลี่ยมขนาดความกว้าง ๒.๐๐ เมตร
ยาว ๒.๑๐ เมตร สูง ๐.๖๐ เมตร
ส่วนของพระพุทธรูปคงเหลือเฉพาะแกนศิลาแลงที่โกลนให้เป็นพระบาท
ถึงข้อพระบาททั้ง ๒ ข้าง ส่วนบนขึ้นไปหักหาย
ขนาดความยาวพระบาทแต่ละข้างยาว ๑.๗๐ เมตร กว้าง ๐.๖๐ เมตร
สูงถึงข้อพระบาท ๐.๕๗ เมตร สันนิษฐานว่าพระพุทธรูป
ในอิริยาบถยืนดังกล่าวคือ “พระอัฏฐารส”
คำว่าอัฏฐารสในความหมายตามรากศัพท์ของภาษาบาลีนั้น
เป็นคำที่ใช้ในการนับจำนวน ที่เรียกว่าคำสังขยา แบบปกติสังขยา (Cardinals)
โดยมีความหมายว่าเป็นจำนวนนับที่ ๑๘
สันนิษฐานว่าพระอัฏฐารส มีความหมาย ๒ แนวทาง
คือ แนวทางที่ ๑ หมายถึงความสูงของพระวรกาย
ของพระพุทธเจ้าสมณโคดม ดังปรากฏข้อความในพระไตรปิฏก
พระสุตันตปิฎก อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ พุทธปกิรณกกัณฑ์
ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตอน ปมาณเวมัตตะ
ได้อธิบายถึงความสูงของพระวรกาย พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์
ในรูปประโยคของภาษาบาลี ดังนี้
“…กกุสนฺธโกณาคมนกสฺสปา ยถากฺกเมน
จตฺตาลีสตึสวีสติหตฺถุพฺเพธา อเหสุ ํ อมฺหากํ ภควา อฏฺฐารสหตฺถุพฺเพโธ”
แปลว่า “พระพุทธเจ้าคือพระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะและพระกัสสปะ พระวรกายสูง
๔๐ ศอก ๓๐ ศอก ๒๐ ศอก ตามลำดับ
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา สูง ๑๘ ศอก…”
แนวทางที่ ๒ หมายถึงจำนวน ๑๘ ประการ ของพุทธธรรม
หรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า
ดังปรากฏข้อความในบทสวดมหาราชปริตร
หรือปริตรหลวงชุดใหญ่ อาฏานาฏิยปริตร ดังนี้
“…อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา
พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา…”
แปลว่า “…พระพุทธเจ้าผู้นำโลก
ทรงประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ
มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
ทรงไว้ซึ่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ
มีพระรัศมีอันงามผุดผ่องประมาณวาหนึ่งเป็นปริมณฑล
ทุกพระองค์ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ
ปานว่าพญากุญชรชาติอันมีตระกูล…”
คำว่า “พระอัฏฐารส” ได้ปรากฏหลักฐานข้อความ
ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๔ โดยระบุถึงพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระอัฏฐารส
ที่ประดิษฐานอยู่บริเวณกลางเมืองสุโขทัย ดังนี้
“…กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง
มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่…”
สันนิษฐานว่า “พระอัฏฐารส” ที่ปรากฏข้อความดังกล่าว
คือพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนที่ประดิษฐานภายในมณฑป
ทางด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ของเจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ
ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๔
ระบุถึงพระอัฏฐารสที่ประดิษฐานอยู่ในเขตอรัญญิก
นอกกำแพงเมืองสุโขทัย ด้านทิศตะวันตก ดังนี้
“…ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณึ่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม
มีพระอัฎฐารศอันณึ่ง ลุกยืน…”
สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน
ที่ประดิษฐานภายในวิหารวัดสะพานหิน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พระอัฏฐารศที่ประดิษฐานภายในมณฑป วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร
สามารถเปรียบเทียบรูปแบบทางคติและความนิยมในการสร้าง
เทียบเคียงได้กับพระอัฏฐารสแห่งวัดมหาธาตุและวัดสะพานหิน
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และสันนิษฐานได้ว่า
มีอายุในสมัยสุโขทัยราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐
เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา. การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๑.
กรมการศาสนา. พระไตรปิฏกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), ๒๕๔๘.
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร.
กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑.
กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ ๘ จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ:
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน), ๒๕๔๘.
กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. นครปฐม: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์
(๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๘.
กรมศิลปากร. รายงานการบูรณะโบราณสถานวัดพระแก้ว
จังหวัดกำแพงเพชร . กำแพงเพชร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, ๒๕๔๓.
บุณยกร วชิระเธียรชัย. “ศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อเรื่องพระอัฏฐารสที่มี
อิทธิพลต่องานพุทธศิลป์” วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๔.
มหามกุฏราชวิทยาลัย.พระไตรปิฏกและอรรถกถา พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราช
วิทยาลัย, ๒๕๔๘.
มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์.
หนังสือที่ระลึกงานสวดพระปริตรถวายพระกุศลแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประธานมูลนิธิร่วมจิตต์
น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์. (กรุงเทพฯ: บริษัท
มาสเตอร์ คีย์ จำกัด, ๒๕๕๓.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๑.
(จำนวนผู้เข้าชม 8252 ครั้ง)