เมืองนครไทย
เมืองนครไทย
.
#เมืองนครไทย_ตอนที่๑
#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า
.
.
#เมืองนครไทย เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และมีวัฒนธรรมร่วมสมัยกับสมัยสุโขทัย โดยที่ตั้งของเมืองอยู่ในที่ราบหุบเขาในเส้นทางคมนาคมระหว่างสุโขทัยกับดินแดนชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
.
เมืองนครไทยในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๙๘ กิโลเมตร
.
ลักษณะภูมิสัณฐานของเมืองนครไทยโบราณเป็นที่ราบหุบเขาที่มีรูปร่างแบบกะทะหงาย มีที่สูงและภูเขาเป็นขอบของที่ราบ ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินดินสูงริมแม่น้ำแควน้อย น้ำไม่ท่วมถึง และมีแนวกำแพงเมือง - คูเมือง สร้างด้วยดิน ล้อมรอบไปตามเนินดินธรรมชาติ ผังเมืองมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอคล้ายรูปวงรี มีขนาดประมาณ ๘๐๐ x ๔๐๐ เมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ สภาพปัจจุบันยังคงปรากฎร่องรอยหลักฐานของโบราณสถานประเภทวัดหลายแห่งตั้งอยู่ภายในและนอกเขตกำแพงเมือง - คูเมือง เมืองนครไทย ส่วนแนวกำแพงเมือง – คูเมือง ในปัจจุบันมีสภาพไม่สมบูรณ์ โดยยังปรากฎร่องรอยหลงเหลืออยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นส่วนใหญ่
.
มีการพบโบราณวัตถุที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของเมือง ได้แก่ พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งขัดสมาธิเพชรศิลปะแบบทวารวดีและพระพุทธรูปนาคปรกฝีมือช่างท้องถิ่น รวมถึงเสมาหินศิลปะแบบทวารวดี ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของเมืองนครไทยที่เป็นชุมชนโบราณที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย
.
นับตั้งแต่ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครไทยนั้นถือว่าได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า “#เมืองนครไทยสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง” ซึ่งได้มีนักวิชาการและผู้รู้หลายท่านต่างสันนิษฐานว่า เมืองนครไทย คือ เมืองบางยางของพ่อขุนบางกลางหาว หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้เคยตั้งบ้านเมืองอยู่ที่นครไทยมาก่อนจะไปครองกรุงสุโขทัย แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนยืนยันเรื่องนี้แต่อย่างใด
.
การศึกษาเรื่องเมืองนครไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจและศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองนครไทยนั้น มีเพียงงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ปราณี แจ่มขุนเทียน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ และการดำเนินงานทางโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ - ๒๕๖๑ ผลจากการศึกษาทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบดังกล่าว ทำให้พบหลักฐานที่มีความสำคัญหลายประการและทำให้ภาพของเมืองนครไทยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้ข้อสรุปว่า เมืองนครไทยเป็นชุมชนโบราณที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีตที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยมีพัฒนาการเป็นชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมืองที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณต่าง ๆ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา จากนั้นจึงเข้าสู่พัฒนาการในสมัยสุโขทัยในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ และมีพัฒนาการของบ้านเมืองเป็นลำดับเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
.
.
#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #เมืองนครไทย
#พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์
.
.
::: อ้างอิง :::
.
นาตยา ภูศรี. เมืองนครไทย : ข้อมูลใหม่จากงานโบราณคดีที่วัดหน้าพระธาตุ. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๑.
ปรานี แจ่มขุนเทียน. การศึกษาเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.
สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย. รายงานการขุดแต่งทางโบราณคดีวิหารและเจดีย์ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๐.
หวน พินธุพันธ์. พิษณุโลกของเรา. พระนคร : โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๑๔.
.
.
…………………………………………………………………………………
ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
…………………………………………………………………………………
กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่
Facebook Fanpage ::: https://www.facebook.com/fad6sukhothai
Youtube Channel ::: https://www.youtube.com/channel/UCD2W0so8kn4bL-WOu8Doqnw
.
#เมืองนครไทย_ตอนที่๑
#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า
.
.
#เมืองนครไทย เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และมีวัฒนธรรมร่วมสมัยกับสมัยสุโขทัย โดยที่ตั้งของเมืองอยู่ในที่ราบหุบเขาในเส้นทางคมนาคมระหว่างสุโขทัยกับดินแดนชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
.
เมืองนครไทยในปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๙๘ กิโลเมตร
.
ลักษณะภูมิสัณฐานของเมืองนครไทยโบราณเป็นที่ราบหุบเขาที่มีรูปร่างแบบกะทะหงาย มีที่สูงและภูเขาเป็นขอบของที่ราบ ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินดินสูงริมแม่น้ำแควน้อย น้ำไม่ท่วมถึง และมีแนวกำแพงเมือง - คูเมือง สร้างด้วยดิน ล้อมรอบไปตามเนินดินธรรมชาติ ผังเมืองมีรูปร่างไม่สม่ำเสมอคล้ายรูปวงรี มีขนาดประมาณ ๘๐๐ x ๔๐๐ เมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่ สภาพปัจจุบันยังคงปรากฎร่องรอยหลักฐานของโบราณสถานประเภทวัดหลายแห่งตั้งอยู่ภายในและนอกเขตกำแพงเมือง - คูเมือง เมืองนครไทย ส่วนแนวกำแพงเมือง – คูเมือง ในปัจจุบันมีสภาพไม่สมบูรณ์ โดยยังปรากฎร่องรอยหลงเหลืออยู่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นส่วนใหญ่
.
มีการพบโบราณวัตถุที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของเมือง ได้แก่ พระพุทธรูปศิลาประทับนั่งขัดสมาธิเพชรศิลปะแบบทวารวดีและพระพุทธรูปนาคปรกฝีมือช่างท้องถิ่น รวมถึงเสมาหินศิลปะแบบทวารวดี ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของเมืองนครไทยที่เป็นชุมชนโบราณที่มีมาก่อนสมัยสุโขทัย
.
นับตั้งแต่ก่อนหน้า พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนครไทยนั้นถือว่าได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า “#เมืองนครไทยสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง” ซึ่งได้มีนักวิชาการและผู้รู้หลายท่านต่างสันนิษฐานว่า เมืองนครไทย คือ เมืองบางยางของพ่อขุนบางกลางหาว หรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้เคยตั้งบ้านเมืองอยู่ที่นครไทยมาก่อนจะไปครองกรุงสุโขทัย แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนยืนยันเรื่องนี้แต่อย่างใด
.
การศึกษาเรื่องเมืองนครไทยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจและศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ ส่วนการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่เมืองนครไทยนั้น มีเพียงงานวิจัยของรองศาสตราจารย์ปราณี แจ่มขุนเทียน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ และการดำเนินงานทางโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ - ๒๕๖๑ ผลจากการศึกษาทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบดังกล่าว ทำให้พบหลักฐานที่มีความสำคัญหลายประการและทำให้ภาพของเมืองนครไทยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยได้ข้อสรุปว่า เมืองนครไทยเป็นชุมชนโบราณที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีตที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยมีพัฒนาการเป็นชุมชนขนาดใหญ่ระดับเมืองที่มีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณต่าง ๆ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา จากนั้นจึงเข้าสู่พัฒนาการในสมัยสุโขทัยในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ และมีพัฒนาการของบ้านเมืองเป็นลำดับเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
.
.
#โบราณคดีจังหวัดพิษณุโลก #เมืองนครไทย
#พี่โข่ทั๋ยมี๋เรื๋องเล๋า #องค์ความรู้ออนไลน์
.
.
::: อ้างอิง :::
.
นาตยา ภูศรี. เมืองนครไทย : ข้อมูลใหม่จากงานโบราณคดีที่วัดหน้าพระธาตุ. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๑.
ปรานี แจ่มขุนเทียน. การศึกษาเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.
สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย. รายงานการขุดแต่งทางโบราณคดีวิหารและเจดีย์ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย, ๒๕๖๐.
หวน พินธุพันธ์. พิษณุโลกของเรา. พระนคร : โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๑๔.
.
.
…………………………………………………………………………………
ช่องทางออนไลน์ : สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
…………………………………………………………………………………
กดไลก์ กดแชร์ กดกระดิ่ง และกดติดตาม เพื่อไม่พลาดข่าวสารกันได้ที่
Facebook Fanpage ::: https://www.facebook.com/fad6sukhothai
Youtube Channel ::: https://www.youtube.com/channel/UCD2W0so8kn4bL-WOu8Doqnw
(จำนวนผู้เข้าชม 1458 ครั้ง)