...

โบราณสถานในเขตเทือกเขางู

โบราณสถานในเขตเทือกเขางู

          เขางู ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ห่างออกไปจากตัวเมืองราชบุรีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๖ กิโลเมตร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย อยู่ภายในถ้ำ ๔ แห่ง คือ ถ้ำฤาษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ  ที่สันนิษฐานว่ามีการเข้ามาใช้พื้นที่ในสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๖) และมีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓–๒๔) ในแต่ละแห่งมีรายละเอียด ดังนี้

 

Ancient Monuments in the Area of Khao Ngu

          Khao Ngu is a hill range situated in Ko Phlapphla Subdistrict, Mueang Ratchaburi District, Ratchaburi Province, about 6 kilometers northwest of the city. The oldest archaeological evidence relating to Buddhism in Thailand was discovered on Khao Ngu’s four cave sites, which are Tham Rue Si, Tham Chin, Tham Cham, and Tham Fatho. Therefore, the sites are presumed to be actively used since the age of Dvaravati (around 6th-11th centuries) until the age of late Ayutthaya (around 17th-18th centuries). The details of each site are as follows:




ถ้ำฤาษี

          ถ้ำฤาษี  ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาลูกโดดขนาดเล็กทางด้านตะวันออกของเทือกเขางู เป็นหนึ่งใน ๔ ถ้ำสำคัญของเทือกเขางู สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓)  - สมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๗)

          ถ้ำฤาษีเป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ที่ผนังถ้ำมีภาพจำหลักเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวาแสดงปางแสดงธรรมเทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ระหว่างข้อพระบาทมีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต เป็นรูปแบบอักษรที่นิยมใช้ในประเทศอินเดียตอนใต้ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๒ อ่านได้ว่า “ปุญกรมชระ ศรีสมาธิคุปต(ะ)” แปลว่า “พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการทำบุญ” ลักษณะของพระพุทธรูปนี้คล้ายกับพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทในถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย ส่วนผนังถ้ำด้านตะวันตกมีภาพจำหลักพระพุทธรูปประทับยืนปางประทานอภัย บริเวณโดยรอบพระเศียรมีร่องรอยสีแดง  ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปหินทรายแดงศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกหลายองค์ประดิษฐานอยู่ด้วย

          กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘

 

Tham Rue Si

          Tham Rue Si is located at the foot of a small hill east of the Khao Ngu hill range. It is one of the main four caves in the Khao Ngu hill range. Presumably, Tham Rue Si was a religious sanctuary from Dvaravati period (6th- 8th centuries) to Ayutthaya period (11th-12th centuries).

          Tham Rue Si is a large cave with an engraving on the wall depicting a seated Buddha image with legs pendant, the right hand performing a preaching posture, and the left hand putting on the lap. Furthermore, between the feet of the image is a Pallava inscription in Sanskrit. Pallava alphabets were commonly used in the south of India around 6th-7th centuries, and the inscription could be read as “Punkaramachara Srisamathi Gupta,” which means “Holy Srisamathi Gupta is the pure one by the merit he made.” The style of this Buddha image is similar to the style of the seated Buddha image with legs pendant in Ajanta caves in India. On the west wall of Tham Rue Si is an engraving of a standing Buddha image in the gesture of dispelling fear, with traces of red paint around the Buddha’s head. Also, lots of red sandstone Buddha images in Ayutthaya art style are found in the cave. 

          The Fine Arts Department announced the registration of Tham Rue Si as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 52, Part 75, dated 8th March 1935.


 

ถ้ำฝาโถ

          ถ้ำฝาโถ ตั้งอยู่ระหว่างถ้ำฤาษี และถ้ำจีน ถ้ำจาม สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)  - สมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๗)

          ถ้ำฝาโถ มีลักษณะเป็นโถงถ้ำยาวที่ผนังด้านใต้มีภาพจำหลักพระไสยาสน์ขนาดใหญ่หันพระเศียรไปทางปากถ้ำ มีประภามณฑลหลังพระเศียร เหนือขึ้นไปเป็นภาพปูนปั้นรูปเทพชุมนุม และต้นไม้ที่ตกแต่งด้วยริ้วผ้าและเครื่องประดับ ส่วนผนังด้านเหนือมีภาพพระสาวกจำนวน ๔ องค์ บางองค์ยืนพนมมือ บางองค์ยืนเอียงตนอยู่ในท่าตริภังค์ (เอียงกายสามส่วน) ลักษณะการสลักภาพลงบนผนังถ้ำนี้มีรูปแบบใกล้เคียงกับภาพสลักบนผนัง

ถ้ำอชันตาในประเทศอินเดีย ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ภายในโถงถ้ำพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงเป็นจำนวนมาก ปากถ้ำมีร่องรอยของโครงหลังคามุงกระเบื้องดินเผาและแนวกำแพงก่ออิฐถือปูนซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา

          กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน และถ้ำจาม ในราชกิจจานุเบกษา 

เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๗๔ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๗ ไร่ ๒๕ ตารางวา 

 

Tham Fatho

          Tham Fatho is located between Tham Rue Si and Tham Chin, Tham Cham. It is presumed to be a religious sanctuary from Dvaravati period (7th-11th centuries) to Ayutthaya period (11th–12th centuries). 

          Tham Fatho is a long cave marked by an engraving of a large reclining Buddha with his head pointed towards the entrance of the cave. A halo is shown behind the Buddha’s head, and above the Buddha engraving are stucco sculptures of Deva gathering and trees decorated with shreds and ornaments. The northern wall of the cave is depicted with four disciples; some of them press their hands together at the chest in a sign of respect, and some stand in Tribhanga or Contrapposto posture. These engravings exhibit characteristics similar to the ones that were created in the 7th century in Ajanta caves in India. A large number of parts of red sandstone Buddha images are also found inside Tham Fatho. Moreover, at the cave’s entrance, remains of the rib that had been roofed with stucco tiles and the brick wall ruins were found. These remains are presumed to be the constructions of Ayutthaya period.

          The Fine Arts Department announced the registration of Tham Fatho, Tham Chin, and Tham Cham as ancient monuments in the Royal Gazette, Volume 91, Part 174, dated 15th October 1974. The ancient monuments cover an area of approximately 27,300 square meters.



ถ้ำจีน 

          ถ้ำจีน ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาทางด้านใต้ของถ้ำจาม สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)  - สมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๗)

          ถ้ำจีน มีลักษณะเป็นโถงถ้ำยาว ภายในถ้ำมีภาพจำหลักพระพุทธรูปประทับนั่งบนผนังจำนวนสององค์ องค์ด้านในเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางแสดงธรรมเทศนา องค์ด้านนอกเหลือเพียงครึ่งองค์ สันนิษฐานว่าเดิมสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) ต่อมาถูกดัดแปลงโดยพอกทับด้วยปูนปั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา

          กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน และถ้ำจาม ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๗๔ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๗ ไร่ ๒๕ ตารางวา 

 

Tham Chin

          Tham Chin is situated on the foothill south of Tham Cham. Presumably, it has been a religious sanctuary since Dvaravati period (7th-11th centuries) until Ayutthaya period (11th–12th centuries).

          Tham Chin is a long cave with two Buddha engravings on the wall. The inner engraving is the seated Buddha in the posture of giving a sermon, while the outer one remains only the upper half of the body. It is presumed that they were made in the age of Dvaravati (7th-11th centuries) and might have been modified by covering them with  The Fine Arts Department announced the registration of Tham Fatho, Tham Chin, and Tham Cham as ancient monuments in the Royal Gazette, Volume 91, Part 174, dated 15th October 1974. The ancient monuments cover an area of approximately 27,300 square meters.



ถ้ำจาม 

          ถ้ำจาม ตั้งอยู่บนเขาสูงเหนือถ้ำจีน สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)  - สมัยกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๑๖ -๑๗)

          ถ้ำจาม มีลักษณะเป็นถ้ำเพิงผายาวมีช่องแสงเป็นระยะจึงมีความสว่างมากกว่าถ้ำอื่นๆ ภายในถ้ำมีภาพปูนปั้น ด้านเหนือเป็นภาพตอนยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ประกอบด้วยภาพพระพุทธรูปประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ และปางแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางต้นมะม่วง ซึ่งเป็นตอนที่นิยมในสมัยทวารวดีดังปรากฏในภาพสลักหินและพระพิมพ์ การสร้างภาพตอนยมกปาฏิหาริย์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องพุทธประวัติในอรรถกถาภาษาบาลี ลัทธิหินยาน ส่วนผนังถ้ำทางด้านใต้ และด้านตะวันออกเป็นภาพปูนปั้นรูปบุคคลขี่คอซ้อนกันขึ้นไป และรูปพังพานพญานาคของพระพุทธรูปปางนาคปรก ผนังด้านตะวันตกเป็นภาพพระไสยาสน์ ตอนเสด็จปรินิพพาน 

          กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน และถ้ำจาม ในราชกิจจานุเบกษา 

เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๗๔ วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๗ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๗ ไร่ ๒๕ ตารางวา 

 

Tham Cham

          Tham Cham is located on the hill high above Tham Chin. Presumably, Tham Cham was a religious sanctuary from Dvaravati period (7th–11th centuries) until Ayutthaya period (11th–12th centuries).

          Tham Cham’s characteristic is that of a long rock shelter with daylight holes, making it more illuminated than the other caves. The cave’s walls are decorated with stucco sculptures. The north wall presents Buddha’s life event when he performs a twin miracle in Savatthi city. The image on the north wall includes Buddha in seated meditation posture and Buddha in preaching posture amidst the mango trees. The story of Buddha performing a twin miracle is influenced by the biography of Buddha according to the Pali Canon in the Theravada Buddhist tradition. The story is also commonly depicted on the stone etchings and votive tablets of Dvaravati period. The south and east walls present stucco sculptures of people riding on one’s neck and the Naga hood which was part of the seated Buddha image protected by Naga. The west wall exhibits a reclining Buddha entering Parinirvana.

          The Fine Arts Department announced the registration of Tham Fatho, Tham Chin, and Tham Cham as ancient monuments in the Royal Gazette, Volume 91, Part 174, dated 15th October 1974. The ancient monuments cover an area of approximately 27,300 square meters.

 

(จำนวนผู้เข้าชม 15 ครั้ง)


Messenger