...

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ

          วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นศาสนสถานสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)  จนถึงปัจจุบัน อันเป็นเครื่องยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของ

วัดมหาธาตุที่เกี่ยวพันกับเมืองราชบุรีโบราณ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งวัดมหาธาตุที่อยู่เกือบกลางเมืองโบราณ

          วัดมหาธาตุ พบหลักฐานการอยู่อาศัยตั้งแต่ปลายสมัยทวารวดี (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๖) ต่อมาเมื่ออิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแพร่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงมีการก่อสร้างปราสาทเขมรโบราณและกำแพงศิลาแลงขึ้นล้อมรอบตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล ดังหลักฐานที่พบบนทับหลังกำแพงเป็นซุ้มเรือนแก้วใบระกาภายในซุ้มมีพระพุทธรูปปางสมาธิอันเป็นลักษณะที่นิยมสร้างกันในศิลปะเขมรแบบบายน (ประมาณพุทธศักราช ๑๗๒๐–๑๗๖๐)

          ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๑) มีการก่อสร้างพระปรางค์

แบบอยุธยาขึ้นใหม่ คือ ตรงกลางเป็นปรางค์ประธานและมีปรางค์บริวาร ๓ องค์ มีระเบียงคตล้อมรอบ ภายในระเบียงคต ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยต่างๆ คือ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี สมัยอยุธยา แผนผังของพระปรางค์

มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี และวัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใน

คูหาปรางค์ประธานมีภาพจิตรกรรมเขียนบนผนังที่ฉาบด้วยดินดิบ เป็นภาพพระอดีตพุทธเจ้าและพุทธประวัติ สันนิษฐานว่าอาจจะได้รับการซ่อมแซมพร้อมกับองค์ปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนกลาง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒) 

          นอกจากนี้ ยังมีสิ่งสำคัญอื่นๆอีก ได้แก่ 

          วิหารหลวง ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระปรางค์ภายนอกระเบียงคต เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน

รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งก่อสร้างบนฐานปราสาทเขมรโบราณ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่จำนวน ๒ องค์ ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น และมีการใช้งานต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน   

          มณฑป เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้ยี่สิบ ผนังด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนมารผจญ ภายในมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสลักจากหินทรายแดง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 

          กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดมหาธาตุ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘

 

 

        

Wat Mahathat

          Wat Mahathat is located in Na Mueang Subdistrict, Mueang Ratchaburi District, Ratchaburi Province. It has been a religious sanctuary from Dvaravati period (7th–11th centuries) to the present day, an affirmation of the temple’s prosperity that correlates with the ancient Ratchaburi city, which the temple is located almost at the heart of. 

          The archaeological evidence found in this area shows inhabitation in Dvaravati period (10th–11th centuries). Later, the Khmer culture spread to the area around the 13th century, and the Prasat, a Khmer-style building, including the surrounding laterite wall, were built. The plan is symbolized as the center of the universe, according to Indian beliefs inherited by the Khmer. Other evidence of Khmer influence is found on the decorative merlons of the laterite wall. These merlons depicted Buddha seated under an arch in Khmer art of the Bayon style (1177-1217 CE).

          In early Ayutthaya period (15th–16th centuries), the Ayutthaya-style main prang and the three subordinate prangs were constructed. These prangs are surrounded by a cloister that enshrines Buddha images of various periods, i.e., Dvaravati, Lop Buri, and Ayutthaya. The plan of the prangs is similar to that of Wat Mahathat in Lop Buri Province, and Wat Phutthaisawan in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The chamber inside the main prang houses mural paintings of early Ayutthaya art style on the earth-plastered walls. The paintings depict Buddhas of the past and Buddha’s life events. Supposedly, these mural paintings were restored at the same time as the main prang’s restoration in the middle Ayutthaya age (around the 17th century).

          Other significant ancient buildings are:

          Vihara Luang (Royal Vihara). Located in front of the main prang, outside the cloister, it is a rectangle building made of brick and mortar and is built on the base of the ancient Khmer prasat. Enshrined inside Vihara Luang are two large Buddha images of early Ayutthaya art style, performing subduing Mara posture with their backs adjoining together. The Vihara Luang has been continuously in service and is still functioning in the present day.

          Mandapa. The building is built with brick and mortar and has 20-indented corners. The inside wall shows mural paintings depicting Buddha’s life events when he preached his mother in Tavatimsa heaven and when he was tempted by the Mara. The mandapa enshrines 

a carved sandstone Buddha footprint, presumably made in the early Rattanakosin period.

          The Fine Arts Department announced the registration of Wat Mahathat as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 52, Part 75, dated 8th March 1935.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(จำนวนผู้เข้าชม 43 ครั้ง)


Messenger