จารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2
จารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2
ไปชมกันได้เลยค่าาาา 
หลักศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม หลักที่ 2
เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร มีทั้งหมด 4 ด้าน ด้านที่ 1 มี 60 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 77 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 84 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 118 บรรทัด
ตัวจารึกทำจากหินชนวน กว้าง 43 เซนติเมตร หนา 32 เซนติเมตร สูง 191เซนติเมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม
จารึกถูกสร้างขึ้นในปีมหาศักราช 974 หรือ พุทธศักราช 1595 ในสมัยพระเจ้าเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ 2
จารึกดังกล่าวถูกค้นพบที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โดยถูกกล่าวถึงครั้งแรกในบทความ La stêle de Sdok Kâk Thôm โดยนายเอเตียน แอโมนีเย (Etienne Aymonier) ในพุทธศักราช ๒๔๔๔ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๖๓ ร้อยตำรวจเอก หลวงชาญนิคมได้เข้ามาสำรวจปราสาทสด๊กก๊อกธม จึงได้ทำสำเนาจารึกซึ่งตั้งอยู่หน้าปราสาทเก็บไว้ จากนั้นในพุทธศักราช 2472 จารึกสด๊กก๊อกธม 2 จึงถูกขนย้ายเข้าสู่พระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน) และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนพุทธศักราช 2561 จึงนำมาจัดแสดงที่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

(จำนวนผู้เข้าชม 948 ครั้ง)